ฆราวาสสายธรรมอุตฺตโมบารมี ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
17 เมษายน 2567, 04:44:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฆราวาสสายธรรมอุตฺตโมบารมี  (อ่าน 6934 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 199

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 40%
HP: 1.4%



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2564, 11:10:42 »

ฆราวาส ครูธรรมใหญ่สุนทร สนธิหา
สายธรรมอุตฺตโมบารมี

ผู้ฝึกตนทางด้านตบะอาคม ความเชื่อถือในศาสนาพราหมณ์ยังอยู่ในขั้นความนับถือเทพเจ้าประจำส่วนต่างๆ ของธรรมชาติ ตลอดถึงมีเทพเจ้าสูงสุด คือพระพรหม เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง (กำหนดคร่าวๆ ในยุคสังหิตาและพราหมณะ) ในระยะนี้ ข้อปฏิบัติทางศาสนายังจัดอยู่ในขั้นของพิธีกรรม ที่เรียกว่า ยัญ อันได้แก่การเซ่นสรวงสังเวยบูชาเทพเจ้า เพื่อผลตอบแทนคือโภคสมบัติ ยศ อำนาจ ตลอดจนการไปเกิดในสวรรค์

ครั้นถึงยุคอุปนิษัท ซึ่งศาสนาพราหมณ์เริ่มวิวัฒน์มาถึงชั้นมีหลักปรัชญา มีคำสอนเรื่องพรหมันและอาตมันแล้ว ความเปลี่ยนแปลงในทางข้อปฏิบัติทางศาสนาก็เริ่มปรากฏขึ้นด้วยในยุคนี้พราหมณ์ถือว่า การทำให้อาตมันกลับคืนไปรวมกับพรหมเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนา ข้อปฏิบัติสำคัญทางศาสนาจึงได้แก่วิธีการที่จะทำให้อาตมันกลับไปอยู่ร่วมกับพรหมัน วิธีการที่ได้พยายามคิดทำกันขึ้นเพื่อให้สำเร็จผลตามความมุ่งหมายข้อนี้ ได้แก่ข้อปฏิบัติที่เรียกว่า ตบะอย่างหนึ่ง กับโยคะอย่างหนึ่ง ในระยะจะถึงพุทธกาลนั้น ปรากฏว่า ตบะ เป็นข้อปฏิบัติที่แพร่หลายมากในชมพูทวีป และเมื่อถึงยุคของตบะ ยัญก็สูญเสียความเป็นเอก กลายเป็นสิ่งที่มีขอบเขตความสัมฤทธิ์ผลจำกัด บันดาลความสำเร็จได้แต่เพียงในทางโลก ไม่ถึงจุดหมายสูงสุดของศาสนา

ความหมายของตบะ
ตบะ เกิดจากแนวความคิดทางปรัชญาที่ว่า ชีวิตมีส่วนประกอบหรือพลังที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัว ๒ ฝ่าย คือ อาตมัน หรือชีวะ (Soul) อันเป็นสิ่งบริสุทธิ์ เป็นส่วนแห่งพรหม ที่มาถูกปกคลุมบดบัง กักขังอยู่ในร่างกายฝ่ายหนึ่ง กับสรีระ หรือรูปวัตถุ ที่เป็นของไม่บริสุทธิ์ไม่แท้จริงไม่ยั่งยืน อีกฝ่ายหนึ่ง หรือพลังฝ่ายสูงซึ่งอาจจะเป็นทิพยอำนาจอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า ที่จะนำไปสู่ความบริสุทธิ์ฝ่ายหนึ่ง กับพลังฝ่ายต่ำที่ทำให้ชีวิตเศร้าหมอง ต้องทนทุกข์ เพราะอำนาจความปรารถนาต่างๆ ผ่ายหนึ่ง การที่อาตมันถูกกักขังอยู่ หรือการขัดแย้งกันของพลัง ๒ ฝ่าย ทำให้มนุษย์ผู้ตกอยู่ในความมืดบอด ต้องประสบความทุกข์และวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ ไม่สามารถรู้ความจริงและไม่อาจคืนเข้ารวมกับพรหมันได้

ตบะ (บาลี-ตป, สันสกฤต-ตปสฺ) แปลว่าความร้อน หรือความแผดเผา การที่นำมาใช้เป็นชื่อเรียกข้อปฏิบัตินี้ คงอาศัยแนวความคิดว่าเมื่อข่มขี่บีบคั้นทรมานร่างกายมากขึ้น จะเป็นการอัดกำลังภายใน เร่งระดมความร้อนหรือเดชของจิตให้ทวีขึ้นๆ ไป จนถึงจุดเครียดหรือขีดระเบิดอันมีพลังสูงสุด โดยนัยนี้ จึงหมายถึงการบีบคั้น ทรมานร่างกายให้เกิดความเร่าร้อน ด้วยความสมัครใจทำแก่ตนเองโดยถือว่า

