ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ ( บุญจันทร์ จัตตสัลโล ) ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
26 เมษายน 2567, 06:30:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ ( บุญจันทร์ จัตตสัลโล )  (อ่าน 9307 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 02 กันยายน 2554, 20:59:56 »

ประวัติ ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ ( บุญจันทร์ จัตตสัลโล )
 ชีวประวัติ โดยสังเขป ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์   จตฺตสลฺโล)
ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล)
วัดปากน้ำ    ตำบลกุดลาด    อำเภอเมือง   จังหวัดอุบลราชธานี
เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ อายุ ๘๑ ปี พรรษา ๖๐
บิดา นายคำ   มารดา นางคูณ นามสกุล   ประสานพิมพ์   
ณ บ้านเลขที่ ๑๐๙    หมู่   ๓   บ้านปากน้ำ    ตำบลกุดลาด   อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
 
 บรรพชา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด  อำเภอเมือง     จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระครูคัมภีรญาณ วัดบ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์
     
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๕   มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐  ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  โดยมีพระครูคัมภีรญาณ วัดบ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี   เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดี กนฺตสีโล   วัดดงบังเหนือ ตำบลดอนมดแดง  อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์    พระอธิการกุ ปญฺญาวโร   วัดยางวังไฮ ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีเป็นพระอนุสาวนาจารย์
     
 การศึกษา
พ.ศ. ๒๔๘๒  สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดปากน้ำ     ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๔๘๘ สอบได้นักธรรมชั้นเอกจากสำนักศาสนศึกษาวัดหลวง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบไล่ได้มัธยมศึกษา มศ. ๕ ( ม.๕ เดิม ) จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๔๙๘ สอบได้ประโยคครูพิเศษมูล

 งานการปกครอง
พ.ศ.  ๒๕๑๙ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดผาแก้วใหญ่ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นผู้รักษาการเจ้าวัดผาแก้วน้อย ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลกุดลาด   อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์   ตำบลกุดลาด
     
 งานการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๒๙  เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี สำนักศาสนศึกษาวัดปากน้ำ (บุ่งสระพัง)อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
     
 งานด้านสาธารณูปการ
พ.ศ. ๒๕๒๐ ดำเนินการสร้างอุโบสถทรงไทยที่วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ลงรักปิดทอง ปูหินอ่อน
พ.ศ. ๒๕๒๕ ดำเนินการสร้างกุฏิลักษณะทรงไทย ๔ หลังที่วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๒๕ ดำเนินการสร้างซุ้มประตูหน้าวัดลักษณะทรงไทย ติดลายปูนปั้นที่วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๒๘ ดำเนินการสร้างอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ๒ ชั้น
พ.ศ. ๒๕๓๘ ดำเนินการสร้างศาลาการเปรียญทรงไทย ณ  วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นทำด้วยหินขัด
พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างพระเจ้าใหญ่บรรจุพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานในศาลาการเปรียญ ที่วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๓๗ ดำเนินการขุดสระน้ำ ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๕๐ เมตร เพื่อใช้อุปโภค บริโภค ภายในวัด
พ.ศ.๒๕๓๙ ดำเนินการสร้างศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนประจำหมู่บ้าน ๑ หลัง ชั้นเดียว ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๓ ดำเนินการก่อสร้างศาลานาบุญ ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สร้างด้วยไม้   หลังคาสังกะสี
พ.ศ. ๒๕๔๔ ดำเนินการสร้างหอไตรลักษณะทรงไทย ๑ หลัง ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
พ.ศ. ๒๕๔๕ ดำเนินการสร้างเมรุ ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด    อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๕ ดำเนินการสร้างหอระฆังลักษณะทรงไทย จำนวน ๑ หลัง ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
พ.ศ. ๒๕๔๕ ดำเนินการสร้าง พระธาตุพนมจำลอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปทองคำ หลวงพ่อเงินจำลอง ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
พ.ศ. ๒๕๔๖ ดำเนินการบูรณะโรงครัวภายในวัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
พ.ศ. ๒๕๔๘ ดำเนินการสร้างกุฏิรับรองลักษณะทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง
พ.ศ. ๒๕๔๘ ดำเนินการสร้างกำแพงรอบวัด ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
     
 งานบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดปากน้ำ
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์อาคารพระปริยัติธรรม   ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้นทำด้วยไม้
เสาคอนกรีต หลังคามุงสังกะสี ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด   อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์   ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้นทำด้วยไม้
เสาคอนกรีต หลังคามุงสังกะสี ณ วัดปากน้ำ
ตำบลกุดลาด   อำเภอเมือง   จังหวัดอุบลราชธานี
     
 วัดที่อยู่ในการอุปภัมภ์
พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ดำเนินการบูรณะวัดป่าพิฆเณศวร์ (เพื่อใช้เป็นที่ปฎิบัติธรรม)
โดยการสร้างกำแพงรอบวัด (บุ่งสระพัง) ศาลาการเปรียญ
บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๕๒๐ ได้ซื้อที่ดินขยายพื้นที่วัดป่าพิฆเณศวร์ ให้ครอบคลุมพื้นที่ป่าและหนองน้ำในบริเวณนั้นทั้งหมดประมาณ ๗ ไร่
พ.ศ.๒๕๒๔ ดำเนินการสร้างศาลาพักสงฆ์ ณ สำนักสงฆ์บุ่งสระพัง (โนนวัด) ที่บ้านปากน้ำ     ตำบลกุดลาด     อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๓๕ ดำเนินการสร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้นทำด้วยไม้ เสาคอนกรีต หลังคามุงสังกะสี ณ วัดนาคำ ตำบลกุดลาด   อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๕๒๖ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญทรงไทย วัดบ้านนาคำ ตำบลกุดลาด     อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 
พ.ศ. ๒๕๒๘ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญและอุโบสถทรงไทย วัดบ้านหนองมะนาว ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๓๐ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดบ้านบ่อหวาย ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๕๓๕ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญ วัดบ้านโคกกลาง ตำบลคำหว้า อำเภอตาลสุม   จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๓๖ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญ วัดบ้านโนนสมบูรณ์ ตำบลบุ่งมะแลง   กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์   จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๓๘ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดบ้านนางิ้ว   ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๓๙ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดบ้านค้อ ตำบลกุดลาด   อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี   ทรงไทย
พ.ศ. ๒๕๔๐ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดผาแก้วใหญ่ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี   ทรงไทย
พ.ศ. ๒๕๔๐ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญทรงไทย   สร้างด้วยไม้ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงด้วยสังกะสี ณ วัดป่าพิฆเณศวร์
บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ร่วมกับทางราชการดำเนินการขุดสระน้ำสาธารณะที่บ้านปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ขนาดกว้าง ๔ ไร่   ลึก ๖ เมตร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์
พ.ศ. ๒๕๔๒ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดบ้านหมากมี่   ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
 พ.ศ.๒๕๔๕ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย วัดผาแก้วน้อย ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๕๔๖ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก วัดหนองคู ตำบลกุดประทาย อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๙ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญ วัดบ้านผ้าแก้วน้อย ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
     
