?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
29 มีนาคม 2567, 20:56:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: [1] 2 3 ... 11
1  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: จิ๋วแต่แจ๋ว : เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อมุม และเหรียญเสมาเล็ก เมื่อ: 12 กันยายน 2557, 18:59:53
พิมพ์หลังเรียบมีจาร


2  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: จิ๋วแต่แจ๋ว : เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อมุม และเหรียญเสมาเล็ก เมื่อ: 12 กันยายน 2557, 18:51:42
เหรียญเสมาเล็กหลวงพ่อมุมปี 2509 (รุ่น 3) เนื้ออัลปาก้าชุบนิเกิล


เหรียญรุ่นนี้ใบหน้าใกล้เคียงกับเหรียญเม็ดแตง หรือถือว่าหน้าเดียวกัน

ลักษณะเหรียญ : บาง  สวย  มีเสน่ห์

ขนาด : เล็ก  ประมาณเท่าปลายนิ้วก้อย (โตกว่าเหรียญเม็ดแตงนิดๆ)





3  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / เหรียญปั๊มญาท่านพระครูโพนสะเม็ก (ท่านพระครูขี้หอม) เมื่อ: 18 ตุลาคม 2556, 18:14:51
เหรียญปั๊มญาท่านพระครูโพนสะเม็ก (ท่านพระครูขี้หอม)  


           สร้างที่ฝั่งลาว คงประมาณปี 2500 ต้นๆ (น่าจะ2510-2525)  
        
         คงสร้างพิธีเดียวกันกับเหรียญญาท่านสัมเด็ดลุนผู้ย่างข้ามน้ำของได้

         พระเกจิศิษย์สายสมเด็จลุนสร้างเพื่อรำลึกถึงครูบาอาจารย์  ด้านหน้าเหรียญภาษาลาวแปลว่า

         "ญาท่านพระครูโพนสะเม็ก (ท่านพระครูขี้หอม) ชาตะ 1631(ค.ศ.) มรณะ 1720(ค.ศ.)"
        
         ด้านล่างเหรียญ แปลว่า "อายุ 90 ปี  70 พรรษา"
  


ประวัติพระครูขี้หอม (โดยสังเขป)
            
     
               "เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก" หรือ "พระครูขี้หอม" พระเถราจารย์แห่งวัดโพนสะเม็ก กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
เลื่องลืออิทธิฤทธิ์ไปทั่วสองฝั่งแม่น้ำโขงเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านช้าง
ปลายศตวรรษที่22 ช่วงประมาณพ.ศ.2233-2235ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ครั้งที่ 5 นาน 3 ปีจึงแล้วเสร็จ
พระครูขี้หอม กำเนิดเมื่อจุลศักราช 993 ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ.2174 ณ เมืองโพพันลำ
(ปัจจุบันคือบ้านกาลืม หมู่ 5 ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี)
อายุ 15 ปี บรรพชาเป็นเณรจัว โดยมีญาคูลืมบอง เป็นพระอุปัชฌาย์ อายุครบ 20 ปี จึงเข้าพิธีอุปสมบท
ท่านได้สร้างคุณูปการมากมายจนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระสังฆราชแห่งนครจำปาศักดิ์
พระครูขี้หอม มรณภาพ สิริอายุได้ 90 ปี อัฐิธาตุส่วนหนึ่งได้บรรจุไว้ในเจดีย์นอกกำแพงแก้วชั้นที่ 2 หลังองค์พระธาตุพนม
4  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / Re: ทำเนียบเหรียญปั๊มสมเด็จลุนออกที่สปป.ลาว เมื่อ: 05 ตุลาคม 2556, 12:44:50
กรรมการ : กะหลั่ยทอง  

        เหรียญญาท่านสัมเด็ดลุนผู้ย่างข้ามน้ำของได้  เนื้อโลหะผสมกะหลั่ยทอง

    
   พบน้อยมากในประเทศไทย(ส่วนใหญ่พบเนื้อทองแดงรมน้ำตาล)

        เพื่อศึกษาเรียนรู้   บรรยายด้วยภาพครับ
5  ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี พุทธสถานและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน / พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และพุทธสถานที่สำคัญภาคอีสาน / Re: พระบาง เมื่อ: 02 กันยายน 2556, 16:52:33
เหรียญพระบางรูปใบโพธิ์ปี 12
 
