การถวายของแด่พระสงฆ์ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
19 เมษายน 2567, 10:34:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การถวายของแด่พระสงฆ์  (อ่าน 4746 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nirungfc
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 1 : Exp 60%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 มีนาคม 2555, 13:20:15 »

การถวายของแด่พระสงฆ์

การถวายสิ่งของหรืออาหารแด่พระสงฆ์ เป็นการถวายเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์มีหน้าที่ในการเผยแพร่พระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า
หากเจ้าของทรัพย์หรืออาหาร มีความตั้งใจในการสละทรัพย์ด้วยความศรัทธา  บุญสำเร็จผลตั้งแต่ความคิดแล้ว
แม้มีผู้อื่น กระทำการถวายแทนก็ตาม บุญบังเกิดแก่เจ้าของทรัพย์แน่นอน  หาทำให้บุญของเจ้าของทรัพย์น้อยลงไม่
ส่วนผู้กระทำการแทนนั้น  หากกระทำด้วยจิตบริสุทธิ์และร่วมอนุโมทนา บุญย่อมส่งผลได้เช่นกัน
พระสงฆ์ ควรสอนธรรมะ ให้แก่พุทธบริษัท ในแง่ ของการละ  และปล่อยวาง  ไม่ให้มีความหลงติดในทรัพย์  ไม่ยึดถือตัวกูของกู
เพราะเมื่อมีความตั้งใจสละทรัพย์แล้ว ให้ถือว่าทรัพย์นั้นเป็นของส่วนรวม  จะได้บุญมหาศาลและลดความขัดแย้งอันเกิดจากการแย่งกันถวายสิ่งของด้วย  ไม่เช่นนั้น จะเกิดกรณี ขโมยบุญกันเกิดขึ้น ถึงขั้นด่าทอกันก็เคยเกิดมาแล้ว  อย่าให้ต้นเหตุมาจากคำสั่งสอนของพระสงฆ์เอง

ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมลึกซึ้ง (พระไตรปิฏก ฉบับดับทุกข์)

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ นิคมกัมมาสะทัมมะ เมืองกุรุ แคว้นกุรุรัฐ พระอานนท์ได้กราบทูลว่า

?น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า? ปฏิจจสมุปบาท นี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้นก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆ แต่ข้าพระองค์

พระพุทธองค์ตรัสห้ามในทันทีว่า

?อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย และการเวียนว่าย

อานนท์! เมื่อ ภิกษุเกิดความพอใจบ่อยๆ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ตัณหาย่อมเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นเหตุ จึงเกิดอุปาทานเป็นผล เพราะอุปาทานเป็นเหตุ จึงเกิดภพเป็นผลฯ อย่างนี้

อานนท์! เมื่อภิกษุเห็นโทษบ่อยๆ ในสิ่งทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งความยึดมั่นถือมั่น ตัณหาย่อมดับเพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้?
นิทานสูตร ๑๖/๑๐๑
พระสูตรนี้มีเรื่องที่น่าคิด คือ พระพุทธองค์ทรงหมดกิเลสแล้ว ส่วนพระอานนท์ท่านยังไม่หมดกิเลส ท่านได้แค่พระโสดาบันเท่านั้น การมองปฏิจจสมุปบาท จึงเป็นการมองคนละแง่ คือพระพุทธองค์ทรงมองตลอดสาย แต่พระอานนท์ท่านอาจมองจุดใดจุดหนึ่ง ตามเยี่ยงของคนที่ยังไม่หมดกิเลส

จากความคิดอันนี้ ทำให้เราได้ตัวอย่างต่างๆ หลักฐานต่างๆ แม้ในพระไตรปิฎก มักจะมีผู้แสดงความเห็น หรือตีความธรรมะต่างๆ กันไป เพราะขึ้นอยู่กับคุณธรรมในใจ ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ

ดังนั้น การตีความธรรมะ จึงควรที่จะยึดหลักฐานในพระไตรปิฎกเป็นแนว มิฉะนั้นก็จะเกิดการแตกแยก และไม่อาจจะหาข้อยุติได้ ความปรารถนาดีก็เลยกลายเป็นผลร้ายให้มือที่สามได้ประโยชน์ แบบตีงูให้กากิน ฉะนั้น

เอกสารอ้างอิง : ธรรมรักษา. พระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์ : กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์, 2541

 


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!