 งานสาธารณสงเคราะห์
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้นำประชาชนดำเนินการปรับปรุงและสร้างถนนในหมู่บ้านปากน้ำ
ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 
พ.ศ.๒๕๑๙ ได้นำประชาชนก่อสร้างสถานีอนามัยประจำตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้ดำเนินการก่อสร้างธนาคารข้าวและซื้อข้าวเข้าธนาคารเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ประชาชน
ที่บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด    อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านปากน้ำ (อาคารบุญจันทร์) ตำบลกุดลาด   อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาสภาตำบลกุดลาด (สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี)
บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด    อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๒๗
 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านปากน้ำ (อาคารพัฒนกิจวิมล) ตำบลกุดลาด   อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ร่วมกับทางราชการดำเนินการสร้างถนนจากทางหลวงแผ่นดินเข้าสู่สำนักสงฆ์บุ่งสระพัง(โนนวัด)
หน้ากว้าง ๔ เมตร หนา ๒๐ เซนติเมตร เป็นระยะทาง ๒.๕ กิโลเมตร
ที่บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาเย็นใจ ทรงไทยสมัยใหม่ ๒ ชั้น สร้างด้วยไม้ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ทรายหาดบุ่งสระพัง
(ซึ่งต่อมานายอำเภอเมืองอุบลสมัยนั้น ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อหาดบุ่งสระพังเป็นหาดศรีพิรมย์ ตามนามสกุลของนายอำเภอ)
บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ร่วมกับทางราชการดำเนินการสร้างถนนจากทางหลวงแผ่นดินเข้าสู่หาดบุ่งสระพัง
หน้ากว้าง ๔ เมตร หนา ๒๐ เซนติเมตร เป็นระยะทาง ๓ กิโลเมตร
ที่บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้สร้างถนนคอนกรีต เสริมเหล็กรอบวัด ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
เริ่มงานการศึกษา
?การศึกษาพัฒนาชีวิต ประเทศชาติ และพระศาสนา?
หลังจากท่านเจ้าคุณท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ได้พัฒนาชุมชนให้เกิดความก้าวหน้าในหลายๆ ด้านแล้ว ในขณะเดียวกันท่านก็ได้พัฒนาการศึกษาควบคู่กันไปด้วย ท่านได้ตั้งความหวังไว้ว่า จะเปิดสำนักเรียนขึ้นที่วัดปากน้ำแห่งนี้ให้ได้ และท่านได้ยึดเป็นหลักการไว้ว่า
 ?การเปิด สำนักเรียนบาลี ที่จะให้มั่นคง และประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องมีครูสอนที่เป็นลูกศิษย์โดยตรงเท่านั้น เพราะปัจจัยที่สำคัญของการเรียนการสอนภาษาบาลี อยู่ที่ครูผู้สอน?   
ท่านเจ้าคุณ ท่าน เจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ จึงเริ่มบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ทางการศึกษา ไปพร้อมกับการพัฒนาชุมชน ระยะแรกท่านได้นำเยาวชนลูกหลานเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุสามเณรแล้วส่งเสริมให้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งทางโลกและทางธรรมโดยมีความหวังที่จะเห็นลูกศิษย์ได้เป็นเปรียญธรรมและด้านทางโลกก็ต้องให้มีการศึกษาสูงขึ้นไปตามลำดับ จึงได้ส่งลูกศิษย์ให้ไปเรียนในสำนักเรียนต่างๆ ทั้งใกล้และไกล แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ  เนื่องจากการ เรียนภาษาบาลี เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ผู้ศึกษาต้องใช้ความจำ ความอดทน และความมุ่งมั่นสูง หากขาดความอดทน การศึกษาภาษาบาลีก็ไร้ผล ท่านจึงมักสอนลูกศิษย์ให้อดทนว่า
?แลนไวสามเหล่า เต่าช้าสามหนอง?
?แลน(ตะกวด)แม้จะวิ่งเร็ว ก็สามารถวิ่งได้ ๓ ป่า เท่ากับเต่า เต่าแม้จะเดินช้าก็สามารถว่ายน้ำได้ ๓ หนองเท่ากับแลน ช้าหรือเร็ว   ไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องอดทนที่จะเดินไปหาจุดหมาย?
 
?นกเอิ้นทางใด๋ ว่าดี ชะนี เอิ้นทางใด๋ ว่าม่วน?
?อย่าใส่ใจเสียงนกเสียงกา ว่าร้องอยู่ป่าโน้นแล้วจะดี    แต่จงมุ่งมั่นทำหน้าที่ของตนให้ดี?
   
 ? สิอยู่ให้ปลูกม่อน สิหนีให้ซอนฮั้ว ?
?ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน จงอยู่เพื่อสร้างคุณงามความดี?
   
? สิอยู่กะให้เขาฮัก สิจากกะให้เขาคึดฮอด ?
?ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน จงทำตัวให้เขารัก และให้เขาคิดถึงเมื่อยามจาก?
   
? หนูกินม่อนจังเห็นคุณแมว ลูกแขวนแอวจังเห็นคุณพ่อแม่ ?
?คนเราจะนึกถึงบุญคุณพ่อแม่อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อมีลูกของตนเองแล้ว?       
 
