?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
27 เมษายน 2567, 05:45:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: [1] 2 3 ... 14
1  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 25 มกราคม 2567, 13:19:01
สีผึ้งมหาปราบ
สร้าง จำนวน 108 ตลับ
1.สีผึ้งมหาปราบ ฝังตะกรุด 3 กษัตริย์ 9 ตลับ
2.สีผึ้งมหาปราบ ฝังตะกรุดทองคำ 9 ตลับ
3.สีผึ้งมหาปราบ ฝังตะกรุดเงิน 90 ตลับ

ลักษณะ ทุกตลับจะมีการยิงเลเซอร์ ตราสายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม) และลัดนัมเบอร์ทุกตลับ ถือได้ว่าเป็นรุ่นแรกที่มีการยิงเลเซอร์ ตลับทำจากวัสดุสแตนเลส ป้องกันสนิม ปลอดภัยได้การเก็บรักษา และการนำมาใช้ทาปาก

วาระการอธิษฐานจิตโดย
1.ญาถ่านสำเร็จทา นาควัณโณ ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 สายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม)
2.ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 สายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม)
3.ญาถ่านยักษ์ โคษะกะ วัดภูตากแดด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
4.ญาถ่านวิเชียร อนุตฺตโร วัดบ้านคำมะโค้ง ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
5.พระอาจารย์คณิน สุนฺทโร วัดวังม่วง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
6. ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต พระนักบุญแห่งแดนล้านนา วัดแสงแก้วโพธิญาณ จังหวัดเชียงราย
และคณะสงฆ์คณาจารย์ จำนวน 227 รูป

สีผึ้งมหาปราบ  รุ่นนี้ถือได้ว่าเป็นรุ่นที่คณะครูธรรมใช้ในการพกพาติดตัว เพื่อให้ในการปกป้องรักษาผู้คน โดยได้รวบรวมนำเอาว่าน 108 ชนิด ที่มีพุทธคุณเด่นแตกต่างกันไป เป็นว่านที่มีพุทธคุณอำนาจสูงช่วยล้างอาถรรพ์ สิ่งชั่วร้ายที่มองไม่เห็นตัวตนกลัวหลีกหนี หากพกติดตัวระหว่างเดินทางช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง สมดั่งฉายาว่า "มหาปราบ" ที่จะช่วยปราบช่วยคุ้มครองจากภัยทั้งปวง
ยังใช้ในถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาแผล หรือนำไปพอกบริเวณแมลงสัตว์กัดต่อยช่วยถอนพิษ  และยังมีว่านทางคงกระพันชาตรีชั้น 1 สรรพคุณอานุภาพมาก หัวว่านมีสารพิเศษ ทนต่อคมศาสตราวุธ หอก ดาบ ขุนศึกโบราณนิยมมาก อานุภาพทำให้หนังเหนียว ปัจจุบันว่านนี้ยังอยู่ในความนิยมของผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงอันตราย ตำรวจที่ปราบโจรผู้ร้าย ข้าราชการทหารแนวหน้าชายแดนที่ปกป้องแผ่นดินไทย เอาชีวิตเข้าแลกกับศัตรูเสี้ยนหนามแผ่นดินควรได้หาติดตัวไว้ ว่านนี้มีอานุภาพเฉพาะสุจริตชนเท่านั้น มิจฉาชีพ ทรชน ผู้ประพฤติผิดกฎหมายผิดศีลธรรมนั้นอานุภาพของว่านหาได้คุ้มครองไม่มีของดีผู้ที่เป็นเจ้าของนั้นจะต้องเป็นคนดีด้วย อันของดีนั้นจึงจะคุ้มครอง และศักดิ์สิทธิ์

สีผึ้งมหาปราบ มีพุทธคุณเน้นไปทางด้าน คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม เสริม อำนาจ บารมี เวลาเข้าในที่คับขัน เผชิญหน้ากับศัตรู ด้วยจิตอันสงบและมั่นคงแล้วจะมีพุทธคุณคุ้มครองครอบจักรวาล หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีพุทธคุณครบทุกด้าน เช่น เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ป้องกันภัย มหาเสน่ห์ มหาอุด รวมทั้งไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีก หนุนดวงเสริมดวง มีคุณด้านมหาปราบ ปราบสิ่งเลวร้ายขจัดทำลาย อุปสรรค ป้องกันภัยอันตรายได้สารพัด วิเศษนักแล
และพุทธคุณในด้านเมตตามหาเสน่ห์ โภคทรัพย์ เรียกทรัพย์ มหาระงับ ครบทุกด้าน เมตตา แคล้วคลาด โภคทรัพย์ ประกอบพิธีกรรมเฉพาะทางสายครูธรรมตามสูตรโบราณกาล