– เป็นการข่มร่างกาย ทอนกำลัง ไม่ยอมให้กายเป็นนายบังคับหรือชักจูงให้ทำการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการทั้งหลาย ทำให้กายหมดอำนาจครอบงำ อาตมันจะได้บริสุทธิ์เป็นอิสระ หลุดพ้นจากพันธนาการ เข้าร่วมกับพรหมันได้

– เป็นการข่มกิเลส กำราบความปรารถนาฝ่ายต่ำ ที่ทำให้จิตอ่อนแอ ตกอยู่ในอำนาจความเย้ายวนต่างๆ ทำให้เอาชนะตนเองได้ เป็นนายเหนือตน ทำให้จิตเข้มแข็ง มีพลังอำนาจมากขึ้น จนหลุดพ้นเป็นอิสระ หรือบังคับสิ่งต่างๆไห้เป็นไปได้ตามต้องการ

อาจให้ความหมายสั้นๆ ได้ว่าตบะ คือพิธีย่างกิเลส หรือพิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว หรือการข่มกายเพื่อเพิ่มพลังจิตหรือการข่มความต้องการตามธรรมชาติ เพื่อมีอำนาจเหนือธรรมชาติหรือการบำเพ็ญเพียรข่มบังคับทรมานร่างกาย ให้พ้นจากความเป็นทาสของความต้องการตามธรรมชาติ และกลับมีอำนาจวิเศษพ้นวิสัยธรรมดา หรือวิธีการเพื่อเข้าถึงจุดหมายอันสูงในทางจิตด้วยการข่มความปรารถนาทางร่างกายที่เป็นธรรมดาวิสัยของโลก

ความมุ่งหมายและความสำคัญของตบะ
ก. อิทธิปาฏิหาริย์: คัมภีร์พระเวทยุคแรกๆ เช่น ในฤคเวท กล่าวถึงบุคคลหรือนักบวชประเภทหนึ่ง เรียกชื่อว่า พวกมุนี และวรตฺย (นักพรต) ซึ่งเป็นผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติประเภทตบะมีฤทธิ์มาก เช่น เหาะได้เป็นต้น แต่บุคคลเหล่านี้อยู่นอกวงศาสนาพราหมณ์ (เพราะศาสนาพราหมณ์ยุคแรกๆ มีความมุ่งหมายจำกัดเพียงขั้นความสุขความรื่นรมย์ทางโลก ซึ่งขึ้นอยู่กับเทพเจ้าผู้รับเครื่องเซ่นสรวงจากยัญพิธีต่างๆ) แม้ในสมัยหลังๆ เมื่อมีคำสอนทางปรัชญาและมีการบำเพ็ญตบะแพร่หลายแล้ว การได้ฤทธิ์ก็ยังคงเป็นความมุ่งหมายอย่างหนึ่งของการบำเพ็ญตบะ เช่น เพื่อรักษาโรค ไล่ผี ทำให้อายุยืนยาว และทำปาฏิหาริย์ต่างๆ ซึ่งจัดว่าเป็นวัตถุประสงค์ในทางโลก

ข. โมกษะ: ตั้งแต่ยุคอุปนิษัทเป็นต้นมา หลักปรัชญาเกี่ยวกับ อาตมัน พรหมัน และการทำให้อาตมันเข้าร่วมกับพรหมันเป็นเหตุให้ตบะเข้ามีความสำคัญในศาสนาพราหมณ์มากขึ้นโดยลำดับ กลายเป็นวิธีการที่จะให้บรรลุจุดหมายสูงสุดของศาสนาคือ โมกษะ ให้อาตมันหลุดพ้นจากความผูกพันและวงจำกัดของรูปวัตถุอันต่ำทราม เข้ารวมกับพรหมัน ที่เป็นสิ่งสัมบูรณ์ พ้นจากสังสารวัฏโดยสิ้นเชิง จุดหมายข้อนี้เป็นวัตถุประสงค์ที่แท้ของตบะตามหลักปรัชญาของพราหมณ์ หรือฮินดู จัดเป็นวัตถุประสงค์ทางศาสนาโดยตรง

ความสำคัญของตบะที่ทวีขึ้นในศาสนาพราหมณ์ยุคหลังหรือฮินดู จะเห็นได้จากการจัดหลักอาศรม ๔ ซึ่งมีขึ้นในระยะประมาณระหว่างพุทธกาลถึงพุทธศตวรรษที่ ๔ ในระยะนี้ การดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒน์มาถึงขั้นที่ บุคคลทุกคนในวรรณะสูงทั้ง ๓ จะต้องดำรงชีวิตในชาติหนึ่งนี้ให้ครบ ๔ ขั้น หรือตอน ที่เรียกว่าอาศรม ๔ คือ