? ทำดีเห็นฮอยไว้ไผบ่ว่าดีกะตามซาง ทำชั่วซูซอยไว้ ไผสิย่องกะซ่างเขา ?
? ถ้าเราทำดีแล้ว หากใครว่าไม่ดีก็ช่างเขา คนทำชั่ว    แต่กลับมีคนยกย่องสรรเสริญก็อย่าได้ท้อใจว่าทำดีไม่มีคนยกย่อง ?
 ลูกศิษย์ที่ส่งไปเรียนก็ไม่มีความอดทนพอที่จะเรียนจนสอบเลื่อนชั้นได้เป็นเปรียญธรรม เนื่องจากขาดความอดทน และทนต่อการเรียกร้องของเพื่อนที่บอกว่า เรียนทางโลกดีกว่า ไม่ได้ จึงเลิกเรียนบาลีหันไปเรียนทางโลก เพราะง่ายกว่า      ต่อมา ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ จึงทดลองส่งลูกศิษย์รูปหนึ่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ โดยไปฝากไว้กับพระมหาพิสัณห์ ทีฆายุโก (ทองไทย) ป.ธ ๘ วัดนรนาถสุนทริการาม ความหวังของท่านที่จะเห็นหมู่บ้านแห่งนี้เป็นสำนักเรียนเริ่มเป็นความจริงขึ้นมา เมื่อลูกศิษย์รูปดังกล่าวสอบไล่ได้เป็นเปรียญรูปแรกของหมู่บ้าน อนาคตของสำนักเรียนอยู่ไม่ไกลอีกต่อไปแล้ว แต่ท่านก็พบกับความผิดหวัง เมื่อลูกศิษย์รูปดังกล่าวได้ลาสิกขาไปด้วยระยะเวลาอันสั้น ภายหลังจากสอบไล่ได้ไม่นาน การลาสิกขาของลูกศิษย์รูปดังกล่าว แม้จะทำให้ท่านรู้สึกผิดหวัง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ท่านท้อถอย หรือหมดกำลังใจ ท่านเจ้าคุณท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์กลับมองเห็นโอกาสมากขึ้น และเกิดความเชื่อมั่นว่า  ?หากจะทำให้ลูกศิษย์สอบไล่ได้เป็นเปรียญธรรม จะต้องส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ เท่านั้น?  จากนั้น ท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้ส่งลูกศิษย์รุ่นต่อมา ไปเรียนที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ท่านผิดหวัง เมื่อมีลูกศิษย์หลายรูปสอบไล่ได้เป็นเปรียญธรรม ในโอกาสต่อมา ภายหลังจากการที่ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ได้พัฒนาชุมชนสร้างถาวรวัตถุ โบสถ์ สร้างวิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนช่วยพัฒนาวัด ในเขตใกล้เคียงจนประสบผลสำเร็จเป็นที่พอใจ งานด้านการพัฒนา เบาบางลง ชาวบ้านเริ่มอยู่ดีกินดีมากขึ้น ท่านจึงคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างจริงจัง โดยดำริที่จะเปิดสำนักเรียนขึ้นที่วัดปากน้ำตามความตั้งใจ
ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ได้เข้าไป   กราบเรียนปรึกษาเจ้าคณะผู้ปกครองเพื่อขอตั้งสำนักเรียน ซึ่งท่านก็ให้กำลังใจและได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันก็มี พระผู้ใหญ่บางท่านแนะนำว่า  ?อย่าตั้งสำนักเรียนเลย สมัยนี้ยากที่จะทำให้นักเรียนสอบไล่ได้ ยิ่งถ้าเจ้าสำนักเรียนไม่ได้เป็นมหาเปรียญ ก็ยิ่งลำบากมาก?  บางท่านถึงขนาดบอกกับท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ว่า ?อาจารย์ไม่ได้เป็นมหาเปรียญแล้วจะสอนให้ลูกศิษย์เป็นมหาเปรียญได้อย่างไร?           สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ความตั้งใจของท่าน เจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ ลดน้อยลง ท่านมีความเชื่อมั่นในหลักการของท่านว่า  ?ปัจจัยที่สำคัญของการเรียนการสอนภาษาบาลี ที่จะประสบ ผลสำเร็จ อยู่ที่ครูผู้สอน ไม่ใช่เจ้าสำนักเรียน เจ้าสำนักเป็นแต่เพียง ผู้สนับสนุนเท่านั้น ครูผู้สอนจะต้องมีเวลาให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่ เหมือนพี่สอนน้อง ไม่ใช่ครูสอนนักเรียน การเปิดสำนักเรียนบาลีที่จะให้ประสบผลสำเร็จจึงต้องมีครูสอนที่เป็นลูกศิษย์โดยตรง เพราะความที่ครูเป็นปัจจัยหลัก และที่สำคัญ เจ้าสำนักเรียนสามารถตำหนิครูสอนซึ่งเป็นลูกศิษย์ได้?   