อานุภาพแห่งว่านมงคล 108 ชนิด
ตามตำราโบราณ
 1.ว่านตระกูลกวัก  ซึ่ง บันทึกไว้ในตำราสมุดข่อยโบราณ กล่าวไว้ว่ามีอานุภาพทางด้านโชคลาภ เมตตามหานิยม ดีทางโภคทรัพย์ เป็นสิริมงคลต่อผู้ครอบครอง ประกอบด้วย ว่านกวักพระพุทธเจ้าหลวง ว่านกวักนางพญาใหญ่ ว่านกวักนางพญาเล็ก หรือ ว่านกวักนางพญามหาเศรษฐี ว่านกวักมาคาวดี หรือ ว่านมหาโชค ว่านกวักหงสาวดี ว่านกวักแม่จันทร์ ว่านกวักโพธิ์เงิน ว่านกวักทองใบ ว่านกวักเงิน กวักทอง ว่านกวักเศรษฐีพญาบดินทร์ ว่านกวักนางพญาเผือก โดยเฉพาะว่านกวักนางพญา ถือกันว่า เป็นว่าน ที่มีตระกูลสูงส่งผลทางด้านอำนาจราชศักดิ์ เรียกอีกอย่างว่า ว่านทรงยศ ทรงเกียรติ เป็นสง่าราศีแก่ผู้พบเห็น
 2.ว่านตระกูลเสน่ห์จันทร์  ประกอบ ด้วย เสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์ เสน่ห์จันทร์ขาว เสน่ห์จันทร์แดง เสน่ห์จันทร์เขียว เสน่ห์จันทร์หอม เสน่ห์จันทร์ทอง อานุภาพของว่านตระกูลเสน่ห์จันทร์ จะเด่นทางด้านเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นที่รักเมตตาแก่ผู้พบเห็น โบราณใช้ทำนางกวัก ค้าขายดี มีโชคลาภ
3.ว่านตระกูลเศรษฐี เป็น ว่านที่บ่งบอกในตัวเอง อานุภาพให้คุณทางด้านลาภผล เงินทอง โบราณกล่าวว่า ผู้ใดได้ครอบครอง จะเจริญด้วยฐานะ บริบูรณ์ ด้วย โภคทรัพย์ ข้าทาสบริวาร จัดเป็นตระกูลว่านที่นิยม อย่างยิ่ง โบราณมักจะนำมาปลูกในกระถางที่มีค่า เช่น กระถางลายคราม  ดังนั้น จึงเป็นว่านตระกูลสูงอีกประเภทหนึ่งมีดังนี้ ว่านเศรษฐีเรือนนอก ว่านเศรษฐีเรือนใน ว่านเศรษฐีขอด (กอบ ทรัพย์) ว่านเศรษฐีด่าง ว่านเศรษฐีมงคล ว่านมหาเศรษฐี ว่านเศรษฐีจีน ว่านเศรษฐีญวน ว่านเศรษฐีแขก ว่านเศรษฐีใบพาย ว่านเศรษฐีใบโพธิ์ ว่านเศรษฐีเรือนใหญ่ ว่านเศรษฐีเรือนแก้ว
4.ว่านโกเมน อานุภาพทางด้านเมตตามหานิยม มีโชคลาภ
5.ว่านหม่องเล ว่านนี้ตามตำราพม่ากล่าวว่า มีอานุภาพ เรียกเงินเรียกทองเข้าบ้าน เรียกมิตรมาหาร้านค้าขาย ควรมีว่านชนิดนี้ไว้ครอบครอง
6.ว่านไก่กุก อานุภาพ ทางเสน่ห์เมตตานิยม ซึ่งว่านนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ผู้สร้างพระสมเด็จอันลือชื่อก็ได้ใช้ว่านนี้เป็นส่วนผสมในพระสมเด็จวัดระฆัง ที่ท่านสร้างด้วย
7.ว่านไก่ฟ้าพญาแล อานุภาพทางด้านเมตตามหานิยม
8.ว่านกำแพงเจ็ดชั้น  มีอานุภาพทางด้านคุ้มครอง ป้องกันภัย กันและแก้ คุณไสยภูตผีปีศาจ สิ่งอัปมงคลทั้งปวงไม่ให้กล้ำกราย
9.ว่านกระแจะจันทร์หงสา มีอานุภาพทางเสน่ห์เมตตา นิยม เป็นที่รัก เมตตาแก่ผู้พบเห็น
10.ว่านคุ้มรจนา มีอานุภาพคุ้มครองปกป้องเคหสถาน บ้านเรือนให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
11.ว่านเครือสาวหลง เป็น ว่านพิเศษที่มีลักษณะฝอยๆ ไม่มีลำต้น ไม่มีใบ จะเกาะอยู่ตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าลึก มีกลิ่นหอมตลอดเวลา มีอานุภาพทางด้านเมตตามหานิยมสูงมาก ซึ่งว่านนี้พระเทพรัตนกวี เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุได้ให้พวกที่หาของป่า และนำมาวางขายในวัดช่วงงานประจำปี ไปหามาจากป่าลึกทางภาคเหนือ
12.ว่านเงินไหลมา มีอานุภาพเรียกเงินทองให้เข้ามาสู่เคหะสถาน บ้านเรือน ทั้งยังคุ้มครองปกป้อง เป็นว่านนิยมมากของคนไทย
13.ว่านเงาะถอดรูป มี อิทธิฤทธิ์เมตตามหานิยม เป็นที่รักเมตตาแก่ผู้พบเห็น ดีทางค้าขาย ประดุจเงาะถอดรูป ใครเห็นใครก็รัก แล้วยังมีอานุภาพเรียกลูกค้าเข้ามาสู่ร้านค้าอีกด้วย
14.ว่านช้างพลาย มีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เป็นสง่าราศี ขับเสนียดจัญไร ศัตรูหมู่มาร เป็นเดชอำนาจบารมี
15.ว่านช้างดำ มีอานุภาพทางคุ้มครองป้องกัน เสมือนเกราะแก้ว คุ้มกัน และ ป้องกันไฟเวทย์มนต์คาถาทำอันตรายไม่ได้
16.ว่านญาณรังษี มีอานุภาพประดุจพทุธานุภาพแห่งพระพุทธองค์ หัวว่านนี้ มีลักษณะชั้นๆ 3 ชั้น คล้ายพระพุทธรูปประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์
17.ว่านถุงเงินถุงทอง มีอานุภาพทางด้านโภคทรัพย์ ประดุจถุงเงินถุงทอง ในเคหะสถานบ้านเรือนดีทางโชคลาภ และป้องกันคุณไสยต่างๆ
18.ว่านทองไหลมา เป็นว่านมงคลคู่กัยว่านเงินไหลมา อานุภาพให้ผู้ครอบครองมีโชคลาภอยู่เป็นนิจ
19.ว่านเทพรำพึง เป็นเอกทางด้านเมตตามหานิยม เป็นสิริมงคลแก่ผู้ครอบครอง
20.ว่านธรรมรักษา เป็นว่านสิริมงคล โน้มน้าวให้ประพฤติปฏิบัติ อยู่ในศีลธรรม ป้งอกันภัยพิบัติ
21.ว่านนางพญาหงษ์ทอง เป็นว่านทางเมตตามหานิยม เจรจาสิ่งใดจะเป็นที่พอใจถูกอัธยาศัยกับผู้ที่พบเห็น
22.ว่านนพมาศ เป็น ว่านเก่าแก่ครั้งกรุงสุโขทัย มีอานุภาพป้องกันเสนียจัญไร คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติ เป็นสิริมงคล พร้อมพรั่งทางด้านเมตตานิยม เป็นสง่าราศี
23.ว่านนเรศวร เป็นว่านที่ทรงอานุภาพ ด้านมหาอำนาจ ตบะเดชะ เป็นที่ยำเกรงต่อศัตรู หมู่มาร และ คุ้มครองปกป้องเป็นเลิศ
24.ว่านน้ำเต้าทอง เด่นทางเมตตา โชคลาภ ทั้งยังมีคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพัน
25.ว่านปัดตลอด อานุภาพทางด้านแคล้วคลาด ปราศจาก อุปสรรค
26.ว่านปัญจเศวตร มีอานุภาพด้านคุ้มครอง ปกป้องเป็นตบะบารมี
27.ว่านประกายเพชร ดีทางโชคลาภ เป็นเสน่ห์มหานิยม เจริญด้วยโภคทรัพย์
28.ว่านพญาหัวเสือ เด่นทางด้านอำนาจราชศักดิ์ เป็นตบะเดชะ นะจังงัง และ คงกระพันชาตรี
29.ว่านพญากาเผือก เป็นว่านที่ดีทางเรียกโชค เรียกลาภ เด่านเป็นสง่า คือ เมตตาหานิยม
30.ว่านเพชรกลับดำ อานุภาพเด่นทางแคล้วคลาด ปกป้องจากสิ่งอัปมงคล ไปที่ใดปราศจากอันตราย และกลับถึงเคหะสถานได้เป็นอัศจรรย์
31.ว่านเพชรหลีก ดีทางแคล้วคลาดจากภยันตราย ศาตราวุธ ทั้งปวง
32.ว่านมหาอุตม์ มีอานุภาพทางด้านคงกระพันชาตรี เป็นว่านเก่าโบราณ
33.ว่านมหาหงษ์แดง เป็นว่านที่มีสิริมงคล คนโบราณมักพกพากับตัวเวลาเข้าหาเจ้านาย ว่ากันว่าเป็นเสน่ห์มหานิยมยิ่งนัก
34.ว่านมงคลชัย เป็นว่านที่มีสิริมงคลตามชื่อว่าน ศัตรูหมู่มารมิอยากเข้าใกล้ ก็ด้วยอานุภาพแห่งชัยมงคลของว่านนี้
35.ว่านวาสนาทางลาย เด่นทางโชคลาภวาสนา เจริญด้วยความสมบูรณ์พูนสุข
36.ว่านแววมยุรา เป็นว่านที่มีสรรพคุณทางเมตตามหานิยม นำโชคลาภเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือนผู้ครอบครอง
37.ว่านสาริกาลิ้นทอง มีอานุภาพทางเมตตามหานิยมโบราณใช้โขลกตำผสมกับสีผึ้งทาปาก เพื่อไปติดต่อเจรจาค้าขาย จะเป็นที่เมตตาและสำเร็จตามปรารถนา
38.ว่านกระทู้เจ็ดแบก เป็นว่านเด่นทางคงกระพันชาตรี นักรบโบราณมักใช้ว่านนี้ในการรพทัพจับศึก
39.ว่านกำบัง มีอานุภาพป้องกันสรรพภัย คุณไสยเวทย์วิทยาคมที่ประสงค์ร้าย และ แคล้วคลาดปราศจากเหตุร้าย
40.ว่านกงจักรพระอินทร์ เป็นว่านดีทางอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยมเป็นอำนาจป้องปราบ ข้าศึกศัตรู
41.ว่านขมิ้นขาวปัดตลอด ว่าน นี้อยู่ที่ใดก็นำความเจริญ มาสู่ที่นั่น ทั้งยังนำโชคลาภความเจริญ ความมีเมตตามหานิยม และความร่มเย็นเป็นสุขมั่งคั่ง สมบูรณ์พูนผล เจริญในหน้าที่การงาน ว่านนี้พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว พระเกจิอาจารย์ ผู้สร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน อันโด่งดัง กล่าวไว้ว่า ว่านนี่เป็น “พญาว่าน” มีอานุภาพมาก ท่านเคยนำไปสร้างพระหลวงพ่อทวด เนื้อขมิ้นขาว ปัจจุบันองค์ละหลายหมื่นบาท
42.ว่านค้ำคูณ เป็นว่านดีทางเมตตามหานิยมแก่เคหสถาน บ้านเรือน ค้ำจุนชะตาชีวิต เพิ่มพูนพลัง
43.ว่านเพรชหน้าทั่ง เป็นว่านเสน่ห์มหานิยมและคงกระพันชาตรี
44.จ่าว่าน เป็นว่านอานุภาพสูง มีสรรพคุณคุมกำลังว่านต่างๆ ให้ทรงด้วยอานุภาพ ป้องกันเสนียดจัญไร พิษร้ายต่างๆ
45.ว่านจังงัง เป็นเมตตามหานิยม  เป็นที่รักใคร่เมตตาแก่ศัตรูหมู่มารทำให้ไม่กล้าคิดร้าย อำนาจของว่านจะทำให้ศัตรูเกิดจังงัง
46.ว่านดาบหลวง เป็นว่านที่มีอำนาจป้องกันฟ้าผ่า ป้องกันอันตรายแคล้วคลาดเป็นเยี่ยม เป็นตบะเดชะและเสน่ห์ มหานิยมแก่ผู้พบเห็น
47.ว่านฤษี ดีทางเสน่ห์มหานิยมยอดเยี่ยม เข้าหาเจ้านายดียิ่งนัก
48.ว่านถอนโมกขศักดิ์ ใช้ดีทางด้านแก้ถอนคุณไสย ยาเบื่อเมาทุกประเภท
49.ว่านเถาวัลย์หลง ดีทางเจรจาพาที เป็นที่เมตตามหานิยม กลับจากโกรธเป็นรักเมตตา เปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดี
50.ว่านเทพรัญจวน ให้ในทางเมตตามหานิยม เป็นที่รัก เมตตาต่อผู้พบเห็น
51.ว่านนางล้อม เป็นว่านมหามงคล ป้องกันสรรพสัตว์ทั้งปวง และศัตรูหมู่มาร เมื่อเกิดเรื่องราวใด จะได้รับชัยชนะเสมอ
52.ว่านนางคุ้ม ป้องกันไฟ และคุ้มกันภยันตรายต่างๆ โบราณกล่าวว่า ว่านนางคุ้มมีไว้คุ้มครองบ้านเรือน เสมือนมีเกราะเพชรไว้ป้องกันภัยถึง 7 ชั้น
53.ว่านปลาไหลม่วง เป็นว่านแก้คุณไสย ลมเพลมพัด กันอัปมงคลต่างๆ
54.ว่านเพ็ชรนารายณ์ เป็นว่านตระกูลสูง มีอำนาจตบะเดชะ เพิ่มพูนบารมีและเจริญด้วยยศถาบรรดาศักดิ์
55.ว่านเพ็ชรกลับ ว่าน นี้มีอานุภาพอยู่ยงคงกระพัน เป็นว่านป้องกันการถูกคุณไสยและแก้อาถรรพ์ ป้องกันอุบัติเหตุ เป็นมงคลแก้วคุ้มครองป้องกันทั้งไปและกลับ ปราศจากอันตราย