๑. พรหมจรรย์ (บุคคลเป็น พรหมจารี) ระยะถือพรหมจรรย์ คือ วัยรุ่น เป็นระยะศึกษาเล่าเรียนสาระของพระเวทยัญพิธีและวิชาการอื่นๆ อยู่กับคุรุ เป็นเวลาอย่างน้อย ๑๒ ปี

๒. คฤหัสถย์ (บุคคลเป็น คฤหัสถ์) ระยะครองเรือน เริ่มแต่แต่งงาน ทำหน้าที่ให้กำเนิดบุตรธิดา ประกอบยัญพิธีและรับผิดชอบต่อชุมชน

๓. วานปรัสถย์ (บุคคลเป็น วานปรัสถ์) ระยะออกไปอยู่ป่าเมื่ออายุประมาณ ๔๐ หรือได้เห็นลูกของลูกแล้ว พำนักอยู่ในอาศรมบำเพ็ญตบะ และข้อปฏิบัติอื่นๆ ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด

๔. สันนยาสะ (บุคคลเป็น สันนยาสี) ระยะสละสมบัติทุกอย่าง เหลือแต่ผ้านุ่งกับภาชนะขอทานและหม้อน้ำออกจากอาศรม เลิกประกอบพิธีกรรมและข้อปฏิบัติทุกอย่าง ออกจาริกขอภิกษาเร่ร่อนไป ไม่ต้องเสพสังคม พิจารณาเห็นความเสื่อมโทรมปฏิกูลระคนด้วยทุกข์ของร่างกาย ให้จิตใจสงบระงับ ครั้นสรีระแตกดับสลายเป็นวัตถุธาตุ อาตมันจักได้คืนเข้าสู่พรหมัน

ตามหลักอาศรม ๔ นี้ จะเห็นได้ว่า ตบะได้กลายเป็นข้อปฏิบัติที่จำเป็น หรือเกือบจะเป็นข้อบังคับสำหรับผู้ถือศาสนาพราหมณ์ทุกคนไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม หลักอาศรม ๔ นี้ ในทางปฏิบัติ ไม่ปรากฏว่าชาวฮินดูได้ถือตามกันอย่างเคร่งครัดจริงจังแต่อย่างใด

ความเชื่อในตบะมีมากและแรงกล้าเพียงใด จะเห็นได้จากวรรณคดีพราหมณ์หลายแห่ง เช่นที่กล่าวว่า พระพรหมทรงสร้างและธำรงโลกไว้ด้วยอำนาจตบะ พระอินทร์ได้แดนสวรรค์ก็ด้วยตบะ ฤษีได้อำนาจวิเศษดุจเทพเจ้าก็ด้วยตบะ ฤษีเป็นอันมากบำเพ็ญตบะมีฤทธานุภาพมากจนเทพเจ้าต้องประหวั่นพรั่นพรึงสะท้านด้วยความหวาดกลัว และต้องหาทางสกัดยับยั้ง อสูรบางตนบำเพ็ญตบะ ได้ฤทธิ์จนแม้แต่พระอิศวรก็ทรงเดือดร้อน บำเพ็ญตบะเข้าแล้ว แม้คนสามัญก็มีฤทธิ์ได้ ตบะเป็นเครื่องเบิกทางไปสู่พลังอำนาจทุกอย่าง ไม่มีสิ่งใดเกินอำนาจของตบะ ตบะเป็นเครื่องสั่งสมบุญ ทำให้เข้าถึงสวรรค์ จะบริสุทธิ์ บรรลุโมกษะ พ้นจากสังสารวัฏ ก็ด้วยตบะ

ตัวอย่างวิธีบำเพ็ญตบะ
ตบะ มีความสำคัญดังกล่าวมาแล้ว วิธีบำเพ็ญตบะแบบต่างๆ จึงได้เกิดมีเพิ่มขึ้นอย่างมากมายในประวัติศาสตร์ศาสนาของชาวฮินดู ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างวิธีบำเพ็ญตบะ เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้น ผู้บำเพ็ญตบะนั้น ในภาษาบาลีเรียก ตาปส หรือ ตปสฺสี สันสกฤตว่า ตปสฺวี ตปัสสีหรือตปัสวีทั้งหลายมีชื่อเรียกต่างกันไปตามประเภทหรือวิธีแห่งตบะที่บำเพ็ญ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

