หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
19 เมษายน 2567, 10:09:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร  (อ่าน 13570 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pyhc
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 27
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 3 : Exp 73%
HP: 0.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 26 เมษายน 2556, 11:04:23 »

"พระครูภาวนากิจโกศล" หรือ "หลวงปู่สอ พันธุโล" วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร พระป่ากัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติ จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน

อัต โนประวัติ เกิดในสกุล ขันเงิน เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับวันที่ 7 กรกฎาคม 2464 ที่บ้านทุ่งมน ต.ทุ่งมน อ.ลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายตา ขันเงิน และ นางขอ ขันเงิน มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 2 คน เป็นชายทั้งหมด ท่านเป็นบุตรชายคนโต

ในสมัยหนุ่มเป็นฆราวาสนั้น นายสอเป็นคนที่ชอบสนุกสนานร่าเริง เข้ากับหมู่คณะได้ทุกคน ขณะเดียวกัน ยังเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความสามารถในการกล่าวกลอนสด (ผญา) ของคนอีสาน เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง แม้เรียนจบเพียงแค่ชั้นป.3

ถึงจะชอบสนุกสนาน รื่นเริง แต่มีนิสัยประจำตัวอย่างหนึ่ง คือ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร นับว่าเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งที่ส่งผลให้การทำความเพียรของท่านในภายหลัง จากอุปสมบทแล้วมีความเด็ดเดี่ยวมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ

กระทั่งอายุได้ประมาณ 20 ปี ได้แต่งงานกับนางบับ หญิงสาวชาวบ้านเดียวกัน

หลัง จากแต่งงานมีครอบครัว ด้วยความเป็นหัวหน้าครอบครัว ทำให้ต้องตื่นแต่เช้าขยันทำการงาน หนักเอาเบาสู้ โดยหวังจะให้ภรรยาและลูกๆ มีความสุข บางครั้งต้องเดินทางรอนแรมไปต่างจังหวัด เพื่อหาเงินมาจุนเจือเลี้ยงครอบครัว

ต่อมา ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต ตัดสินใจบอกภรรยาว่าจะขอออกบวช

ใน ปี พ.ศ.2496 ขณะอายุได้ 32 ปี นายสอได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นครั้งแรก ณ พัทธสีมา วัดสร่างโศรก (วัดศรีธรรมาราม) ต.ในเมือง อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี มีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ภายหลังอุปสมบท พระสอมีความพอใจมาก มีความปลอดโปร่ง เกิดความสงบเยือกเย็น มองเห็นชีวิตแห่งการบวชเป็นทางที่จะแสวงหาความสุขได้อย่างแท้จริง

ใน การบวชครั้งนี้ ท่านพยายามที่จะทำตามกำหนดเวลาของภรรยา คือ บวช 15 วัน แต่ในขณะที่บวชอยู่นั้นมีความรู้สึกสบายกายสบายจิต คิดว่าจะบวชให้นานที่สุด และท่านก็ได้ขอผัดผ่อนภรรยาเรื่อยมา

สุดท้ายเมื่อครบ 15 วัน ท่านก็ไม่ได้สึกตามที่ภรรยากำหนดไว้ จึงทำให้ท่านได้อยู่ในเพศบรรพชิตและปฏิบัติธรรม แสวงหาความสงบ

พ.ศ.2496 ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ (ปัจจุบันอยู่วัดป่าบ้าน นาคู) เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้แนะนำสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดถึงในการอบรมด้านสมาธิภาวนา

แต่ด้วยสาเหตุจากครอบครัวทำให้ท่านจำใจต้องลาสิกขา แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ท่านก็ตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสจะกลับมาบวชอีก

พ.ศ.2501 หลวงปู่สอ ได้อุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2501 ขณะมีอายุ 37 ปี ณ พัทธสีมา วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร โดยมีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสังฆรักษ์ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระมหาสาย เป็น อนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พันธุโล

เมื่อ ได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่สอ พยายามฝึกฝนอบรมตัวเอง ด้วยการทำข้อวัตรปฏิบัติ และฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ท่านได้เร่งประกอบความเพียรมากขึ้นโดยลำดับ