56.ว่านพัดโบก เป็นว่านมหามงคลสูงพร้อมด้วยเมตตา มหานิยม โบราณว่าว่านนี้อยู่บ้านใดจะได้ลาภมหาศาล นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่บ้านเรือน
57.ว่านไพรปลุกเสก อานุภาพเกิดลาภผล ความอุดมสมบูรณ์พูนสุขเจริญรุ่งเรือง ทั้งยังแก้คุณไสย ขับภูติ ผี ปีศาจ
58.ว่านพุทธกัวก ว่านนี้ดีทางเมตตาและทางการค้า เป็นสิริมงคลแก่สถานที่และผู้ครอบครอง
59.ว่านนางพญาห้าร้อย มีสรรพคุณทางเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นที่ชื่นชอบในหมู่ชน
60.ว่านพญาจงอาง อานุภาพด้านกันงูและสัตว์มีพิษ ตลอดจนสรรพภัยทุกชนิดไม่ให้กล้ำกลาย
61.ว่านพระฉิม เป็นสิริมงคล อุดมด้วยโภคทรัพย์และคงกระพันชาตรี
62.ว่านพะตะบะ ใช้กันภูติ ผี ปีศาจ มีอานภาพสูงมาก วิญญาณต่างๆ จะไม่เข้าใกล้ แต่เทพยดาอารักษ์จะรู้จักว่านชนิดนี้ดี
63.ว่านพรายแก้ว เป็นว่านคงกระพันชาตรี เป็นเสน่ห์มหานิยมสำหรับร้านค้าขาย
64.ว่านมหานิยม ตรงตามชื่อ เป็นเมตตามหานิยม สิริมงคล ต่อผู้ครอบครอง
65.ว่านแม่ทัพ มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี เพิ่มพูนตบะเดชะ อำนาจบารมี
66.ว่านมหาเมฆ เป็นว่านนิยมมาตั้งแต่โบราณ ดีทางคลกระพันชาตรี เป็นตบะเดชะ
67.ว่านมหาปราบ สรรพคุณดีทางฤทธิ์และอำนาจ อยู่ยงคงกระพัน ป้องกัน ภูติ ผี ปีศาจ ได้ดียิ่งนัก
 68.ว่านมรกต ดีทางคงกระพันชาตรี เป็นตบะเดชะ
69.ว่านมหาเสน่ห์ อานุภาพดีทางเสน่ห์มหานิยม เป็นว่านมีอานุภาพชั้นสูง ดึงดูดจิตใจผู้คนใช้ทางค้าขาย มีสรรพคุณเป็นเลิศ
70.ว่านมหาอุดม เป็นว่านมหานิยมสูงมาก เป็นที่รักใคร่ เมตตาแก่ผู้ที่พบเห็น
71.ว่านมหาจักรพรรดิ ใช้ดีทางเมตตามหานิยม มีอิทธิฤทธิ์ทางคุ้มครองเคหสถานบ้านเรือน ป้องกันเสนียดจัญไร อีกชื่อคือ ว่านอรหันต์แปดทิศ
72.ว่านมหากวัก อานุภาพ สิริมงคล ส่งเสริมกิจการธุรกิจการค้าและเจริญก้าวหน้า เข้าเจรจากับผู้ใหญ่เป็นที่รักของผู้คนโบราณเอาว่านนี้ แช่น้ำมนต์ประพรมร้านค้า จะค้าขายดีมาก
73.ว่านรางจืดเถา มีอานุภาพทางถอนพิษ ถอนยาสั่งโบราณว่าว่านนี้มีค่า 5,000 ตำลึงทอง ดังนั้นต้องเป็นว่านที่ไม่ธรรมดา
74.ว่านภควัมบดี มีอานุภาพเป็นศรีสง่า สิริมงคลนำโชคลาภบันดาลให้เจริญด้วยโภคทรัพย์ มีความอุดมสมบูรณ์และอยู่เย็นเป็นสุข
75.ว่านศรนารายณ์ มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี และเมตตามหามงคล
76.ว่านสามพันตึง มีอานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี ต่อศัตราวุธทั้งปวง
77.ว่านสามกษัตริย์ เป็นเมตตามหานิยมรักใคร่และความเจริญรุ่งเรือง
78.ว่านสาวหลง เป็น ว่านที่ทรงคุณค่าทางด้านเมตตามหานิยมอย่างสูงสุด โบราณกล่าวว่า ว่านนี้ไม่เป็นเสนียดจัญไร มีอานุภาพสูงล้ำเกิดเสน่ห์เมตตาเจรจากับใครไม่มีรังเกียจ ทั้งยังเป็นว่านที่ดีทางโภคทรัพย์พกไว้ เงินจะไม่ขาดกระเป๋า
79.ว่านเหล็กไหล ดีทางด้านคงกระพันชาตรี มีตบะเดชะ
80.ว่านพัดแม่ชี มีอานุภาพสูงทางด้านปัดเป่าสิ่งอัปมงคล ป้องกันอำนาจคุณไสย และผู้ที่คิดร้าย ว่านี้ใช้ถอนคุณไสยได้
81.ว่านอุมาวดี มีอานุภาพบันดาลให้ประสบโชคลาภ ความร่มเย็นเป็นสุข
82.ว่านกวักพระพรหม เป็น ว่านที่มีอานุภาพสูง นำโชคลาภความร่มเย็น เป็นสุขมาสู่เคหสถานบ้านเรือน เจริญรุ่งเรืองและคุ้มครอง ป้องกันภัยอันตรายได้อย่างดีเยี่ยม
83.ว่านกระบี่ทอง มีสรรพคุณทางคงกะพันชาตรี
84.ว่านกุมารทอง มีสรรพคุณทางด้านคงกระพันชาตรี ค้าขายดี มีกำไรเป็นสิริมงคลทั้งยังมีอำนาจ มีเทวดารักษาคุ้มครอง
85.ว่านกาสัก มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย
86.ว่านกบ เป็นว่านมีเทพรักษา มีอานุภาพทางด้านคงกระพันชาตรี ป้องกัน ไม่ให้ภัยพิบัติมาแผ้วพาล
87.ว่านขมิ้นขาวเสน่ห์ ดีทางด้านเมตตามหานิยม ทั้งยังเป็นเมตตามหานิยม
88.ว่านเขียวพันปี ให้คุณทางด้านเมตตามหานิยม
89.ว่านพระยาค่าง ให้คุณทางด้านคงกระพันชาตรี
90.ว่านเฉลิม ตำราว่านกล่าวว่า ว่านนี้ดีทางเมตตามหานิยม คนเห็นคนรักคนชอบ
91.ว่านเณรแก้ว เป็นเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี
92.ว่านรางเงิน เป็นสิริมงคลและเมตตามหานิยมโชคลาภ
93.ว่านรางทอง เป็นสิริมงคลและเมตตามหานิยมโชคลาภ
94.ว่านรางนาค เป็นสิริมงคลและเมตตามหานิยมโชคลาภ
95.ว่านสิทธิโชค เป็นว่านที่มากด้วยสรรพคุณทางเมตตามหานิยม ทำให้ประสบโชคลาภ
96.ว่านแสนนางล้อม เป็นว่านที่มีสิริมงคลและป้องกันอัคคีภัยได้
97.ว่านเสือสามทุ่ง มีอานุภาพทางด้านบารมี ปกป้อง คุ้มครองเป็นตบะเดชะอำนาจ
98.ว่านปู่โสมเฝ้าทรัพย์ มีอำนาจเดชบารมี อยู่ที่ใดมักมีทรัพย์สมบัติมิได้ขาด
99.ว่านแสงอาทิตย์ มีอิทธิฤทธิ์อำนาจ ความร่มเย็นเป็นสุข
100.ว่านสบู่เหล็ก มีสรรพคุณทางคงกระพันชาตรี
101.ว่านหอมดำ เป็นว่านมีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี
102.ว่านหางเสือ มีอานุภาพทางด้านป้องกัน ภูติ ผี ปีศาจ และคุณไสยต่างๆ
103.ว่านพญาหงส์เงิน ดีทางด้านเมตตามหานิยมและเดชอำนาจ
104.ว่านลิ้นกระทิงลาย ดีทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี ป้องกันอันตรายจากหมู่มาร
105.ว่านกลิ้งกลางดง มีสรรพคุณทางด้านคงกระพันชาตรี
106.ว่านสบู่เลือด ดีทางด้านคงกระพันชาตรี โบราณนิยมมาสร้างพระ เช่น พระผงน้ำมัน วัดชนะสงคราม
107.ว่านท้าวชมพู ดีทางคงกระพันชาตรี
108.ว่านชมพูหนังแห้ง ดีทางคงกระพันชาตรีป้องกันศัตราวุธ เป็นว่านที่ดีมาก
2  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 10 ธันวาคม 2566, 09:14:24
อุ อะ สิ อิ
อุ    มาจาก พระคาถาหัวใจเสริมดวงโชคลาภ    อุเย อะเย อุอากะสะ
อะ    มาจาก พระคาถาหัวใจพุทธคุณ       อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ
สิ   มาจาก พระคาถาหัวใจพระนิพาน       สิวังพุทธัง
อิ   มาจาก พระคาถาหัวใจพระรัตนตรัย   อิสะวาสุ
3  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 24 สิงหาคม 2566, 21:16:16
จุดเริ่มต้นการรับอิทธิพลอถรรพเวท
อิทธิพลของอถรรพเวทในศาสนาพุทธจนมาถึงการสืบทอดอถรรพเวทสายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม) เวทย์มนตร์คาถาได้เกิดมาแล้วก่อนศาสนาพุทธซึ่งเราได้พบในคัมภีร์อถรรพเวท อันเป็นต้นกำเนิดของเวทมนตร์ทั้งหลาย หรือเกิดก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นความเชื่อของชนดั้งเดิม ของอินเดียในพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์ยึดมั่นอยู่ในสิ่งนี้เพราะถือว่าเป็นเดรัจฉานวิชา และไม่ได้เป็นหนทางนำไปสู่นิพพาน มีการห้ามในพระวินัยบัญญัติไม่ให้พระสาวกอวดอุตริมนุษยธรรมหลอกลวงแสดงอิทธิฤทธิ์แข่งขัน    กับลัทธิอื่น แต่ถึงกระนั้นก็มีเหตุการณ์หลายครั้งที่นำไปสู่สิ่งที่เชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับเวทย์มนตร์ เช่น ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์มีพระภิกษุถูกงูกัด ถึงแก่มรณภาพ พระพุทธเจ้าให้พระภิกษุมีเมตตาในงูเพื่อเป็นการป้องกันตนเองโดยการสวด ขันธปริตต์หรืออหิราชปริตต์ ให้พระภิกษุสวดมนตร์ให้เทวดา ภูตผีศาจที่มารบกวนให้รักใคร่ด้วยการสวด กรณียเมตตปริตต์ ทรงสวดให้พระมหาสาวกฟังบ้างเมื่อเกิดอาพาธ และให้    พระสาวกสวดถวายให้ทรงสดับบ้าง เช่น โพชฌงคปริตต์ เหตุการณ์เหล่านี้เอง ที่ทำให้เราเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของเวทย์มนตร์ในพุทธศาสนา
ในบรรดาเวทมนตร์ทั้งหลายที่ถือกันว่าเป็นมนต์ขลังและศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา สามารถขจัดปัดเป่าภยันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติ จากภูตผี จากมนุษย์ จากสัตว์ร้าย ความชั่วร้ายทั้งหลาย และสิ่งที่ไม่เป็นมงคลทั้งหลาย และให้ความสุข ความพ้นทุกข์ ความมีชัย ก็คือ พระปริตต์ มีสัตตปริตต์ (เจ็ดตำนาน) และทวาทสปริตต์ (สิบสองตำนาน) เชื่อกันว่าพระปริตต์มาจากคำว่า รักษ์มนตร์ในอถรรพเวท มีการใช้คำใหม่ในพุทธศาสนา พระปริตต์ที่เก่าที่สุดซึ่งแต่งในพุทธศตวรรษที่ 5 มี 6 ปริตต์ ขันธปริตต์ (รัตนสูตร) สุวัตถิปริตต์ โมรปริตต์ ธชัคคปริตต์ อาฏานาฏิยปริตต์ องคุลิมาลปริตต์
ในพุทธศตวรรษที่ 10 ท่านพุทธโฆษาจารย์ได้อ้างถึงพระปริตต์ว่ามี 5 คือ รัตน ปริตต์ ขันธปริตต์ ธชัคคปริตต์ อาฏานาฏิยปริตต์ โมรปริตต์ ในปฐมสมันตปาสาทิกา มี 6 รตนปริตต์ เมตตปริตต์ ขันธปริตต์ ธชัคคปริตต์ อาฏานาฏิยปริตต์ และโมรปริตต์ การใช้พระปริตต์เกิดขึ้นเมื่อเกิดทุพภิกขภัยและโรคระบาด     ในลังกา ในสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 ผู้ปกครองเมืองลังกา (พ.ศ. 911 -953) ทรงให้หล่อพระพุทธรูปปาง     อุ้มบาตร และให้นำน้ำมาใส่ ให้พระภิกษุสวดรตนสูตร แล้วพรมน้ำพระพุทธมนต์ไปตามถนน เกิดฝนห่าใหญ่ตกลงทำให้ความวิบัติจากโรคภัย และทุพภิขภัยหายไป
ทั้งหมดที่กล่าวอ้างมานี้ เป็นจุดเริ่มต้นของอถรรพเวทในศาสนาพุทธจนมาถึงการสืบทอดอถรรพเวทสายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม)