– ชลาศยี พวกถือแช่ตัวในน้ำแค่เอว คราวละหลายวันหรือหลายสัปดาห์

– พหูทกะ พวกถืออาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ให้ได้มากแห่งที่สุด โดยย้ายที่อาบไปเรื่อยๆ

– ศังกุศี พวกถือนอนบนเตียงหนามคราวละนานๆ ทุกๆ วัน

– ภูมิกา พวกถือนอนบนพื้นดิน ไม่ยอมใช้เตียงหรือเครื่องปูลาด

– กุฏิลกา พวกถืออริยาบถงอตัว ไม่ยอมยืน นั่ง นอน ในท่าตัวตรง

– นิษฉลี พวกถือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ยืนหรือนั่งนิ่งในท่าและที่เดียวเป็นเวลาแรมปีจนนกมาทำรังในผมได้หรือเถาวัลย์ขึ้นพันขา หรือจอมปลวกขึ้นที่เท้า

– ขฑาศรี พวกถือไม่นอน ยันตัวตรงอยู่ตลอดทุกเวลา

– ปัญฉตปัสวี พวกถือนั่งกลางแดด พร้อมทั้งก่อไฟอีก ๔ กองไว้ล้อมตัวทั้ง ๔ ทิศ

– นีฉศิรสิ พวกถือห้อยศีรษะ โดยเอาเท้าเหนี่ยวกิ่งไม้ไว้อย่างค้างคาว

– นขิมุษฏ พวกถือกำมือไว้จนเล็บงอกแทงเข้าไปในอุ้งมือ

– อูรธวมุขี พวกถือแหงนหน้าขึ้นฟ้าจนคอแข็งค้าง

– อูรธวพาหุ พวกถือยกแขนคาไว้จนแข็งค้าง

– ฉหินนกา พวกถือทำร้ายร่างกายตนเอง เช่น บีบรัดอวัยวะบางอย่างจนเป็นง่อย เป็นต้น


โดยที่ตบะเป็นข้อปฏิบัตินอกวงศาสนาพราหมณ์มาแต่เดิมดังกล่าวแล้วข้างต้น ดังนั้น แม้ในสมัยต่อมาศาสนาฮินดูจะรับเอาตบะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในศาสนาของตนแล้วก็ตาม แต่นักบวชนอกศาสนาพราหมณ์ที่บำเพ็ญตบะมาแต่โบราณ ก็ยังคงยึดถือตบะอยู่เช่นเดิม ดังจะเห็นได้ในหมู่นิครนถ์คือนักบวชในศาสนาไชนะซึ่งบำเพ็ญตบะด้วยวิธีการที่จัดว่ารุนแรงที่สุดพวกหนึ่งมาจนถึงทุกวันนี้

ล็อกเก็ตตบะ รุ่นแรก จำนวน 19 เหรียญ
-ฝังตะกรุด 9 ดอก จำนวน 3 เหรียญ
-ฝังตะกรุด 3 ดอก จำนวน 7 เหรียญ
-ฝังตะกรุด 1 ดอก จำนวน 9 เหรียญ
ด้านหลังบรรจุผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
-เหรียญหลวงปู่ทวด
-งาช้างกระเด็น
-แร่เหล็กอาถรรพ์ที่ใช้ตีพระขรรค์ศาตราวุธ
-เหล็กเปียกยอดพระธาตุพนม
-ดินไพรดำ

เหรียญตบะ รุ่นแรก จำนวน 108 เหรียญ
ผลิตจากโรงงานสหรัฐอเมริกา โดยใช้เนื้อแดงแท้บริสุทธิ์
ด้านหน้าเหรียญ : จะเป็นรูปญาถานเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี ผูสืบทอดรุ่นที่ 3 ศิษย์แห่งบูรพาจารย์หลวงปู่สำเร็จลุน และครูธรรมใหญ่สุนทร สนธิหา ฆราวาสฝ่ายตบะ

ด้านหลังเหรียญ : อัญเชิญเอายันต์“มงกุฎพระพุทธเจ้า”
หรือที่รู้จักกันในชื่อ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย"
อันเป็นคาถาเสกหญ้าให้ม้ากิน ที่หลวงปู่เอี่ยมถวายแก่ ร.5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป
"มีตัวคาถาว่า "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ "
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ

คำแปลคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า

อิ ติปิโส วิเสเส อิ
แม้เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงวิเศษ

อิ เสเส พุทธะนาเม อิ
เพราะวิเศษ ควรนอบน้อมพระพุทธเจ้า

อิ เมนา พุทธะตังโส อิ
เพราะนอบน้อมพระพุทธเจ้า เราจะเข้าถึงพระองค์

อิ โสตัง พุทธะปิติ อิ
เพราะเราเข้าถึงพระองค์ ก็จะปิติในพระพุทธเจ้า

อุปเท่ห์ในการใช้พระคาถา
ภาวนาทุกวันมิตกนรก เสกน้ำล้างหน้าทุกวันกันโรคภัยไข้เจ็บคุณไสยทั้งมวล ถ้าจะให้มีตบะเดชะให้ภาวนาทุกวัน เกิดสง่าราศีเป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย ให้ภาวนาแล้วแผ่เมตตาให้คนทั้งปวง ใครคิดร้ายก็ต้องมีอันเป็นไป ถ้าปรารถนาสิ่งใด ให้ภาวนาคาถานี้ ๑๘ คาบ เป็นไปได้ดังใจนึก

ถ้าจะให้เป็นมหาจังงัง ให้ภาวนาคาถานี้ ๘ คาบเป็นมหาจังงังแล ถ้าจะให้เป็นมหาละลวยให้ภาวนา ๙ คาบ
ถ้าช้างม้าวัวควายสัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลาย ให้เสกหญ้าเสกของให้มันกิน กลับใจอ่อนรักเราแล ถ้าภูตพรายมันเข้าอยู่คน เสกข้าวให้มันกินออกแล
ถ้าปรารถนาจะให้เสียงเพราะ ให้เสกสีผึ้งสีปากเสกหมากกินไป เทศนาสวดร้องเป็นที่พอใจคนทั้งหลาย ให้เสกแป้งผัดหน้า เสกมงกุฎรัดเกล้า เป็นสง่าราศีใครเห็นใครรักทุกคน
อนึ่งให้เอาใบลานหรือกระดาษว่าวมาลงคาถานี้ ทำเป็นมงคลเสกด้วยตัวเอง สารพัดกันศาสตราอาวุธทั้งหลาย เป็นวิเศษนัก

พระคาถาบทนี้ พระมหากษัตริย์แต่เก่าก่อนทรงใช้ประจำทุกพระองค์แล

อนึ่งพระคาถานี้ใช้สำหรับภาวนาสักการะซึ่งพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระเจดีย์สิ้นทั้งปวง แต่โบราณมากำหนดเอาพระคาถานี้ใช้อัญเชิญพระบรมธาตุเสด็จโดยปาฏิหาริย์แล

เคล็ดในการสวดคาถา “มงกุฎพระพุทธเจ้า”
หลักในการว่าคาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก " จิต " เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูง ตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้ จับลมหายใจสบายพร้อม ๆ กับการภาวนาคาถาบทนี้ เป็นขั้นที่ 1 ระดับสูงกว่านี้
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านใช้คาถาบทนี้โดยมีนิมิต กำกับคาถา โดยทรงพุทธนิมิต ไว้ดังนี้ โดยตั้งกำลังใจว่าเรา ขอกราบอาธารณาบารมีพระพุทธเจ้าเสด็จประทับเหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้าเพื่อ.......ปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเทอญ

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " เมื่อว่าคาถาจบ คาบที่ 1 ก็กำหนดอาราธณาพุทธนิมิตอยู่เบื้องหน้าของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตนี้เอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิอิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 2 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์หนึ่ง อยู่เบื้องขวาของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตทั้งหมดเอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 3 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านหลังของศีรษะเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้ อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 4 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านซ้าย และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 5 ก็กำหนด พุทธนิมิตอีกพระองค์อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

" อิงติปิโสวิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 6 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 7 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 8 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้ทั้ง 8 พระองค์เรียงวนรอบศีรษะของเรา

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ "ว่าคาถาจบที่ 9 กำหนดพุทธนิมิตพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่เสด็จประทับกึ่งกลางศีรษะเป็นยอดมงกุฎเปล่งประกายพรึก ทุกๆพระองค์เป็น มงกุฎเพชรพระพุทธเจ้าทั้งเก้าพระองค์บนเศียรเกล้าของเรา
เมื่อทำได้แล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าคาถานี้ทำไมจึงมีชื่อว่า คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า และ ให้ทรงมงกุฎพระพุทธเจ้านี้เอาไว้ตลอดเวลาเป็นการทรงอารมณ์ในพุทธานุสตกรรมฐาน


*  ล็อกเก็ต อ แม็ก.jpg (432.35 KB, 1063x761 - ดู 462 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 199

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 40%
HP: 1.4%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2564, 11:11:58 »

ครูธรรมใหญ่พรรณวิชัย บุญเจริญ
ฆราวาสสายธรรมอุตฺตโมบารมี

ผู้ฝึกตนทางด้านพรหมวิหาร 4 หรือ พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่
เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า
กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป
อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน

ล็อกเก็ตพรหมวิหาร รุ่นแรก จำนวน 39 เหรียญ
ด้านหลังบรรจุ
1.เหรียญพระนาคปรก
2.เหรียญหลวงปู่ทวด
3.เม็ดข้าวไพรดำ
4.จีวร อ.พรรณวิชัย สมัยท่านบวช
5.ผงงาช้าง 108 เชือก
6.ตะกรุดไตรสรณคมน์
อานุภาพ "ตะกรุดไตรสรณ์คมน์"
อาคมไตรสรณคมน์นั้น มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ได้มีพุทธานุภาพให้พระสาวกทำการบวชกุลบุตรได้ โดยการเปล่งวาจาระลึกถึง ไตรสรณคมน์ แล้วจึงจะถือว่าเป็นภิกษุโดยสมบูรณ์ กล่าวถึง “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” ซึ่งท่านยึดเอาพระไตรสรณคมน์นี้เป็นตัวกำหนดในการบริกรรมภาวนา และท่านได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง ตลอดช่วงชีวิตของท่าน ว่ากันว่า ในนิมิตรของหลวงปู่ฯ คืนหนึ่ง ท่านได้ฉันดาวที่สว่างมาก 3 ดวง เมื่อตื่นขึ้นมาก็ใคร่ครวญว่าแก้ว 3 ดวงก็คือ “พระไตรสรณคมน์” นั้นเอง ครั้งหนึ่งหลวงปู่ฯ เคยถาม สมเด็จพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ฯ ว่า ผู้ที่ภาวนาและระลึกถึงไตรสรณคมน์  ซึ่งมีความหมายว่า “ข้าพเจ้าขอรับเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก” เป็นนิจศีล ก่อนตาย แล้วจะไปสวรรค์ได้หรือไม่ สมเด็จฯ ท่านตอบว่า ได้แน่นอน พร้อมกับยกพระบาลีว่า "เยเกจิ พุทธัง สรณังคตา เสนะ เตคมิสสันติ อบายภูมิ ปหาย มานุสัง เทหัง เทวกายัง ปริปูเรส สันติ" แปลว่า บุคคลบางจำพวกหรือบุคคลใดมาถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ไปอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรก เป็นต้น ทั้งนี้สมเด็จฯ ท่านยังกล่าวว่า “ไตรสรณคมน์” นั้นเป็นรากแก้วของพระศาสนา พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เข้ามาบวชถือเป็นสมมุติสงฆ์ เมื่อแสวงหาสัจธรรมจนบรรลุมรรคผล ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งเรียกว่า “พระธรรม” และเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงเรียกว่า จึงเรียกว่า พุทโธ ซึ่งหมายถึงผู้รู้ จากนั้นเมื่อพระเทศน์โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้รู้ธรรมตามที่สอน ก็กลายเป็น”พระอริยสงฆ์” สืบต่อๆ กันมา ทำให้ศาสนาครบสมบูรณ์ไม่สูญหายไปไหน" นอกจากนั้นพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านยังกล่าวว่า "สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญ อันตรธานไปไหน ยังปรากฎแก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดมายึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่าหรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้ง ๓ ก็ปรากฎแก่เขาทุกเมื่อ จึงว่าเป็นที่พึ่งแก่บุคคลจริง เมื่อปฏิบัติตามสรณะทั้ง ๓ จริงแล้ว จะคลาดแคล้วจากภัยทั้งหลายอันก่อให้เกิด ความร้อนอกร้อนใจ ได้แน่นอนทีเดียว


* ภาพเล็ก ล็อกเก็ต อ.อ้าย.jpg (374.76 KB, 1065x757 - ดู 513 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 199

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 40%
HP: 1.4%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2564, 11:15:11 »

การปกครอง ในสายธรรมอุตฺตโมบารมี
 เป็นการปกครองแบบครอบครัว ครูธรรมจึงจะมีความสุขได้นั้น เริ่มต้นจะต้องขึ้นอยู่กับครอบครัวของเราเอง ว่าดีหรือไม่ดี หากคนในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีของเรามีการรักใคร่ กลมเกลียวกันครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีนั้นก็จะมีความสุขแน่นอน

หลักการปกครองยึดหลัก 9 ขั้นตอนที่ทำให้ครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีของเรานั้นพบแต่ความสุข

1.บรมครูพ่อแม่ครูบาอาจารย์ควรเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรม หมายความว่า การประพฤติ ปฏิบัติ ตัวต้องทำให้เหมาะสมกับสิ่งที่ตนเองทำ หรืออยู่ในกรอบของความถูกต้อง รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตน และไม่ควรตามใจลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมจนเหลิง หรือบีบบังคบลูกจนเกินไป บางครั้งลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมอาจจะต้องการอิสระบ้าง ไม่ควรห้ามในสิ่งที่ลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมเรากำลังจะเรียนรู้

2.คนในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีควรให้เกียรติกัน บุคคลในครอบครัวควรมีความเกรงใจกัน ให้เกียรติกัน และยอมรับในสิ่งที่คนในครอบครัวของเรานั้นออกความคิดเห็น

3.พร้อมรับความคิดเห็นของทุกคนในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมี ควรให้โอกาส คนในครอบครัวแสดงความคิดเห็น ไม่ควรนำความคิดเห็นตนเองเป็นใหญ่

4.บรมครูพ่อแม่ครูบาอาจารย์ควรให้ความเคารพต่อการตัดสินใจลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรม เช่น หากลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมสนใจในเรื่องใดควรจะใส่ใจในสิ่งที่ลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมสนใจด้วยเช่นกัน

5.ควรมีเวลาให้แก่คนในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีเสมอ หมั่นมีเวลาทำกิจกรรมเพื่อสร้างความใส่ใจกันในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมี

6.การสอนลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมเรื่องความผิดพลาด อธิบายในสิ่งที่เคยทำผิดพลาดให้แก่ลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมฟัง และหัดยอมรับผิด หัดยอมรับความจริงให้ได้

7.บรมครูพ่อแม่ครูบาอาจารย์ควรรักลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมเท่ากัน ไม่ควรแบ่งแยกความรักระหว่างคนสองคน ควรจะรักลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมเท่ากันทุกคน

8.หากมีการทะเลาะกันควรใช้เหตุผลแทนความรุนแรง เช่นหากเกิดการทะเลาะกันขึ้นควรจะหาเหตุผลมาคุยกับ อธิบายในสิ่งที่เกิดขึ้นว่าสิ่งไหนผิด และสิ่งไหนถูก

9.ควรมีทั้งสุข และทุกข์ในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมี ครอบครัวที่มีความสุขจริง ควรจะมีทั้งทุกข์และสุข ไม่ควรจะมีความสุขแต่เพียงอย่างเดียว


* ภาพเล็กการปกครอง.jpg (178.59 KB, 565x753 - ดู 580 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พฤศจิกายน 2564, 11:29:54 โดย maxna » บันทึกการเข้า
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 199

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 40%
HP: 1.4%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2564, 14:41:59 »

ล็อกเก็ตคู่บารมี รุ่นแรก จำนวน 108 คู่

อาจารย์ใหญ่เวทย์ สีจันทะวง
ฆราวาสผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 สายธรรมอุตฺตโมบารมี

ล็อกเก็ตฉากจัมโบ้ 108 เหรียญ ด้านหลังบรรจุดังนี้
1.ผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย
2.เหรียญสมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้า
3.เหรียญหลวงปู่ทวด
4.เม็ดปรอท
5.ตะกรุดเงินหัวใจธรรมะธาตุ

ล็อกเก็ตฉากเล็ก 108 เหรียญ ด้านหลังบรรจุดังนี้
1.ผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย
2.เหรียญหลวงปู่ทวด
3.ตะกรุดเงินหัวใจสิงห์

อาจารย์ใหญ่เวทย์ สีจันทะวง
ฆราวาสผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 สายธรรมอุตฺตโมบารมี
ศิษย์ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี

อาจารย์ใหญ่เวทย์ สีจันทะวง ท่านเป็นฆราวาสที่ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิทยาแหล่งวิทยาคมทางไสยศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ตั้งแต่สมัยโบราณพระเกจิอาจารย์ผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ ถือเป็นผู้สืบทอดแห่งแหล่งเรียนรู้ศิลปะวิทยาคมของฆราวาสผู้บำเพ็ญพรต (ตบะ) มาแต่เดิม สมกับเป็นผู้ถูกเลือกรับการถ่ายทอดสรรพวิทยาตกทอด
ท่านได้ยึกหลักฆราวาสธรรม หรือ ธรรมสำหรับชีวิตครองเรือน 4 ประการ เป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยถือเอาฆราวาสธรรม 4 ในการปกครองดูแลคณะครูธรรม ดังนี้
1.สัจจะ ความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน เป็นหลักสำคัญที่จะให้เกิดความไว้วางใจและไมตรีจิตสนิทต่อกันขาดสัจจะเมื่อใดย่อมเป็นเหตุให้เกิดความหวาดระแวงแคลงใจกันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความร้าวฉาน ซึ่งยากนักที่จะประสานให้คืนดีได้ดังเดิม
2.ทมะ การรู้จักบังคับควบคุมอารมณ์ ข่มใจระงับความรู้สึกต่อเหตุบกพร่องของกันและกัน รู้จักฝึกฝนปรับปรุงตน แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับนิสัยและอัธยาศัยให้กลมกลืนประสานเข้าหากันได้ ไม่เป็นคนดื้อด้านเอาแต่ใจและอารมณ์ของตน คนที่ขาดธรรมข้อนี้ ย่อมปล่อยให้ข้อแตกต่างปลีกย่อยทางอุปนิสัยและการอบรม กลายเป็นเหตุแตกแยกสามัคคีใหญ่โต และถ้าไม่สามารถปรับตนเข้าหากันได้ ก็เป็นอันต้องทำลายชีวิตคู่ครองแยกทางขาดจากกัน
3.ขันติ ความอดทน อดกลั้น ต่อความหนักและความร้ายแรงทั้งหลาย ชีวิตของผู้อยู่ร่วมกัน นอกจากมีข้อแตกต่างขัดแย้งทางอุปนิสัย การอบรม และความต้องการบางอย่าง ซึ่งจะต้องหาทางปรับปรุงเข้าหากันแล้วบางรายอาจจะมีเหตุล่วงเกินรุนแรง แสดงออกจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจะเป็นถ้อยคำหรือกิริยาอาการ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องรู้จักอดกลั้นระงับใจ ไม่ก่อเหตุให้เรื่องลุกลามกว้างขยายต่อไปความร้ายจึงจะระงับลงไป นอกจากนี้ ยังจะต้องมีความอดทนต่อความลำบากตรากตรำ และเรื่องหนักใจต่างๆ ในการประกอบการงานอาชีพเป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดภัยพิบัติ ความตกต่ำคับขัน ไม่ตีโพยตีพาย แต่มีสติอดกลั้นคิดอุบายใช้ปัญญาหาทางแก้ไขเหตุการณ์ให้ลุล่วงไปด้วยดี ชีวิตของคู่ครองที่ขาดความอดทน ย่อมไม่อาจประคับประคองพากันให้รอดพ้นเหตุร้ายต่างๆ อันเป็นประดุจมรสุมแห่งชีวิตไปได้
4.จาคะ ความเสียสละ ความเผื่อแผ่ แบ่งปันตลอดถึงความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน ชีวิตบุคคลที่จะมีความสุข จะต้องรู้จักความเป็นผู้ให้ด้วย มิใช่คอยจ้องแต่จะเป็นผู้รับเอาฝ่ายเดียว การให้ในที่นี้ มิใช่หมายแต่เพียงการเผื่อแผ่แบ่งปันสิ่งของอันเป็นเรื่องที่มองเห็นและเข้าใจได้ง่ายๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่กัน การแสดงน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน ตลอดจนการเสียสละความพอใจและความสุขส่วนตนได้ เช่น ในคราวที่คู่ครองประสบความทุกข์ ความเจ็บไข้ หรือมีธุระกิจใหญ่เป็นต้น ก็เสียสละความสุขความพอใจของตน ขวนขวายช่วยเหลือ เอาใจใส่ดูแล เป็นที่พึ่งอาศัย เป็นกำลังส่งเสริม หรือช่วยให้กำลังใจได้โดยประการใดประการหนึ่ง ตามความเหมาะสมรวมความว่า เป็นผู้จิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละ ไม่คับแคบเห็นแก่ตัว ชีวิตครอบครัวที่ขาดจาคะ ก็คล้ายการลงทุนที่ปราศจากผลกำไรมาเพิ่มเติม ส่วนที่มีมาแต่เดิมก็คงที่หรือค่อยร่อยหรอพร่องไป หรือเหมือนต้นไม้ที่มิได้รับการบำรุง ก็มีแต่อับเฉา ร่วงโรย ไม่มีความสดชื่นงอกงาม
ธรรม ๔ ประการ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะดังกล่าวมานี้ มิใช่ประสงค์เป็นข้อปฏิบัติจำกัดเฉพาะในระหว่างคู่ครองเพียง ๒ คนเท่านั้น แต่มุ่งหมายให้ใช้ทั่วไปในชีวิตการครองเรือนทั้งหมด โดยยึดถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานของจิตใจ ในการที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับคนทั้งหลายที่จะอยู่ร่วมหรือติดต่อเกี่ยวข้องกันให้เหมาะสมตามฐานะนั้นๆ เพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ชีวิตของตนเอง และแก่ชีวิตของคนอื่นๆ ในสังคม


* ภาพเล็ก ล็อกเก็ต อ เวด.jpg (375.27 KB, 1061x759 - ดู 589 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!