ตำนานชีวิต 4 เสืออีสาน : ขุนพลเมืองอุบล อุดมการณ์ฝากไว้ในแผ่นดิน(2) ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
19 เมษายน 2567, 05:16:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานชีวิต 4 เสืออีสาน : ขุนพลเมืองอุบล อุดมการณ์ฝากไว้ในแผ่นดิน(2)  (อ่าน 97827 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 11 มิถุนายน 2556, 13:28:36 »

ตำนานชีวิต 4 เสืออีสาน : อุดมการณ์ฝากไว้ในแผ่นดิน(2)
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ :  ขุนพลเมืองอุบล
ผู้ขันอาสาเพื่อแผ่นดิน ด้วยชีวิต เลือดเนื้อ และจิตวิญญาณ(วีรบุรุษไร้อนุสาวรีย์)






ข้าพเจ้าเสนอความเห็นเรื่องค่านานี้อย่างยืดยาว ..แต่รัฐบาลตอบข้าพเจ้ามาเพียง 3 บรรทัด ว่า การลดค่านาตามนั้นจะกระทบกระเทือนถึงการเงินของประเทศ

กำเนิด ณ เมืองดอกบัวงาม


หากพลิกประวัติชีวิตขุนพลฝีปากกล้านามทองอินทร์ ภูริพัฒน์ พบว่าเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2449  ที่บ้านหนองยาง ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นบุตรของนายชู และนางหอม ภูริพัฒน์ ประกอบอาชีพทำนาและค้าขายในหมู่บ้าน

เนติบัณฑิตไทยความใฝ่ฝันอันแรงกล้า


ในวัยเด็กนายทองอินทร์  ภูริพัฒน์ เข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนเบญจมะมหาราช ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นจึงเข้ามาศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ ในขณะเดียวกันก็ศึกษาระดับประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษาไปพร้อมกันจนสำเร็จการศึกษา และสำเร็จเนติบัณฑิตไทยในเวลาต่อมา

หลังสำเร็จการศึกษาในปี 2464 จึงกลับคืนสู่บ้านเกิดโดยเป็นครูสอนที่โรงเรียนเบญจมะมหาราช ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เคยศึกษาเมื่อวัยเด็ก โดยทำหน้าที่การสอนปฏิบัติงานเรื่อยมาจนได้รับการแต่งตั้งเป็นเป็นครูใหญ่โรงเรียนเบ็ญจมะมหาราช ระหว่างปี 2468 ? 2477  และได้รับพระราชทานยศทางพลเรือนเป็นรองอำมาตย์ตรี (เทียบเท่าร้อยตรีทหารบก)

นอกจากนั้นนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ยังมีบทบาทสำคัญในด้านศึกษาโดยเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีทองวิทยา และโรงเรียนวิไลพัฒนา ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาตามความต้องการของท้องถิ่นในยุคนั้น

ในปี 2483  นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ได้โอนไปรับราชการในตำแหน่งเลขานุการมณฑลนครราชสีมา สังกัดกระทรวงมหาดไทย และตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี คือตำแหน่งนายอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

ส่วนด้านชีวิตครอบครัวได้สมรสกับเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเขยของตระกูลเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์แห่งประเทศลาว โดยได้ตั้งถิ่นฐานครอบครัวอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีเรื่อยมา


thxby13889kruba, บอย น้ำยืน, M30, tar
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มิถุนายน 2556, 13:54:55 โดย บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน » บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2556, 13:47:50 »


นายเตียง ศิริขันธ์ (ขุนพลภูพาน) และนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ขุนพลเมืองอุบล)

จากนายอำเภอท่าอุเทนสู่สภาอันทรงเกียรติ


หลังจากลาออกจากตำแหน่งนายอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ จึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกของเมืองไทยในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476  ในขณะที่มีอายุเพียง 27 ปี เท่านั้น