การเข้ามาของศาสนา
คาดว่าศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศลาวเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 โดยผ่านมาทางมอญและได้แพร่หลายไปจนทั่วประเทศในราวพุทธศตวรรษที่ 19 กษัตริย์ลาวทรงให้การสนับสนุนพุทธศาสนา ในอดีตพระสงฆ์ในลาวมีบทบาทด้านการให้การศึกษาแก่ประชาชน  สมัยอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ในช่วงปลาย                 พุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 พื้นที่ราบลุ่มน้ำโมงตอนกลางในเขตอำเภอบ้านผือยังพบศิลาจารึกอักษรไทยน้อย พ.ศ.2134 ที่วัดธาตุอุปสมาราม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ ซึ่งระบุชื่อขุนนางว่า          “ศรีพุมเวียงจันทน์” ด้วย  ทำให้สันนิษฐานว่าบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโมงตอนกลางเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณ   เมืองพาน และถือเป็นชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ที่น่าจะเกิดพัฒนาการความเป็นบ้านเป็นเมืองขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22จากการที่ได้ย้ายศูนย์กลาง
การปกครองและเคลื่อนย้ายผู้คนครั้งใหญ่ในอาณาจักรล้านช้างชุมชนโบราณเมืองพานน่าจะเป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีกำแพงเมืองหรือคูน้ำคันดินล้อมรอบ ศูนย์กลางของเมืองสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่บริเวณบ้านเมืองพานและบ้านกาลึม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
หลังจากช่วงสมัยทวารวดีและเขมรผ่านไป ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 22– 23 วัฒนธรรมล้านช้าง ได้แพร่เข้ามาที่ภูพระบาท พบหลักฐานเป็นพระพุทธรูปเช่น  พระพุทธรูปที่ถ้ำพระเสี่ยง ส่วนด้านสถาปัตยกรรมพบหลักฐานที่วัดลูกเขย
สันนิษฐานว่า เชื้อสายดั่งเดิมของพระครูลืมบอง เป็นคนเชื้อสายมอญ ได้อพยพมาพำนักอยู่      ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านเป็นพระเถระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและศึกษาวิปัสสนาธุระ  เป็นประจำ อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญในเวทมนต์ คาถาอาคมรวมถึง ไสยศาสตร์จนเป็นที่เคารพแก่เจ้าเมือง      โพพันลำ ถึงขนาดเจ้าเมืองอาราธนาท่านไปดูแลเมืองพานแทน ด้วยความเก่งกล้าและความสามารถของท่านรูปนี้ จึงได้สมญานามว่า (ญาคูเสือ) จากชาวบ้านเมืองโพพันลำ มอญเป็นชนชาติเก่าแก่ มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จากพงศาวดารพม่ากล่าวว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสะโตง ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีนและอินเดียเรียกว่า      "ดินแดนสุวรรณภูมิ"  
พระครูลืมบอง จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าท่านได้รับการศึกษาจากคัมภีร์วิเศษที่มีการสอนกันอย่างแพร่หลายในอาณาจักรมอญ เป็นคัมภีร์อถรรพเวทที่ได้รับการสืบทอดเป็นพระเวทย์ วิชาอาคมธรรมะธาตุ   การปฏิบัติกรรมฐาน ท่านเดินจาริกไปที่ต่างๆ จนสำเร็จวิชาในที่สุด คัมภีร์อถรรพเวทเป็นการเผยแพร่มาจากประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีพระภิกษุชาวอินเดีย โดยการนำของพระสมณทูตชาวอินเดียมาเผยแผ่ ในคราวที่พระเจ้ากนิษกะมหาราช ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 4 ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง
ต่อมาชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย    สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว                     สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง       (ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและไทดำ (ปัจจุบันนิยมเรียกว่าไทยทรงดำ หรือ ลาวโซ่ง) มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวไทดำและลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย
ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อทรงหลบราชภัยจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ที่ยกทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบางได้ ก็ใช้เส้นทางจากเวียงจันทน์เข้าศรีเชียงใหม่ โพธิ์ตาก บ้านผือ และไปหลบซ่อนส้อมสุมกำลังพลที่สุวรรณคูหา ขอให้ดูลักษณะศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป เสมา การจำหลัก        เจดีย์ต่างๆ และยังปรากฏจารึกที่เป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างดีว่า พระองค์ทรงประกาศกัลปนาที่บริเวณ      วัดถ้ำถวายแด่พระศาสนา การหลบลี้หนีพระราชภัยของ พระวอ พระตา ที่หลบหนีพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ก็อาศัยเส้นทางจากศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ มาบ้านผือ และเข้าไปตั้งชุมชนอยู่ที่หนองบัวลำภู         หรือนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน เมื่อพระตาเสียชีวิตในการรบ พระวอจึงหนีไปอยู่ที่ดอนมดแดง อุบลราชธานี และถูกฆ่าที่ดอนมดแดง เป็นเหตุให้เจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ และได้เวียงจันทน์ไว้ในอำนาจแต่นั้นมา