การตั้งสำนักเรียนในวัยที่มีอายุมากแล้ว ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ มีความมุ่งหวังว่า ในชีวิตของท่านนอกจากอยากเห็นลูกศิษย์ได้เป็นมหาเปรียญแล้ว ท่านก็มีความหวังว่าจะเห็นลูกศิษย์ได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยคสักรูปแค่นี้ก็พอแล้ว แม้ตัวท่านไม่ได้เป็นมหาเปรียญ แต่ก็อยากเห็นลูกศิษย์ได้เป็นมหาเปรียญสูงสุดถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค   และในปีเดียวกันนี้ ท่านก็ได้เรียกลูกศิษย์ซึ่งสอบเป็นเปรียญธรรมได้กลับสู่ภูมิลำเนาเดิม ดำเนินการเปิดโรงเรียน     พระปริยัติธรรมแผนกบาลีขึ้นอย่างเป็นทางการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ หลังจากการจัดตั้งสำนักเรียนได้ ๒ ปี ก็มีมหาเปรียญเกิดขึ้นในนามสำนักวัดปากน้ำ และในปี ๒๕๓๑ ก็มีผู้สอบได้เป็นมหาเปรียญในนามสำนักวัดปากน้ำเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จากนั้น สำนักเรียนวัดปากน้ำ ก็ได้รับยกย่อง ให้เป็นสำนักเรียนดีเด่นของจังหวัดอุบลราชธานีในเวลาไม่นาน  ในขณะที่ท่าน เจ้าคุณท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ กำลังมุ่งพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง ท่านก็ได้พระอาจารย์มหามังกร ปญฺญาวโร เปรียญธรรม ๕ ประโยค มาเป็นกำลังที่สำคัญในด้านการเผยแผ่ โดยท่านพระอาจารย์มหามังกร ปญฺญาวโรเป็นผู้ที่ชอบสงบ หนักในพระกรรมฐานจึงได้มาพำนักอยู่ที่วัดป่าพิฆเณศวร์ ทำงานด้านการเผยแผ่ ในที่สุดชื่อเสียงของวัดปากน้ำทั้งทางด้านการศึกษาและการเผยแผ่ก็เริ่มเป็นที่รู้จักของคณะสงฆ์และประชาชนโดยทั่วไป
กล่าวสำหรับ พระอาจารย์มหามังกร ปญฺญาวโร เป็นชาวจังหวัดสุรินทร์ เคยพำนักศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ เป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญในด้านการศึกษาและการเผยแผ่ของวัด มีความเคารพท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์เป็นการส่วนตัว มาตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณร ภายหลังคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย จังหวัดอุบลราชธานี ได้ขอให้ท่านมาช่วยงานด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ที่วัดสุปัฏนาราม ท่านปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์อยู่ระยะหนึ่ง      แต่เนื่องจากท่านมีอุปนิสัยทางด้านพระกรรมฐาน และประกอบกับมีปัญหาด้านสุขภาพ ต่อมา ท่านจึงขอปลีกตัวมาพำนักอยู่ที่วัดป่าพระพิฆเณศวร์ เพื่อเจริญกรรมฐาน และได้กลายเป็นกำลังที่สำคัญด้านการเผยแผ่ของ ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ ในโอกาสต่อมา     
สำนักเรียนวัดปากน้ำ ภายใต้การบริหารของท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ ถึงความเจริญสูงสุดจนมีพระภิกษุสามเณรอยู่ในความดูแลของท่านกว่า ๒๐๐ รูป ภายในระยะเวลาเพียง ๕ ปี และแล้วความหวังของท่านก็    เดินทางมาถึงจุดสูงสุด เมื่อลูกศิษย์รูปหนึ่งสามารถสอบได้เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค และรูปอื่นๆ ก็สอบได้ตามมา ภายหลังการตั้งสำนักเรียนมาได้เป็นระยะเวลา ๑๐ ปี
ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์เล่าว่า การตั้งสำนักเรียนในวัยที่ท่านอายุมากแล้ว และสามารถทำให้ลูกศิษย์สอบเป็นเปรียญธรรม   ๙   ประโยคได้ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้เป็นมหาเปรียญ ก็ถือว่าท่านได้ทำหน้าที่สนองงานพระศาสนาตามหน้าที่สมบูรณ์แล้ว
จากนี้ไป จึงเป็นหน้าที่ของลูกศิษย์ที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ ส่วนตัวท่านเองวัยได้ล่วงเลยมามากแล้ว และกำลัง    ก็เริ่มลดน้อยลง ถึงเวลาแล้วที่ท่านจะต้องวางภาระวางหน้าที่ เพื่อให้   คนรุ่นหลังได้สืบสานงานพระศาสนาต่อไป

บันทึกการเข้า
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 กันยายน 2554, 12:01:27 »

ยอดเยี่ยมมากครับ

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!