                บรรยายด้วยภาพครับ
6  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / Re: ทำเนียบเหรียญปั๊มสมเด็จลุนออกที่สปป.ลาว เมื่อ: 01 กันยายน 2556, 11:15:04
ประวัติการสร้างค่อนข้างจะสืบค้นยาก  เพราะการสร้างพระของสปป.ลาวเขาไม่ได้สร้างเชิงพาณิชย์ หรือธุรกิจ  มีแต่ความใสสะอาดบริสุทธิ์  ทำขึ้นแล้วแจกญาติโยมจนหมดสิ้น  ดังนั้นประวัติการสร้างจึงไม่ได้รับการบันทึกและเผยแพร่  เนื่องจากทุกอย่างเป็นการทำบุญ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทนใดๆ  พระที่สร้างในสปป.ลาวตามที่ได้รับทราบข้อมูลจากคนลาวมา การจะสร้างพระแต่ละครั้งต้องขออนุญาตทางการก่อน  และทางการจะต้องมีเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ  ทดลอง ว่าพระที่จะสร้างขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร  พระที่สร้างขึ้นจะมีพุทธคุณทางด้านใด  คนลาวบอกว่า "ดีจังได๋" ต้องทดลองให้ประจักษ์แก่สายตาเจ้าหน้าที่  ถึงดำเนินการได้ (การทดลองมีหลายวิธี)  
                
                  ทั้งหมดที่บรรยายมาเป็นที่มาของการที่ผมหันมาศึกษาพระทางฝั่งลาวครับ   พระจริงๆ ครับ  
7  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / ทำเนียบเหรียญปั๊มสมเด็จลุนออกที่สปป.ลาว เมื่อ: 31 สิงหาคม 2556, 17:10:29
เหรียญปั๊มสมเด็จลุนออกที่สปป.ลาว


       เป็นเหรียญที่พระเกจิศิษย์สายสมเด็จลุนสร้างเพื่อบูชาครูบาอาจารย์

     เพื่อศึกษาเรียนรู้และวิทยาทาน   รวบรวมได้ดังรูปภาพต่อไปนี้

หมายเหตุ : อาจจะมีเหรียญรุ่นที่ยังค้นหาไม่พบ  ถ้าค้นพบอีกจะนำมาลงเพิ่มเติมต่อไป
8  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / Re: รูปหล่อโบราณ เมื่อ: 29 สิงหาคม 2556, 10:32:58
รูปหล่อโบราณสมเด็จลุน  เนื้อขันลงหิน


            ด้านหน้า LOOn MOng(MONK)  ด้านหลัง vernchaI  Temple (วัดเวินไซ)

            บรรยายด้วยภาพครับ
9  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านซาคำแดง / Re: เหรียญหล่อโบราณพระซาคำแดงรูปไข่ เมื่อ: 02 สิงหาคม 2556, 16:43:16
คาถาพระซาคำแดงจากศิษย์ตัวจริง

        พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์  กอมณี (เพื่อนผม) ศิษย์หลวงปู่ซาคำแดงให้คาถาที่ได้จากปากหลวงปู่ ที่วัดท่าหมากเห็บ (วัดบ้านห้วยแม่สังข์) ขณะที่ท่านฝากตัวบวชเป็นศิษย์เมื่อพ.ศ. 2517    คาถานี้หลวงปู่ท่านให้ท่องก่อนจะทำกิจกรรมใดๆ จะทำให้เกิดมงคล  แคล้วคลาด  ปลอดภัย  ดังนี้


                           นะ   อุ    นะ   อะ   นะ   มะ
  
                           อะ   นะ   อะ   มะ   อะ   อุ

                           อุ    นะ    อุ    มะ   อุ    อะ


        จึงเรียนมาเพื่อบอกบุญญาติ-โยมที่ศรัทธานำไปปฏิบัติเมื่อคราวต้องการ
10  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / เหรียญหล่อโบราณสัมเด็ดดี เมื่อ: 17 มิถุนายน 2556, 17:29:32
เหรียญหล่อโบราณสัมเด็ดดี


