?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
29 มีนาคม 2567, 12:48:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 [2]
16  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านคล้าย อธิเตโช / Re: พระครูสุนทรมงคลวัฒน์ หลวงปู่คล้าย อธิเตโช (ญาท่านคล้าย) เมื่อ: 29 ตุลาคม 2556, 12:09:23
ตะกรุด ท่านสุดยอดมากครับ วิชาทุกอย่างท่านเป็น พระที่สืบทอดวิชามาจากพ่อถ่านฤทธิ์ ทั้งหมด ใครไม่มีรีบซะนะ  ของแท้ พระแท้ แน่นอน องค์นี้ เมตตา มหานิยม นี่ที่หนึ่งเลยครับ
ผู้เขียนเอง ใช้ตะกรุดท่านมานานแล้ว แขวนหน้ารถตลอด แคล้วคลาด ปลอดภัย ท่านเจิมรถ ด้วยนะ พ่อถ่านฤทธิ์ พ่อถ่านคล้าย (เราเรียก พ่อถ่านค่าย) เป็นอาจารย์ผู้เขียน ทั้งสององค์ เคยสอนธรรมมะ ให้กับผู้เขียน ตั้งแต่เด็กๆ สอน ป.5,ป.6 เห็นพระ 2 องค์นี้ มาตลอด ดีแท้ แน่ นอน พระแท้ๆ กราบไหว้ได้สนิทใจ ผู้เขียน รู้จัก คุ้นเคยกับ พ่อถ่านค่าย มาก ทั้งครอบครัวเลย นับตั้งแต่ ลุง พ่อ แม่ พี่ๆ และตัวผู้เขียนเอง   
17  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: เรื่องที่คนอุบลต้องรู้ น่าภาคภูมิใจครับ เมื่อ: 29 ตุลาคม 2556, 00:24:30
พระอาจารย์ใหญ่ ดร.พระมหาผ่อง สะมาเลิก (เขียนตามภาษาลาว) เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2459 อุปสมบทเมื่อ 1 ตุลาคม 2479 พระอุปัชฌาย์ พระครูโสภิตพิริยคุณ(พ่อถ่านฤทธิ์)มาสายพระอาจารย์ตู๋ โยมบิดาชื่อ นายสีหา ชมาฤกษ์  โยมมารดา นางวันนา ชมาฤกษ์ โยมปู่ชื่อทิพมะสอน(เป็นหมอยา เป็นคนมีวิชาอาคม) ,ในย่านนั้นสมัยนั้น พระอาจารย์ที่โด่งดังที่ชาวบ้านให้ความเคารพบูชา คือญาถ่าน(ต้องเขียนแบบนี้นะ)กรรมฐานแพง เด่นดังทางด้านหนังเหนียว และญาถ่านตู๋  เด่นดังทุกด้าน เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน จากนั้นมาก็เป็นพ่อถ่านฤทธิ์ นี่แหละที่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านต่อจากพระอาจารย์ตู๋ พระมหาผ่อง เกิดที่บ้านกุงน้อย ต.กุศกร อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี บริเวณบ้านเดิม ณ.ตอนนี้ คือบ้านเลขที่ 10 หมู่ที่ 6 บ้านกุงน้อย คนแถบนี้ถ้าไปไล่ตามนามสกุล จะเกี่ยวข้องเป็นญาติพี่น้องกันทั้งตำบลและตำบลใกล้เคียง เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เดินทางเข้ามา กรุงเทพฯ อยู่ที่วัดชนะสงคราม บางลำพู เดินทางมากับพระพี่ชายชื่อนายโกวิท(พระมหาเต็ม)ก่อน จากนั้นนำพระน้องชาย(พระปลัดประศาสน์) มาอยู่ที่วัดชนะสงครามด้วยกัน สมัยก่อนคนอีสาน ที่อยากเรียนต้องบวชแล้วมาเล่าเรียนในกรุงเทพฯสิ่งที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ที่โยมพ่อแม่ ให้นำติดตัวมาหรือไปขอจากครูบาอาจารย์คือ พระปิดตา พระอาจารยตู๋ (ทำจากไม้ งา ฟันพ่อแม่)ปัจจุบันตกทอดมาถึงผู้เขียนและพี่ๆผู้เขียน พอได้เก็บไว้เป็นมรดก ให้ลูกหลานได้ดูชม ช่วงที่พระมหาผ่องกับพระน้องชายเป็นพระอยู่กรุงเทพฯก็ได้ติดต่อกับพระอุปัชฌาย์คือพ่อถ่านฤทธิ์ วิชาอาคมที่ร่ำเรียนก็มาทางสายนี้ นอกเหนือจากที่เรียนจนจบเปรียญธรรม 6 ประโยค ที่กรุงเทพฯ กลับมาทางโยมบิดาและมารดา ได้ย้ายจากบ้านกุงน้อย ไปอยู่ที่เมืองโพนทอง แขวงจำปาศักดิ์ สปป.ลาวไปทำมาหากินอยู่ที่เมืองโพนทองกัน(ส่วนใหญ่ทำการเกษตร ทำนา) สมัยก่อนการย้ายถิ่นฐาน ย้ายกันไปตามญาติพี่น้อง ที่ไหนดีก็จะมาชวนกันไปอยู่ด้วยกัน  ด้วยแนวคิดที่หัวก้าวหน้าและเป็นพระที่มีการศึกษา พระมหาผ่องจึงได้ย้าย ตามบิดาไปอยู่ สปป.ลาว ตั้งแต่บัดนั้น แต่ก็ยังมีการติดต่อไปมาหาสู่กันกับญาติพี่น้องเหมือนเดิม ซึ่งปัจจุบันก็มีการติดต่อกันอยู่ ดังจะเห็นได้ที่วัดบุรีรัฐ บ้านกุงน้อยจะมีรูปหล่อพระมหาผ่องอยู่ รูปหล่อนี้เหมือนกับที่ตั้งไว้หน้าโบสถ์ วัดองค์ตื้อ สปป.