4  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 14 สิงหาคม 2566, 12:15:47
พระครูลืมบอง หรือ ญาคูลืมคบไฟ

...วัดโพพันลำหรือวัดภูพันลืม ปัจจุบันวัดดังกล่าว คือบริเวณดอนปู่ตาประจำหมู่บ้านกาลืม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ 2189 ท่านเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือ ญาครูขี้หอม เดินเป็นคนบ้านดงกืม เมืองอาดสะพังทองแขวงสะหวันนะเขต ครอบครัวได้อพยพมาอาศัยอยู่บ้านกาลืม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อท่านเจ้าราชครูหลวง มีอายุได้ 15 ปีท่านพระครูลืมบองได้บรรพชาเจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว)ทั้งนี้ท่านพระครูลืมบองนั้นมีศักดิ์เป็นญาติผู้ใหญ่ทางโยมบุพการีของท่านเจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว) และพระครูลืมบองได้ถ่ายทอดวิชาพระเวทย์คาถาอาคม ที่เป็นยอดวิชาธรรมะธาตุ และวิชาต่างๆ ท่านเจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว) จนหมดทุกอย่าง ด้วยความฉลาดของท่านเจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว) จึงสามารถศึกษาจากพระครูลืมบอง ได้จนหมดเปลือก ต่อมาพระครูลืมบองไม่มีอะไรจะสอน จึงได้บอกให้เจ้าราชครูหลวงเป็นสามเณร(จัว) เดินทางไปฝากตัวศึกษาต่อกับพระครูยอดแก้ว    
...จากตำนานท้องถิ่นเล่ากันว่าท่านพระครูลืมบองเป็นพระเถระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและศึกษาวิปัสสนาธุระเป็นประจำ อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญในเวทมนต์ คาถาอาคมรวมถึงไสยศาสตร์จนเป็นที่เคารพแก่เจ้าเมืองโพพันลำ ถึงขนาดเจ้าเมืองอาราธนาท่านพระครูลืมบองไปดูแลเมืองพานแทน ด้วยความเก่งกล้าและความสามารถของท่านพระครูลืมบอง
5  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 14 สิงหาคม 2566, 00:22:11
เหรียญ รุ่น เลื่อนสมณศักดิ์ ปี 2566

พระครูอัมพวันเขมากร (ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม)

จัดสร้าง 5 รายการ
1.เนื้อทองคำ 1 เหรียญ
2.เนื้อเงินลงยา 19 เหรียญ
3.เนื้อทองแดง 999 เหรียญ
4.จัดสร้างเป็นชุด 3 เหรียญ จำนวน 108 ชุด
   -เนื้อทองคำขาวลงยา 108 เหรียญ
   -เนื้อนวะ 108 เหรียญ
   -เนื้อทองเหลือง 108 เหรียญ

   สำหรับเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์รุ่นแรกนี้ ถือได้ว่าเป็นเหรียญที่ออกแบบมาได้อย่างสวยงามมีความคมชัดลึกได้มิติแห่งเหรียญพระพุทธ
องค์ประกอบต่างๆก็สื่อความหมายอันเป็นมหามงคลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ กล่าวคือ ด้านหน้าได้จำลองรูป “ พระครูอัมพวันเขมากร (ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม) ” พื้นหลังเป็นรูปแบบพัดยศ
ส่วนด้านหลังจะมีตรา สายธรรมอุตฺตโมบารมี
   จึงถือได้ว่าเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์นี้ เป็นเหรียญรุ่นแรก ด้วยความเชื่อที่ว่ารูปพัดยศ และ คำว่า “ เลื่อนสมณศักดิ์ ” ซึ่งล้วนแต่สื่อถึงความหมายอันเป็นมงคลยิ่งของการมีลาภ
ยศถาบรรดาศักดิ์ ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จะได้เป็นใหญ่เป็นโตต่อไปในภายภาคหน้า
   จัดสร้างเป็นที่ระลึกในคราวฉลองสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในปี พ.ศ.2566 หรือที่นิยมเรียกกันว่า "เหรียญเลื่อน" จัดได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในหมู่ข้าราชการ ยิ่งฤดูกาลแต่งตั้งเป็นต้องเสาะหามาบูชากัน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการแข่งขันดำรงตำแหน่งให้สูงยิ่งขึ้น เป็นเหรียญที่น่าบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
6  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2566, 00:12:58
ตะกรุดสามกษัตริย์ตันปืน ปี 2550

จำนวนการจัดสร้าง 9 ชุด ประกอบด้วย
- ตะกรุดสามกษัตริย์
- เศียรพ่อปู่ฤาษีรุ่น 3 พิเศษ
- เม็ดลูกประคำทุกชุด

อธิษฐานจิตโดย
ญาถ่านสำเร็จอ่อง ฐิตธัมโม
ญาถ่านสำเร็จจันทร์หอม สุภาทโร
ญาถ่านสำเร็จทา นาควัณโณ ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2
ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3
7  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2566, 22:54:48
ตะกรุดโทนแคว้นคลาดนวภา
ตะกรุดโทนสุริยะนวภาสามกษัตริย์
สร้างปี 2563

ตะกรุดโทนสุริยะนวภาสามกษัตริย์
จัดสร้าง 108 ดอก

ตะกรุดโทนแคว้นคลาดนวภา
จัดสร้าง 999 ดอก

ตะกรุดชุดนี้ได้อุดมวลสารศักดิ์สิทธิ์พันกว่าชนิด

อธิษฐานจิตโดย
ญาถ่านสำเร็จทา นาควัณโณ ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2
ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3
8  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 22 มิถุนายน 2566, 10:51:31
พระครูพรหมา ปรมาจารย์ใหญ่ผู้มอบตำราให้ปรมาจารย์ใหญ่ญ่าถ่านสำเร็จอุตฺตมะ
ข้อมูลที่มาจากคำบอกกล่าว
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือ พระเจ้าศิริบุญสาร เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 4 (พ.ศ. 2294 - พ.ศ. 2322) พระราชโอรสในเจ้าองค์ลอง, เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ. 2322
      องค์ที่ 4 พระเจ้านันทเสน เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 5 (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2337) พระราชโอรสในพระเจ้าศิริบุญสาร
      องค์ที่ 5 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4 หรือ พระเจ้าอินทวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 6 (พ.ศ. 2337 - พ.ศ. 2348) พระราชสมภพเมื่อใดไม่ปรากฏ และสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2348 ทรงเป็นพระราชอนุชาในพระเจ้านันทเสน, พระบรมอัยกาธิราชในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      ต่อมาพระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร
จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์
ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น
      ต่อมา วัดพระธาตุพนม จึงได้มีเจ้าอาวาสนาม องค์ที่ 6 พระครูพรหมา (เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4) ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พ.ศ. 2335 – 2410
      ต่อมาปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ได้ย้ายมาจากฝั่งขวาแม่น้ำโขง มาสร้างวัดสิงหาญ ราว พ.ศ.2345 โดยญาท่านอุตตะมะ (อุต) เป็นผู้ก่อตั้ง มีความเป็นมากล่าวคือ ญาถ่านอุตตะมะ ได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านใหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ ญาถ่านอุต ท่านจึงได้บอกว่าถ้าจะให้จำพรรษอยู่ที่บ้านสะพือนี้ ก็จะเอาพ่อแม่มาด้วย ชาวบ้านจึงได้ตกลง ท่านจึงอพยพครอบครัวมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสะพือ ชาวบ้านได้จัดสรรที่ทำมาหากินให้มีไร่นาสวนพออยู่พอกิน ส่วนญาถ่านอุตนั้นได้ตั้งสำนักสงฆ์ ขึ้นอยู่ที่ป่าทางทิศให้ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อ "วัดศรีสุมัง"  ( ปัจจุบันได้ขุดเป็นสระน้ำสาธารณะ ชาวบ้านเรียก สระโนนวัด เพราะเคยเป็นวัดมาก่อน ) แต่ชาวบ้านเห็นว่าการนำภัตราหารเช้า,เพลไปถวายลำบาก เนื่องจากอยู่ไกลหมู่บ้าน จึงได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ที่ริมหมู่บ้านทางทิศใต้ (ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน) ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถาง สร้างกุฎิให้พระอยู่อาศัย ญาถ่านอุต จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2345 เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดสิงหาญ" จนถึงปัจจุบัน
9  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 20 มิถุนายน 2566, 15:50:41
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1
ประวัติจากคำบอกเล่าจากปากท่าน และชาวบ้าน

#ท่านผู้ส่งต่อ เกษา และอัฐิ #ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ วัดสนามชัย บ.นาหว้าน้อย อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ เกิดปี 2457 ศิษย์ผู้เป็นพี่ของหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร เจ้าอาวาสวัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
...หลวงปู่สว่างได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า สมัยนั้นท่านยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เล่าเรียนอาคมสายปู่สมเด็จลุน จึงมีโอกาสได้เจอกับศิษย์ผู้น้อง คือ หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร ต่อมาท่านปรมาจารย์ใหญ่ท่านอาจารย์สมเด็จตันที่ประสิทธิ์วิชา
ท่านเป็นเคยอุปถากหลวงปู่สมเด็จลุน จึงได้แบ่งเกษา อิฐิ บ้างส่วนให้หลวงปู่สว่างติดตัว ต่อมาหลวงปู่ท่านได้เดินทางข้ามมาฝั่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2513 มาอยู่ที่วัดสนามชัย หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ.2518 พี่น้องทางประเทศลาวจึงข้ามมาฝังไทยเป็นจำนวนมาก