ครั้น มีปัญหาอุปสรรคจากการภาวนา ท่านจะเข้าไปกราบเรียนขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เคารพนับถืออยู่เสมอ พระมหาเถระที่หลวงปู่ท่านให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง และไปพักปฏิบัติธรรมรับการแนะนำสั่งสอนจากท่านเป็นประจำ คือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

นอกจากนี้ ยังมีครูบาอาจารย์ที่ท่านได้เคยเดินทางไปธุดงค์ด้วยกัน อาทิ หลวงปู่สาม อกิญจโน, หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์, หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น

สุดท้าย หลวงปู่สอ ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูภาวนากิจโกศล

ด้วย วัยชราภาพ หลวงปู่สอ มีอาการอาพาธเป็นประจำ คณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่สอ ได้นิมนต์ท่านไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลยโสธร จนกระทั่ง วันที่ 8 พฤศจิกายน 2552 เวลา 15.47 น. หลวงปู่สอ ได้มรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ 88 ปี 4 เดือน 4 วัน พรรษา 51

นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวเมืองยโสธร ที่ได้สูญเสียพระอริยสงฆ์อันเป็นเสาหลักอย่างไม่มีวันกลับคืน

thxby13464ทิดอ้วน, คนโก้
บันทึกการเข้า
pyhc
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 27
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 3 : Exp 73%
HP: 0.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 เมษายน 2556, 11:10:14 »

 หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เชื่อกันว่า มีพุทธานุภาพสามารถบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ยังความชุ่มฉ่ำเย็นแก่พื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล  องค์จริงนั้น เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกหล่อสัมฤทธิ์โบราณ ตามการสันนิษฐานของกรมศิลปากร มีอายุประมาณ 800 ปีเศษ มีพุทธลักษณะคล้ายศิลปะเชียงแสนหรือเวียงจันทร์ ขนาดฐานกว้างประมาณ 10 นิ้ว สูงประมาณ 15 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม พุทธลักษณะพิเศษ คือ เป็นพระพุทธรูปที่มีงูใหญ่ 7 ตัว 7 หัว แผ่คลุมองค์พระซึ่งไม่เหมือนกับพระพุทธรูปปางนาคปรกโดยทั่วไปที่มีพญานาค 1 ตัว 7 หัวบ้าง 5 หัวบ้าง พระพุทธรูปลักษณะนี้มีอยู่ 2 องค์ องค์หนึ่งอยู่ในเจดีย์นครปฐม อีกองค์หนึ่งเป็นพระคู่บารมีของพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร  ซึ่งอยู่กับท่านมานานกว่า 30 ปีแล้ว
 
          หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่ประดิษฐานบนยอดเขาสันเขื่อนฝั่งขวาของเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก  ในขณะนั้นจัดสร้างตามมติคณะกรรมการโครงการจัดสร้างพระพุทธสิริสัตตราช(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)จำลองได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลองขนาดหน้าตัก 39 นิ้ว จำนวน 2 องค์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อพระราชทานให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ โดยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประทานเททอง ณ บริเวณหน้าพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2542 และ กฟผ.ได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เขื่อนทั้งสองแห่งแล้วตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2542
          ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสงบร่มเย็นและความสันติสุขแก่ปวงชน จนเป็นที่กล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ซึ่งท่านเป็นสัญลักษณ์แห่งถ้ำ แห่งเขื่อนจริงๆ ก่อให้เกิดความศรัทธาในพุทธานุภาพของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์และสังฆานุภาพของหลวงปู่สอ พันธุโล แก่ผู้ที่เคารพสักการบูชาเป็นอันมาก ซึ่งปัจจุบันนี้หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลอง ได้ประดิษฐานตามเขื่อนต่างๆ ของกฟผ.ทั่วประเทศ

thxby13465ทิดอ้วน
บันทึกการเข้า
pyhc
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 27
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 3 : Exp 73%
HP: 0.2%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 เมษายน 2556, 11:13:16 »

หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์รุ่นแรก  เนื้อนวะ


* .jpg (95.45 KB, 720x503 - ดู 5569 ครั้ง.)

thxby13466ทิดอ้วน, คนโก้, Kongkrapan
บันทึกการเข้า
ม่องเมืองยศ
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 1 : Exp 60%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2557, 23:28:07 »

ประวัติหลวงพ่อน่าศึกษามากครับ





บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!