ด้วยความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน จึงทำให้ได้รับความไว้วางใจจากชาวจังหวัดอุบลราชธานีในการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรตามความมุ่งหวัง โดยมีนายเลียง ไชยกาล และนายเนย สุจิมา ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนั้นด้วย และในการเลือกตั้งครั้งต่อมานายทองอินทร์ ภูริพัฒน์

เมื่อเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรอันทรงเกียรตินายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นคนหนึ่ง ทั้งบทบาทในสภาและบทบาทนอกสภา โดยเฉพาะบทบาทของหัวหน้าเสรีไทยสายอีสานในเขตจังหวัดอุบลราชธานีในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2

ส่วนบทบาทในสภาจากรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในปี 2476  พบว่า นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์เป็นผู้แทนราษฎรที่มีบทบาทในเวทีรัฐสภาสูงเรียงตามลำดับ คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (อุบลราชธานี) หลวงวรนิติปรีชา (สกลนคร) ขุนวรสิษฐ์ดรุณเวทย์ (หนองคาย) นายเลียง ไชยกาล (อุบลราชธานี) ขุนเสนาสัสดี (ร้อยเอ็ด) ซึ่งผู้แทนราษฎรเหล่านี้ต่างผ่านการศึกษาด้านกฎหมายมาก่อนทั้งสิ้น

จากรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 19/2476  มีเนื้อหาการอภิปรายของนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ที่น่าสนใจ คือ

.

?ข้าพเจ้าเป็นผู้แทนราษฎรจากบ้านนอก จึงรู้สึกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระบายความรู้สึกทุกข์ร้อนของราษฎรให้รัฐบาลทราบ โดยเฉพาะเมื่อก่อน พ.ศ. 2475 ทางมณฑลภาคอีสานมีการเก็บภาษีอากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเงินรัชชูปการ เมื่อต้นปีที่แล้วมานี้เองราษฎรเสียเงินรัชชูปการ หาเงินไม่ได้มาเพียง 3 บาทเท่านั้น ก็หาบไก่มาเพื่อจะเอามาขายแล้วผสมเสียเงิน..ให้พอกับที่จะต้องเสียเงิน 4 บาท นี้เรารู้สึกว่าเขามีศีลธรรมดีจริง ๆ .. และในปี พ.ศ. 2476 นั้นเอง รัฐบาลได้ประกาศลดอัตราการเก็บภาษีลงเหลือเพียงครึ่งอากรค่านาจึงไม่ได้เก็บในอัตราปกติ ..ข้าพเจ้าเสนอความเห็นเรื่องค่านานี้อย่างยืดยาว ..แต่รัฐบาลตอบข้าพเจ้ามาเพียง 3 บรรทัด ว่า การลดค่านาตามนั้นจะกระทบกระเทือนถึงการเงินของประเทศ .. ถ้าเราเทียบทางอื่น คือในทางกฎหมายที่ออกมาโดยกก็มาจากผู้มีรายได้ เราคิดว่า ราษฎรทำงานตลอดปีได้เงิน 18 บาท จะต้องเสียค่าภาษีอากร 18 บาท นี้ทั้งทุน ทั้งแรงต้องเสียไป 2 บาท เป็นค่าภาษีอากร ผู้มีรายได้เดือนละ 200 บาท ปีหนึ่งก็ 2400 บาท ส่วนผู้ได้ 18 บาท เสีย 2 บาท ผู้ที่ได้ 2400 ไม่ต้องเสียเลย ราษฎรถูกเก็บเช่นนี้จึงอยากจะหาทางผ่อนแก่เขา?


ทั้งนี้มีผู้แทนราษฎรที่อภิปรายสนับสนุนญัตตินี้คือ ขุนพิเคราะห์คดี (ขุขันธ์) ขุนวรศิษฐ์ดรุณเวทย์ (หนองคาย) หลวงวรนิติปรีชา (สกลนคร) และนายมงคล รัตนวิจิตร (นครศรีธรรมราช)

thxby13890kruba
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2556, 15:29:40 โดย บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน » บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2556, 13:48:45 »

พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว : ปกป้องสิทธิของชาวไร่ชาวนา