         "สัมเด็ดดี" = อ่านอย่างลาว  หรือ "สมเด็จดี" หรือ "สำเร็จดี"  = อ่านอย่างไทย

         ท่านเป็นพระเกจิดังในลาวยุคปี พ.ศ. 24 กว่า - 25 ต้นๆ (ข้อมูลจากการสอบถาม)

         เหรียญไม่ปรากฏปีสร้าง  พบ 3 เนื้อ

                 1.เงิน (ภาพที่ 1-2)
                 2.โลหะผสมกะหลั่ยทอง (ภาพที่ 3-4)
                 3.ทองคำ (ไม่มีภาพ)  

         เพื่อศึกษาเรียนรู้  และเป็นวิทยาทาน  
11  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านซาคำแดง / เหรียญหล่อโบราณพระซาคำแดงรูปไข่ เมื่อ: 17 มิถุนายน 2556, 17:16:25
เหรียญหล่อโบราณพระซาคำแดงรูปไข่


       ออกที่สปป.ลาว  ไม่ปรากฏปีสร้าง  

           พบ 4 เนื้อ ดังนี้

            1.ตะกั่ว (ภาพที่ 1-2)
            2.โลหะผสมกะหลั่ยทอง (ภาพที่ 3-4)
            3.เงิน (ภาพที่ 5-8)
            4.ทองคำ (ภาพที่ 9-11)

       เพื่อศึกษาเรียนรู้และเป็นวิทยาทาน

12  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / Re: เหรียญหล่อโบราณพระครูขี้หอม(เจ้าราชครูหลวง) เมื่อ: 15 มิถุนายน 2556, 18:30:09
เหรียญหล่อโบราณพระครูขี้หอมกะหลั่ยทองส่วนน้อย


        เหรียญกะหลั่ยทองบางเหรียญปรากฏรอยจารใช้คาถาเหมือนเหรียญเนื้อทองคำ

หมายเหตุ : เหรียญนี้ล้างอย่างสะอาดเลยดูสวยและใหม่
13  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / Re: เหรียญหล่อโบราณพระครูขี้หอม(เจ้าราชครูหลวง) เมื่อ: 13 มิถุนายน 2556, 21:21:04
ต้องขอขอบพระคุณท่าน vs12 อย่างสูงอีกครั้ง  สำหรับตัวอักขระส่วนที่เหลือข้างล่างอาจจะไม่ชัด ต้องขออภัยอย่างสูง  เนื่องจากไม่ได้สั่งให้ช่างภาพขยายให้ชัดขึ้น จึงเป็นการลำบากสำหรับผู้ถอดรหัส  อย่างไรก็ตามหวังอย่างยิ่งว่า  การถอดรหัสตัวธรรมรอยจารครั้งนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้พระเครื่องสำหรับแฟนพันธุ์แท้อย่างมากทีเดียว  จึงขอขอบพระคุณท่าน vs12 ที่สละเวลาอันมีค่าของท่านให้ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานครั้งนี้
14  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / Re: เหรียญหล่อโบราณพระครูขี้หอม(เจ้าราชครูหลวง) เมื่อ: 13 มิถุนายน 2556, 18:49:56
ขอรบกวนท่าน vs12 และท่านญาครู ลูกอุบลอีกสักครั้ง ช่วยกรุณาเปรียบเทียบอักขระด้านหลังเหรียญทองคำที่ 1 และ 2  

ผมเทียบดูรู้สึกว่าเหมือนกันเฉพาะแถวแรก  แถวที่ 2 เริ่มผิดแผกแตกต่างกัน  และแถวต่อไปยิ่งไม่เหมือนกัน

(ผิด-ถูกอย่างไรต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ เพราะไม่ชำนาญด้านอักษรธรรม)  

ขอขอบพระคุณท่าน vs12 และท่านญาครู ลูกอุบล ล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ครับ
15  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / Re: เหรียญหล่อโบราณพระครูขี้หอม(เจ้าราชครูหลวง) เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556, 19:16:17
ด้านหลังเหรียญพระครูขี้หอมเนื้อทองคำอีกเหรียญ

        ข้อสังเกต : จำนวนตัวอักขระธรรมมีมากกว่าเหรียญเดิม (พระคาถาแตกต่างจากเดิม)

                      (จึงเรียนมาเพื่อแฟนพันธุ์แท้โปรดทราบ)
หน้า: [1] 2 3 ... 11
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!