ประวัติหลวงปู่่มุม อินทปัญโญ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
26 เมษายน 2567, 06:02:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงปู่่มุม อินทปัญโญ  (อ่าน 7335 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
mohbantung
Full Member
***

พลังน้ำใจ : 53
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 72

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 6 : Exp 85%
HP: 2.8%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2555, 19:26:03 »

ประวัติหลวงปู่่มุม อินทปัญโญ

หลวงพ่อมุม อินฺทปญโญ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 พุทธศักราช 2429 ณ บ้านปราสาทเยอร์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โยมบิดาชื่อ มาก บุญโญ โยมมารดาชื่อ อิ่ม บุญโญ

วันที่ 9 พฤษภาคม 2441 ขณะท่านอายุได้ 12 ปี ได้บรรพยาเป็นสามเณรที่วัดปราสาทเยอร์เหนือโดยมีเจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอร์เหนือในสมัยนั้น อาจารย์พิมพ์ เป็นผู้ชวชให้

อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2449 ขณะท่านอายุครบ 20 ปี โดยมีพระอาจารย์ปริม เจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอร์เหนือ เป็นพระปุปัฌชาย์ พระอาจารย์พรหมมา วัดสำโรงระวี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทอง วัดไพรบึง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พ.ศ.2492 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอร์เหนือ

พ.ศ.2494 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี ราชทินนามที่ พระครูประสาธน์ขันธคุณ

พ.ศ.2501 เลื่อนชั้นพระสังฆาธิการเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในนามเดิม




ภายหลังอุปสมบทท่านได้เพียรศึกษาพระปริยัติธรรม บาลีไวยากรณ์ พระธรรทบท มูลกัจจายนะสูตร กรรมฐาน และคาถาอาคมการลงอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญ

อีกทั้งอักขระขอม คาถาอาคม ไสยเวทย์ จากพระอาจารย์เขมรและพระอาจารย์จากประเทศลาวจนมีความเชี่ยวชาญ ฝึกปฏิบัติสมถะกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานจนมีจิตและสมาธิอันกล้าแข็งแน่วแน่ตามลำดับ

ท่านจึงออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ผ่านทางเมืองขุขันธ์เรื่อยไปจนถึงเมืองกบินทร์บุรี และมาจำพรรษาอยู่ที่วัดโคกมอญเป็นเวลานานถึง 3 พรรษา

ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดโคกมอญ ท่านได้พัฒนาและสร้างความเจริญให้กับวัดโคกมอญเป็นอันมาก จากสำนักสงฆ์เล็ก ๆ จนเป็นวัดที่เจริญขึ้น สร้างความเลื่อมใสศรัทธาในหมู่ประชาชนละแวกนั้น เมื่อออกพรรษาท่านจึงเดินธุดงค์ต่อเรื่อยมาจนกลับมาจำพรรษาที่วัดปราสาทเยอร์ใต้

จำพรรษาอยู่ ณ วัดปราสาทเยอร์ใต้ได้หลายปีท่านก็ออกธุดงค์อีก ใช้เวลานับแรมปี ธุดงค์เข้าหาหาวิเวกแสวงธรรมไปแทบจะทุกพื้นที่ ทั้งในประเทศไทย เขมร และประเทศลาว ค่ำไหนปักกลดจำวัดที่นั่น



ได้ร่ำเรียนศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาจากอาจารย์เก่ง ๆ หลายท่าน จนได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์ต่าง ๆ ให้ไปพบกับ สมเด็จลุน เกจิอาจารย์ผู้เรืองวิชาและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในประเทศลาวเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์

หลวงพ่อมุมธุดงค์ต่อไปยังนครจำปาศักดิ์เพื่อไปพบกับสมเด็จลุน แต่ต้องคลาดกันเพราะด้วยขณะนั้นสมเด็จลุนได้เดินทางมายังจังหวัดอุบลราชธานี

หลวงพ่อมุมออกธุดงค์จากนครจำปาศักดิ์มุ่งหน้าสู่จังหวัดอุบลราชธานีจนได้พบกับสมเด็จลุน ขอฝากตัวเป็นศิษย์ติดตามท่านกลับมายังนครจำปาศักดิ์เพื่อศึกษาวิชาอาคมและอักขระเลขยันต์จากท่าน

หลวงพ่อมุมพากเพียรศึกษาวิชาจากสมเด็จลุนเป็นเวลานานจนเชี่ยวชาญท่านจึงกราบลาสมเด็จลุน ธุดงค์กลับมายังเมืองขุขันธ์จนถึงวัดปราสาทเยอร์ ในกาลนี้สมเด็จลุนยังเมตตามอบสรรพตำราต่าง ๆ ให้กับหลวงพ่อมุมเพื่อศึกษาเพิ่มเติม (ปัจจุบันตำราใบลานต่าง ๆ ยังคงมีเก็บรักษาไว้ ณ วัดปราสาทเยอร์ใต้)

ภายหลังพระอาจารย์ปริม เจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอร์เหนือได้มรณภาพลง ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อมุมมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดปราสาทเยอร์เหนือ ท่านได้พัฒนาวัดปราสาทเยอร์เหนือจนมีความเจริญขึ้น ทั้งในด้านถาวรวัตถุและกิจการทางพระพุทธศาสนา

หลวงพ่อมุม อินฺทปญโญ มรณะภาพลงเมื่อ วันที่ 9 เดือนกันยายน พุทธศักราช 2522 ณ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สิริอายุรวม 93 ปี 73 พรรษา อัฐิของท่านบรรจุไว้ในพระธาตุภายในวัดปราสาทเยอร์เหนือ ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

thxby10493PN3
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!