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ มีบทบาทสำคัญในการเป็นแกนนำเสรีไทยสายอีสานเขตอุบลราชธานี รวมทั้งเป็นเลขาธิการและแกนนำในการจัดตั้ง ?พรรคสหชีพ? โดยมี ดร.เดือน บุนนาค เป็นหัวหน้าพรรค และหลังการเลือกตั้งครั้งที่ 4 ในปี 2489 ในนามของพรรคสหชีพได้เสนอร่างกฎหมายควบคุมค่าใช้จ่ายของประชานในยามคับขัน หรือที่เรียกกันว่า ?พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว? ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองไม่ให้พ่อค้าเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในร่างกฎหมายฉบับนี้รัฐบาลไม่เห็นด้วย เพราะไม่มีมาตรการในการควบคุมราคา ไม่สามารถปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ และเกรงว่าจะเป็นการเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป

ผลการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2489 ในญัตติดังกล่าวด้วยคะแนน  65 ต่อ 63 เสียง จึงทำให้รัฐบาลแพ้คะแนนเสียงส่งผลให้นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นนายปรีดี พนมยงค์ จึงได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา

หลังเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และแกนนำพรรคสหชีพได้ถูกค้นบ้านพัก ซึ่งโดยตั้งข้อหาว่ามีอาวุธในครอบครอง  ซึ่งต่อมาในการเลือกตั้งในวันที่ 29 มกราคม 2491 จึงทำให้นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และกลุ่มสหชีพไม่มีสิทธิ์ลงสมัครเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเนื่องจากข้ออ้างว่ามีอาวุธไว้ในครอบครองนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตามหลังการเลือกตั้งเมื่อมีการประชุมสภานัดแรกในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2491 นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายจำลอง ดาวเรือง ได้ปรากฏตัวที่สภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้ถูกจับกุมแต่ไดรับการปล่อยตัวหลังจากได้สอบสวนในเวลาต่อมา

ต่อมาในวันที่ 20 มีนาคม 2491 ได้มีการดำเนินคดีนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายเตียง ศิริขันธ์        ในข้อหากบฏแบ่งแยกดินแดน แต่ศาลได้ยกฟ้องเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2491  และต่อมาในวันที่ 29 ตุลาคม 2491 ได้มีการจับกุมนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายทิม ภูริพัฒน์ นายสุณา เมืองโฆษ และนายฟอง สิทธิธรรม ในข้อหา ?กบฎแบ่งแยกดินแดน? อีกครั้ง แต่ก็ได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมาเช่นเดียวกัน  เรียกได้ว่าวิถีชีวิตของนักการเมืองอีสานที่ได้เอ่ยนามมาแล้วต่างมีชีวิตเวียนว่ายอยู่กับการจับกุมและการจองจำจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

วิบากกรรมทางการเมืองกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์

ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่แล้วแล้วถึงวิบากรรมของผู้แทนราษฎรภาคอีสานซึ่งพ่ายแพ้ต่อชะตากรรมที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นผู้บงการ เช่นเดียวกันกับนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นักสู้อุดมการณ์ฝีปากกล้า หนึ่งในกลุ่มเสรีไทยสายอีสานที่จบชีวิตลงหลังเกิดเหตุการณ์ของ ?กบฎวังหลวง? เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2492 จึงทำให้มีการจับกุมนักการเมืองสายเสรีไทยฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ อย่างเข้มงวด ส่งผลให้ยุติบทบาททางการเมืองและหนีการจับกุมไปต่างประเทศอีกส่วนหนึ่ง

จนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2492  มีการจับกุมและควบคุมตัวนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายจำลอง ดาวเรือง ในขณะที่นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่เนติบัณฑิตสภา ทั้งนี้นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลสามเสน นายจำลอง ดาวเรืองไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา ด้านนายถวิล อุดล ถูกจับในขณะที่ไปประกันตัวนายลิต ชัยสิทธิเวชที่สันติบาลแล้วจึงนำไปฝากขังไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ส่วน ดร.ทองเปลว ชลภูมิ หลังจากเกิดเหตุการณ์ได้ลี้ภัยอยู่ที่ปีนัง ก่อนที่ทางตำรวจได้โทรเลขหลอกให้กลับเมืองไทยด่วนก่อนจึงถูกจับตัวที่สนามบินดอนเมืองในวันที่ 3 มีนาคม 2492 ก่อนที่จะนำตัวไปฝากขังที่สถานีตำรวจนครบาลสามเสน