การสืบทอดจนมาเป็นสายธรรมอุตฺตโมบารมี
1.องค์ต้นปรมาจารย์ใหญ่สมเด็จพระเจ้าสังฆราชาสัทธรรมโชตนาญาณวิเศษ (เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก) พ.ศ. 2174-2264
2.ปรมาจารย์ใหญ่พระครูพรหมา (เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4) ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พ.ศ. 2335 – ๒๔๑๐
3.ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ (อุปัชญาย์สำเด็จลุน มีศักดิ์เป็นหลวงอา และเป็นผู้ก่อตั้งสายอุตฺตมะอุตฺตโม ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น สายธรรมอุตฺตโมบารมี เริ่มไหว้ครูธรรมใหญ่ครั้งแรก ปี 2405) ท่านได้ธุดงค์เพื่อไปกราบพระธาตุพนม จากนั้นจึงเข้าไปกราบพระครูพรหมา เพื่อได้ขอศึกษาตำราใบลาน พ.ศ. 2345-2395
4.ปรมาจารย์ญาถานสมเด็จลุน พระผู้ทรงอภิญญาแห่งประเทศลาว พ.ศ.๒๓๗๙ – ๒๔๖๓
5.บรมครูใหญ่ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ  ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1 (ผู้รับมอบเกศา อัฐิ ตำราใบลานสำเร็จลุน จากญาถ่านสำเด็จตัน)พ.ศ.๒457-2553
6.บรมครูใหญ่ญาถ่านทา นาควัณโณ  ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 (ผู้สืบทอดจากญาถ่านตู๋ ผู้เป็นศิษย์ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ )พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน
7.บรมครูญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 พ.ศ. 2510 – ปัจจุบัน


ประวัติความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่
สายธรรมอุตฺตโมบารมี
     เดิม ศิษย์รุ่นแรกจะ เรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม ความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายอุตฺตมะอุตฺตโม ในทุกปีจะมีการทำพิธีกรรมไหว้ผีไท้หรือผีเชื่อสาย พร้อมกับพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่ที่ต้องจัดขึ้นทุกปี หลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่สำเร็จต้นบอกกับท่านว่า พิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่เท่าที่ท่านจำได้ว่า น่าจะเริ่มมีการจัดในสมัยที่ญาท่านอุตตะมะปฐมาจารย์ใหญ่ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน เจ้าอาวาส วัดสิงหาญ ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2345-2395 ก่อนท่านมรณะ 10 ปี ก็จะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2405 และเป็นช่วงของญาท่าน(สำเร็จ)สีดา เจ้าอาวาส พ.ศ.2395-2450 เพราะหลวงปู่สำเร็จต้นจำได้ว่าตรงกับวันสำคัญ คือ วันพระราชสมภพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ พ.ศ.2405 จะอยู่ในช่วงนี้ ดังนั้นการหาวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ปีนั้นจึงมีความง่ายมาก เพราะครูบาอาจารย์ได้ให้ลูกศิษย์ใช้ วันที่ขึ้น 3 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปีจัดพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ จึงสามารถสรุปวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ ทั้งแรกคือ วัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2405 ขึ้น ๓ ค่ำเดือนสาม(๓) ปีระกา นับจากนั้นมาจึงเริ่มมีการทำพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันปี 2563 มีอายุการประกอบพิธีกรรมมาแล้ว 158 ครั้ง

ต่อมา มีลูกศิษย์ได้จัดสร้างเหรียญหลวงปู่สว่าง เมื่อ 1 ธ.ค.51 จำนวน เหรียญ 500 เหรียญ
หลังจากนั้นหลวงปู่สว่างท่านป่วยหนักญาติพี่น้องลูกหลานจึงพาท่านกลับยังถิ่นฐานบ้านเกิดยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
แล้วท่านก็มรณะภาพ ที่วัดบ้านนาแก เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสุวรรณเขต รวมอายุได้ 96 ปี พรรษา 75

หลวงปู่สว่างก่อนที่จะล้มป่วย ท่านได้มอบเกษา และอัฐิ ให้กับปู่รินทอง หัวหน้าโรงเลื่อยบ้านนาสนาม ปู่รินทองคือบิดาของญาถานเบิ้ม ต่อมา
เกษา และอัฐิ #ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
จนมาถึงสายธรรมอุตฺตโมบารมี โดยมีหลักฐานพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเชื่อสายตรง ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดเวินไซ หรือศิษย์ที่ข้ามมาไทย
ท่านได้นำข้ามมายังประเทศไทย บ้างท่านได้แต่ผงอัฐิ บ้างท่านได้ เขี้ยวท่าน บ้างท่านได้ เกษา
และยิ่งมีเกิดความบังเอิญ ท่านที่ได้ครอบครอง ได้แบ่งให้บรมครูสายธรรมอุตฺตโมบารมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเสาหลักให้ศิษย์สายปรมาจารย์ได้กราบบูชาเป็นตัวแทน ...
10  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 19 มิถุนายน 2566, 16:23:55
ญาถ่านสำเร็จลุน ปรมาจารย์ผู้ถ่ายทอดสรรพวิชาสองฝั่งแม่น้ำโขง
ญาถ่านสำเร็จลุน ได้จาริกธุดงค์ ปฏิบัติสมณธรรมแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ ดังกล่าว ตามป่าเขา แนวฝั่งแม่น้ำโขงทั้งสองด้านจากจังหวัดอุบลราชธานีตลอดถึงนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองของไทย จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของผู้คนสองฝั่งโขงแถบนี้เป็นอย่างมากจนบางครั้งลือว่า ญาถ่านสำเร็จลุน เป็น “ผู้วิเศษ” มีฤทธาศักดาเดชเหาะเหินเดินอากาศได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านเป็น “ผู้รู้” หลายด้าน โดยเฉพาะเป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ฉันมื้อเดียวตลอดไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ และปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ ที่สำคัญคือเป็นผู้มี “มนต์” หรือ “คาถา” ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์หลายด้าน รวมทั้งตำรายาและเวทมนต์คาถาอื่น ๆ อีกมาก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น “ความเชื่อ” ของคนในยุคสมัยนั้นว่า สามารถช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัย ไข้เจ็บ ตลอดจนเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้หายจากความทุกข์ต่าง ๆ ได้
11  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 19 มิถุนายน 2566, 11:21:05
เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก : พระครูยอดแก้ว “ญาคูขี้หอม”