ลาว ส่วนนามสกุล จริงๆแล้วคือ ชมาฤกษ์ (สมาฤกษ์ ฉมาฤกษ์ ล้วนมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน เขียนผิดเพี้ยนกันไป จากการไปแจ้งที่อำเภอ เจ้าหน้าที่ก็เขียนไปตามคำบอก ที่ออกเสียง สำเนียง แบบคนอีสาน) พระมหาผ่องได้เข้าร่วม(ทางพระนะ)การเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงใน สปป.ลาว จากทางลาวใต้และไปทั่วประเทศ จนกระทั้งได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดองค์ตื้อ เวียงจันทน์ สปป.ลาวจนถึงปัจจุบัน จากตำแหน่งรองประธาน อ.พ.ส.และเป็นประธาน อ.พ.ส.ตามลำดับ พระมหาผ่อง เป็นพระที่ผู้คนที่ สปป.ลาวให้ความเคารพนับถือมาก และเรียกว่าพระอาจารย์ใหญ่ ส่วน ดร.ที่ได้มา ทางมหาจุฬาฯถวายให้เป็นกิตติมศักดิ์ ที่เพิ่งเดินทางมารับถวายไปเมื่อไม่นานมานี้ พี่ชายพี่สาวผู้เขียน ยังได้เดินทางไปกราบและแสดงความยินดีด้วย ผู้เขียนเองได้เดินทางไปกราบหลวงปู่ที่สปป.ลาว 2 ครั้ง ในระหว่างที่ไปทำงาน สปป.ลาว     
18  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านฤทธิ์ โสภิโต / Re: หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ โสภิโต วัดสระกุศกร อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 21 ตุลาคม 2556, 22:34:52
ใช่แล้ว หลวงปู่ญาถ่านฤทธิ์ โสภิโต  นี่แหละ  เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ใหญ่ ดร.พระมหาผ่อง สมาเลิก(ชมาฤกษ์) รูปถ่าย มีติดไว้ที่กุฏิพระมหาผ่อง วัดองค์ตื้อ สปป.ลาว
ว่างๆจะมาเล่าให้ฟังใหม่   จากหลานท่าน
19  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: เรื่องที่คนอุบลต้องรู้ น่าภาคภูมิใจครับ เมื่อ: 21 ตุลาคม 2556, 22:16:50
ถ้าอยากรู้ประวัติพระอาจารย์ใหญ่ ดร.พระมหาผ่อง สมาเลิก สามารถเล่าให้ฟังได้ครับ  จากหลานท่าน
20  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร / Re: ภาพบูชา ญาถ่านตุ๋ ธัมมสาโร เมื่อ: 16 สิงหาคม 2555, 11:12:50
เหมือนกับรูปภาพที่ผมลงไว้เลย  ด้านหลังมียันต์ไหมครับ
21  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร / Re: เชิญมาโชว์เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ ญาถ่านตู๋ สภาพไหนก็แวะมาเป็นวิทยาทานครับ เมื่อ: 08 สิงหาคม 2555, 15:34:34
กล้องถ่ายได้ไม่ชัดครับ  อีกอย่างเลี่ยมไว้ด้วย  ต้องขออภัย ที่ไม่ค่อยชัด  ของเสี่ยขุหลุสวยกว่านะ  ได้มาจากไหนเหรอครับ
22  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร / Re: เชิญมาโชว์เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ ญาถ่านตู๋ สภาพไหนก็แวะมาเป็นวิทยาทานครับ เมื่อ: 08 สิงหาคม 2555, 13:19:35
โชว์พระปิดตา งาแกะ ไม้แกะ หินแกะ ญาถ่านตู๋ และเหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล  เพื่อเป็นวิทยาทาน  ทั้งหมดเป็นมรดกตกทอดมาทั้งนั้น
23  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร / Re: เชิญมาโชว์เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ ญาถ่านตู๋ สภาพไหนก็แวะมาเป็นวิทยาทานครับ เมื่อ: 08 สิงหาคม 2555, 09:34:40
โชว์รูป อาจารย์ปู่ เดิมๆ รูปภาพยังหายากเลยครับ(จากลูกศิษย์ พ่อถ่านฤทธิ์ พ่อถ่านคล้าย)
24  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร / Re: เชิญมาโชว์เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ ญาถ่านตู๋ สภาพไหนก็แวะมาเป็นวิทยาทานครับ เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555, 00:44:02
ท่านที่สนใจ พระปิดตา ญาถ่านตู๋   วันนี้นำมาโชว์ ลองทายดูนะว่าองค์ไหน  มีอยู่สององค์ครับ  ในรูปนี้  เป็นพระปิดตางาแกะและพระปิดตาไม้แกะ สวย สภาพเดิม หายากสุดๆ มรดกตกทอดมาครับ
หน้า: 1 [2]
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!