ต่อมากลางดึกก่อนเทียงคืนของวันที่ 3  มีนาคม 2492  ได้มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายอดีต 4 รัฐมนตรีไปยังสถานีตำรวจนครบาลบางเขน จนรถวิ่งมาถึงบริเวณถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ เวลาหลังเที่ยงคืนของวันที่ 4 มีนาคม 2492 ทำให้อดีตรัฐมนตรีทั้ง 4 คน ถูกสังหารเสียชีวิตในขณะที่ยังสวมกุจแจมือ ทั้งนี้ทางตำรวจได้แถลงข่าวการเสียชีวิตในครั้งนั้นว่าเป็นฝีมือของโจรมลายูมาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้กันขึ้น จึงทำให้ถูกลูกหลงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตามเมื่อประชาชนได้ทราบเหตุการณ์ต่างก็ไม่เชื่อในการแถลงข่าวของทางการ จนมีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรหลายครั้ง ในครั้งสุดท้ายมีการยื่นกระทู้เข้าไปในระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยนายนาถ เงินทาบ (ส.ส.มหาสารคาม)  แต่ถูกพระราชธรรมนิเทศประธานสภาได้ยับยั้งไว้ แต่นายนาถ เงินทาบ ไม่ยอม และได้ยื่นประท้วงว่าประธานไม่มีสิทธิยังยั้งกระทู้ของตน จนได้รับการบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมในครั้งต่อไป

ในวันประชุมสภาประชาชนต่างให้ความสนใจในการตอบกระทู้เกี่ยวกับการสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีเป็นอย่างมากจนแน่สภา แต่ก็ต้องทำให้ประชาชนผิดหวังเป็นอย่างมาก เพราะนายนาถ เงินทาบเจ้าของกระทู้ไม่ได้มาร่วมประชุมสภาในวันนั้นจึงทำให้กระทู้ถามดังกล่าวต้องตกไป ความมืดดำของเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงอยู่ในใจของประชาชนเรื่อยมาจนคดีดังกล่าวไดรื้อฟื้นขึ้นมาในปี 2500  และมีการดำเนินคดีในปี 2502  ในที่สุดศาลได้พิพากษาคดีในปี 2504  โดยมีการจำคุกผู้ต้องหาตลอดชีวิต 3 ราย

คือบทสุดท้ายของชีวิตผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี อดีตรัฐมนตรีฝีปากกล้าที่หาญกล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้องในอุดมการณ์ บทสรุปของตำนานแห่งความทรงจำ และความตายของคนกลุ่มหนึ่งที่ถูกหยิบยื่นจากผู้มีอำนาจเหนือกว่า อนิจจาชีวิตคนเราก็เท่านี้

ในตอนต่อไปจะได้กล่าวถึงชีวิตของนายถวิล อุดล อดีตผู้แทนราษฎรเมืองร้อยเอ็ด ผู้เสนอญัตติรายรับ ? รายจ่ายในงบประมาณของรัฐบาล ทำให้เกิดการยุบสภาผู้แทนราษฏรครั้งแรกของเมืองไทย  และหากผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือเห็นต่างไปจากนี้ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อความสมบูรณ์ถูกต้องของเนื้อหายิ่งขึ้นครับ

.

thxby13891kruba, M30
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2556, 15:29:13 โดย บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน » บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
pop
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 11
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 3 : Exp 64%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 17:36:42 »

 

thxby13904kruba, บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน, M30
บันทึกการเข้า
Shawna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 1 : Exp 40%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 28 มีนาคม 2557, 10:29:27 »

นี้แหละ วีรชน

thxby15936M30
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!