ใน ปี 2241 เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราช สวรรคตได้ 8 ปี ประเทศลาวที่กว้างใหญ่ไพศาลได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร เป็นอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก  โดยเฉพาะอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก มีความผูกพันกับพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก ซึ่งเป็นพระครูที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพศรัทธาสูงสุดของชาวลาวตอนล่าง จนได้รับฉายาว่า “พระครูขี้หอม” หรือ “ญาคูขี้หอม” ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสุดซึ้ง ส่งผลให้ผู้คนเก็บสิ่งของเครื่องใช้ของท่านพระครูมาบูชา แม้แต่อุจจาระของท่านก็ไม่รังเกียจ เนื่องจากพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กฉันอาหารมังสวิรัติประเภท เผือก มัน งา มะตูม จึงทำให้อุจจาระของท่านไม่มีกลิ่นเหม็น
“เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก” เกิด ณ บ้านกะลึม เมืองพาน (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี) ตรงกับรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองของกรุงศรีอยุธยา อันเป็นยุคเดียวกับพระอุปราชครองกรุงเวียงจันทน์ เจ้าราชครูได้บรรพชาศึกษาเล่าเรียนทางธรรมอย่างแตกฉานมาตั้งแต่อายุยังน้อย จนได้รับการสถาปนาเป็น “ซาจัว” หรือราชาเณร
ภายหลังการอุปสมบทแล้ว ได้มาประจำอยู่วัดโพนสะเม็ก ชานเมืองเวียงจันทน์ จนได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสมณศักดิ์เป็นเจ้าราชครูตั้งแต่ยังเป็นพระหนุ่ม จากพระเจ้าสุริยวงศา พระเจ้าแผ่นดิน แห่งกรุงเวียงจันทน์ แต่ประชาชนทั่วไปมักขนานนามว่า “พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก”
พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก เกี่ยวข้องผูกพันกับอาณาจักรจำปาสัก เมื่อครั้งลาวเกิดความแตกแยกจนถึงขั้นแบ่งแยกอาณาจักรล้านช้างออกเป็น 3 อาณาจักร ครั้นพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราช สิ้นพระชนม์ เกิดการแย่งชิงบัลลังก์ ระหว่างกลุ่มของเจ้าพระยาหลวงเมืองจัน กับกลุ่มของเจ้าชายองค์หล่อ ในที่สุดเจ้าพระยาหลวงเมืองจันสามารถยึดอำนาจได้ จึงสถาปนาตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ก็ยังมีกลุ่มต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยเกิดขึ้นอีกหลายกลุ่ม ที่พยายามแยกอำนาจเป็นอาณาจักรย่อยๆ ไม่ขึ้นต่อกัน
เมื่อครั้งเจ้าพระยาหลวงเมืองจัน สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ใน พ.ศ. 2237 ใช้อำนาจบังคับพระนางสุมังคลา ราชธิดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราช ซึ่งเป็นหม้ายและกำลังทรงพระครรภ์อยู่ อีกทั้งมีโอรสองค์หนึ่งชื่อ เจ้าองค์หล่อ รวมไปถึงการคิดจะกำจัดเจ้าองค์หล่อด้วย แต่อำมาตย์ที่จงรักภักดีได้พาเจ้าองค์หล่อหนีไปอยู่เมืองพานพูชุน ส่วนพระนางสุมังคลาหนีไปพึ่งพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก
ครั้นเจ้าพระยาหลวงเมืองจันทราบข่าว ก็คิดจะกำจัดพระครูยอดแก้วด้วย แต่ท่านพระครูรู้ตัวเสียก่อน จึงพานางสุมังคลาและญาติโยมประมาณ 3,000 คน หนีภัยจากเวียงจันทน์ ล่องแม่น้ำโขงลงสู่ภาคใต้ ฝ่ายเจ้าพระยาหลวงเมืองจันครองราชย์ได้ 6 เดือน ก็ถูกฝ่ายเจ้าองค์หล่อจับฆ่า แล้วอภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เจ้าองค์หล่อครองราชย์ได้ 4 ปี ก็ถูกเจ้านันทราชจับประหารชีวิต ใน พ.ศ. 2242 แล้วขึ้นครองราชย์แทน ส่วนเจ้านันทราชครองบัลลังก์ได้เพียง 2 ปี ก็ถูกเจ้าไชยองค์เว้จับประหารชีวิตอีก เจ้าไชยองค์เว้ก็ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 จากนั้นจึงแต่งตั้งเจ้าลองเป็นอุปราชขึ้นไปครองเมืองหลวงพระบาง
หลังจากพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กกับประชาชนอพยพลงใต้ตามลำน้ำโขง มาจนถึงเมืองนครพนม พระครูยอดแก้วและญาติโยมได้พากันบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ใน พ.ศ. 2233
หลังจากที่พระครูยอดแก้วโพนสะเม็กบูรณะพระธาตุพนมสำเร็จเรียบร้อย ใน พ.ศ. 2236 แล้ว ได้แบ่งครอบครัวจำนวนหนึ่งให้อยู่อุปัฏฐากพระบรมธาตุ ส่วนผู้คนที่เหลือนอกนั้นได้นำลงเรือลอยไปตามลำน้ำโขง จนล่วงเข้าสู่แดนเขมรในที่สุด
เมื่อฝ่ายเขมรทราบข่าว ก็ไม่อนุญาตให้คณะของพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กอยู่ในดินแดน พระครูยอดแก้วจึงต้องอพยพผู้คนกลับขึ้นมาพำนัก และสร้างชุมชนสำคัญหลายแห่งในบริเวณเกาะดอนกลางแม่น้ำโขง บริเวณที่เรียกว่า “สี่พันดอน” โดยเฉพาะ “ดอนโขง” พระครูยอดแก้วและชาวเวียงจันทน์ที่อพยพติดตามมานั้นได้พากันตั้งชุมชนอยู่ที่ “บ้านเมืองแสน” ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ อยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของดอนโขง เป็นหมู่บ้านท่าด่าน ทำการค้ากับเขมร  นอกจากนี้ ยังได้สร้าง “เมืองโขง” หรือ “เมืองสีทันดร” ในช่วงเวลาต่อมา ปัจจุบันเป็นเมืองศูนย์กลางของมหานทีสี่พันดอน
12  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 18 มิถุนายน 2566, 23:31:16
ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ผู้เป็นพระอาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน

ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของญาถ่านสำเร็จลุน ได้นำหลานชายชื่อลุน มาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย

ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ในราวปี 2335 ท่านได้ธุดงค์เพื่อไปกราบพระธาตุพนม จากนั้นจึงเข้าไปกราบพระครูพรหมา เพื่อได้ขอศึกษาตำราใบลาน ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนญาถ่านสำเร็จลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคำพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ ญาถ่านสำเร็จลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสำนักของใคร เป็นเวลากว่า 20 ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง กลับมาพร้อมชื่อเสียงหลายด้าน ทั้งการปฏิบัติธรรม คาถาอาคม เวทมนต์ ตำรายาและอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ มีคนเคารพนับถือจำนวนมากขึ้นจนเป็นที่เลื่องลือกันมากในขณะนั้น

วัดสิงหาญ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ประวัติวัด เป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2345 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พุทธศักราช 2395 มีพื้นที่ 6 ไร่ 2 งาน 91 ตารางวา มีพระเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านและประชาชนทั่วไปหลายรูป แต่เดิมวัดสิงหาญเป็นที่รก เต็มไปด้วยสัตว์มากมาย ปัจจุบันเป็นวัดที่เงียบสงบ

เจ้าอาวาสองค์แรก ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ  พ.ศ. 2390-2420

วัดสิงหาญสร้างราว พ.ศ.2345 โดยญาท่านอุตตะมะ (อุต) เป็นผู้ก่อตั้ง มีความเป็นมากล่าวคือ ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านใหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ ญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะ ท่านจึงได้บอกว่าถ้าจะให้จำพรรษอยู่ที่บ้านสะพือนี้ก็จะเอาพ่อแม่มาด้วย ชาวบ้านจึงได้ตกลง ท่านจึงอพยพครอบครัวมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่        
บ้านสะพือ ชาวบ้านได้จัดสรรที่ทำมาหากินให้มีไร่นาสวนพออยู่พอกิน ส่วนญาถ่านสำเร็จอุตฺตมะนั้นได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นอยู่ที่ป่าทางทิศให้ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อ "วัดศรีสุมัง"  ( ปัจจุบันได้ขุดเป็นสระน้ำสาธารณะ ชาวบ้านเรียก สระโนนวัด เพราะเคยเป็นวัดมาก่อน ) แต่ชาวบ้านเห็นว่าการนำภัตราหารเช้า,เพลไปถวายลำบาก เนื่องจากอยู่ไกลหมู่บ้าน จึงได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ที่ริมหมู่บ้านทางทิศใต้ (ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน) ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถาง สร้างกุฎิให้พระอยู่อาศัย ญาท่านอุต จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2345 เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดสิงหาญ" จนถึงปัจจุบัน
13  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 01 มิถุนายน 2566, 12:48:19
ปี 2566
14  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2566, 18:20:43
ครูธรรมอำพล พงสวัสดิ์
15  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 05 มีนาคม 2566, 10:33:39
จุดเริ่มต้นสายธรรมอุตฺตโมบารมี

      พระไชยเชษฐาธิราชที่ 2 หรือ พระไชยองค์เว้ ประสูติ พ.ศ.2228 เป็นพระราชโอรสของเจ้าชมพู ที่ถูกเนรเทศไปอยู่เมืองเว้
พระองค์ได้ครองราชย์สมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2245 ทรงตั้งให้เจ้าองค์ลอง พระอนุชาต่างบิดาเป็นอุปราชและไปครองเมืองหลวงพระบาง
และอัญเชิญพระบางมาประดิษฐานที่เวียงจันทน์
      ต่อมาใน พ.ศ. 2249 เจ้ากิ่งกิสราชซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าราชบุตร และเป็นหลานปู่ของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
ที่ลี้ภัยไปอยู่สิบสองปันนากับเครือญาติฝ่ายพระมารดา ได้ยกทัพลงมาตีเมืองหลวงพระบาง เจ้าลองสู้ไม่ได้ แตกพ่ายลงมาเวียงจันทน์
เจ้ากิ่งกิสราชยกทัพตามลงมาที่เวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 จึงขอกองทัพจากกรุงศรีอยุธยามาช่วย
      สมเด็จพระเพทราชา กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น ได้ยกทัพขึ้นมาและไกลเกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายประนีประนอมกัน
โดยให้แบ่งเขตแดนระหว่างหลวงพระบางกับเวียงจันทน์ ให้เจ้ากิ่งกิสราชครองหลวงพระบาง ให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 ครองเวียงจันทน์
ทั้งสองกษัตริย์ตกลงแบ่งเขตแดนกันโดยใช้แม่น้ำเหืองเป็นแดนทางฝั่งขวา ทางฝั่งซ้ายใช้เทือกเขาภูชนะคามเป็นเขตแดน
แคว้นสิบสองจุไทกับหัวพันห้าทั้งหกขึ้นกับหลวงพระบาง แคว้นเชียงขวางและแคว้นที่อยู่ใต้ลงมาให้ขึ้นกับเวียงจันทน์ การแบ่งเขตแดนนี้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2250
      หลังจากสิ้นสุดสงครามกับพระเจ้ากิ่งกิสราช พระองค์ได้เร่งปรับปรุงการปกครองหัวเมือง ส่งคนที่ไว้ใจได้ไปปกครองเมืองที่สำคัญ
ทำให้กลุ่มของ องค์ที่ 1 พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก ต้องอพยพลงใต้ไปหาที่มั่นใหม่ ในที่สุดได้ไปตั้งมั่นที่เมืองจำปาศักดิ์ และแยกตัวเป็นอิสระจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2256 ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมศึกษาเล่าเรียน
จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ในสมัยนั้นเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280
      ต่อมา พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 ครองราชย์จนถึง พ.ศ. 2273 จึงสิ้นพระชนม์ จากนั้น เจ้าลองพระอนุชาได้ขึ้นครองราชย์สืบแทน
      องค์ที่ 2 เจ้าองค์ลอง (สวรรคตใน พ.ศ. 2283) เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 2 (พ.ศ. 2273 – 2283) พระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
      องค์ที่ 3 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือ พระเจ้าศิริบุญสาร เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 4 (พ.ศ. 2294 - พ.ศ. 2322) พระราชโอรสในเจ้าองค์ลอง, เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ. 2322
      องค์ที่ 4 พระเจ้านันทเสน เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 5 (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2337) พระราชโอรสในพระเจ้าศิริบุญสาร
      องค์ที่ 5 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4 หรือ พระเจ้าอินทวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ลำดับที่ 6 (พ.ศ. 2337 - พ.ศ. 2348) พระราชสมภพเมื่อใดไม่ปรากฏ และสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2348 ทรงเป็นพระราชอนุชาในพระเจ้านันทเสน, พระบรมอัยกาธิราชในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      ต่อมาพระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร
จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์
ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น
      ต่อมา วัดพระธาตุพนม จึงได้มีเจ้าอาวาสนาม องค์ที่ 6 พระครูพรหมา (เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4) ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พ.ศ. 2335 – 2410
      หลังจากนั้น องค์ที่ 7 ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ในราวปี 2335 (อุปัชญาย์สำเด็จลุน มีศักดิ์เป็นหลวงอา และเป็นผู้ก่อตั้งสายอุตฺตมะอุตฺตโม ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น สายธรรมอุตฺตโมบารมี เริ่มไหว้ครูธรรมใหญ่ครั้งแรก ปี 2405) ท่านได้ธุดงค์เพื่อไปกราบพระธาตุพนม จากนั้นจึงเข้าไปกราบพระครูพรหมา เพื่อได้ขอศึกษาตำราใบลาน
      ต่อมาปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ได้ย้ายมาจากฝั่งขวาแม่น้ำโขง มาสร้างวัดสิงหาญ ราว พ.ศ.2345 โดยญาท่านอุตตะมะ (อุต) เป็นผู้ก่อตั้ง มีความเป็นมากล่าวคือ ญาถ่านอุตตะมะ ได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านใหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ ญาถ่านอุต ท่านจึงได้บอกว่าถ้าจะให้จำพรรษอยู่ที่บ้านสะพือนี้ ก็จะเอาพ่อแม่มาด้วย ชาวบ้านจึงได้ตกลง ท่านจึงอพยพครอบครัวมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสะพือ ชาวบ้านได้จัดสรรที่ทำมาหากินให้มีไร่นาสวนพออยู่พอกิน ส่วนญาถ่านอุตนั้นได้ตั้งสำนักสงฆ์ ขึ้นอยู่ที่ป่าทางทิศให้ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อ "วัดศรีสุมัง"  ( ปัจจุบันได้ขุดเป็นสระน้ำสาธารณะ ชาวบ้านเรียก สระโนนวัด เพราะเคยเป็นวัดมาก่อน ) แต่ชาวบ้านเห็นว่าการนำภัตราหารเช้า,เพลไปถวายลำบาก เนื่องจากอยู่ไกลหมู่บ้าน จึงได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ที่ริมหมู่บ้านทางทิศใต้ (ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน) ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถาง สร้างกุฎิให้พระอยู่อาศัย ญาถ่านอุต จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2345 เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดสิงหาญ" จนถึงปัจจุบัน
      หลังจากนั้นองค์ที่ 8 ปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็น หลวงอาของปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ได้นำหลานชายชื่อ ลุน มาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย
      ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ท่านปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการศึกษาตำราใบลาน จากพระครูพรหมา เจ้าอาวาสพระธาตุพนม องค์ที่ 4 ผู้เก็บรักษาตำราใบลานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด
     ต่อมาศิษย์รุ่นแรกจะ เรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม ความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายอุตฺตมะอุตฺตโม ในทุกปีจะมีการทำพิธีกรรมไหว้ผีไท้หรือผีเชื่อสาย พร้อมกับพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่ที่ต้องจัดขึ้นทุกปี ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ เล่าว่า ญาถ่านสำเร็จตัน บอกกับท่านว่า พิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่เท่าที่ท่านจำได้ว่า น่าจะเริ่มมีการจัดในสมัยที่ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน เจ้าอาวาส วัดสิงหาญ ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2345-2395 ก่อนท่านมรณะ 10 ปี ก็จะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2405 และเป็นช่วงของญาถ่าน(สำเร็จ)สีดา เจ้าอาวาส พ.ศ.2395-2450 เพราะญาถ่านสำเร็จตัน  จำได้ว่าตรงกับวันสำคัญ คือ วันพระราชสมภพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ พ.ศ.2405 จะอยู่ในช่วงนี้ ดังนั้นการหาวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ปีนั้นจึงมีความง่ายมาก เพราะครูบาอาจารย์ได้ให้ลูกศิษย์ใช้ วันที่ขึ้น 3 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปีจัดพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ จึงสามารถสรุปวันพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่ ทั้งแรกคือ วัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2405 ขึ้น ๓ ค่ำเดือนสาม(๓) ปีระกา นับจากนั้นมาจึงเริ่มมีการทำพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่อย่างเป็นทางการ
     ส่วนองค์ที่ 9 ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า สมัยนั้นท่านยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อไปฝากตัวเล่าเรียนอาคมกับปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ราวปี พ.ศ.2443 จึงมีโอกาสได้เจอกับหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร ผู้เป็นหลานของญาถ่านสำเร็จตัน  ต่อมาญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน หลังจากนั้นท่านจึงให้ญาถ่านสำเร็จตัน ทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยงดูแลการศึกษาตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม ต่างๆ ร่วมกับหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร จนศึกษาจบทุกอย่าง ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณจึงขอเดินทางออกธุดงไปยังที่ต่างๆ
     หลังจากนั้นปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ขณะจำพรรษาที่วัดเวินไซ บ้านเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ได้อาพาธหนักแล้วได้มรณภาพในปี พ.ศ.2463 ต่อมาญาถ่านสำเร็จตัน จึงแจ้งข่าวงานศพปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุนไปยังญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ท่านก็ได้เดินทางมาร่วมงานจนเสร็จ ญาถ่านสำเร็จตัน จึงได้แบ่งเกษา อิฐิ บ้างส่วนให้ญาถ่านสว่าง โพธิญาโณติดตัว ต่อมาญาถ่านสว่าง โพธิญาโณได้เดินทางข้ามมาฝั่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2513 มาอยู่ที่วัดสนามชัย ได้นำเอาตำราใบลานที่ได้รับการคัดลอกจากปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ข้ามมายังฝั่งไทยด้วย หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ.2518 พี่น้องทางประเทศลาวจึงข้ามมาฝังไทยเป็นจำนวนมาก
     ต่อมาเมื่อพี่น้องลูกศิษย์ที่เล่าเรียนสายอุตฺตมะอุตฺตโม รู้ข่าวว่าญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ มาจำพรรษาอยู่อำเภอเขมราฐ ก็ต่างพากันกราบนมัสการ แล้วปรึกษาเรื่องการจัดงานไหว้ครูธรรมใหญ่ให้ต่อเนื่อง ต่อมาญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ ท่านไม่ต้องการให้นำเอาชื่อ ปรมาจารย์ใหญ่ญาถ่านอุตตมะ มาเป็นชื่อเรียกใน สายอุตฺตมะอุตฺตโม จึงให้ตัดคำว่า อุตฺตมะ ออกจากคำเรียก ให้เปลี่ยนเป็นชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี ในราวปี พ.ศ.2529 นับจากนั้นมาจึงใช้ชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี ตลอดมา
     เมื่อญาถ่านสว่าง โพธิญาโณ เริ่มมีอาการป่วย จึงได้มอบตำราใบลานให้ฆราวาสครูธรรมใหญ่รินทอง สนธิหา ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1 ได้ดูแลเก็บรักษาต่อไป ให้ศิษย์รุ่นต่อไปได้ศึกษาเล่าเรียนไม่ให้สูญหาย และมอบเกษา อัฐิ ปรมาจารย์ญาถ่านสำเร็จลุน ไว้ด้วย หลังจากนั้นคณะครูธรรมใหญ่จึงอันเชิญ ญาถ่านทา นาควัณโณ เป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 เมื่อญาถ่านทา นาควัณโณ ต่อมาฆราวาสครูธรรมใหญ่รินทอง สนธิหา ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1 ได้ถึงแก่กรรม ทางคณะศิษย์จึงเชิญฆราวาสครูธรรมใหญ่ทองพลู กอมณี ขึ้นเป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 เมื่อครูธรรมใหญ่ทองพลู กอมณี 
      ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2558 องค์ที่ 9 ญาถ่านทา นาควัณโณ เป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 และฆราวาสครูธรรมใหญ่ทองพลู กอมณี ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 เริ่มแก่ชราจึงได้มอบหมายให้ องค์ที่ 10 ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม เป็นผู้สืบทอดเป็นรุ่นที่ 3 พร้อมฆราวาสครูธรรมใหญ่เวด สีจันทะวง ขึ้นเป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 จนถึงปัจจุบัน
หน้า: [1] 2 3 ... 14
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!