ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ห้องพระ => พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: maxna ที่ 21 มกราคม 2563, 10:08:09



หัวข้อ: ประวัติหลวงปู่สมเด็จลุน
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 21 มกราคม 2563, 10:08:09
ประวัติสมเด็จลุนหรือสำเร็จ
สมเด็จลุนเป็นพระผู้ทรงอภิญญาแห่งประเทศลาว
มีเรื่องเล่าว่า มีพระเฒ่าองค์หนึ่งได้เคยเข้าไปทดสอบวิชากับหลวงปู่ศุข พอพระเฒ่าเข้าไปถึง

หลวงปู่ศุขก็เอ่ยถามว่า “ท่านมาจากที่ไหนครับ”
พระเฒ่าเอ่ยตอบมาว่า “ผมมาจากนครเวียงจันทร์ครับ”
หลวงปู่ศุขถามต่อไปว่า “แล้วท่านมีภารกิจอันใดให้ผมรับใช้ครับ”
พระเฒ่าตอบมาว่า “กระผมอยากรู้ว่าสมภารเจ้าแห่งวัดมะขามเฒ่าเก่งจริงดังที่เขาเลื่องลือไหม”
พอหลวงปู่ศุขฟังจบท่านก็หันไปรูดใบมะขามเสกพร้อมตอบไปว่า “ผมขอโทษนะครับ”
หลวงปู่ศุขก็ได้ขว้างใบมะขามออกมา กลายเป็นต่อและแตน บินพุ่งเข้าใส่พระองค์นั้น พระเฒ่าองค์นั้นได้ยกมือขึ้นรับต่อและแตน แทนที่ต่อและแตนจะบินเข้าไปต่อยพระเฒ่า แต่กลับบินเข้าไปอยู่ในมือและกลายเป็นใบมะขามเหมือนเดิม
หลวงปู่ศุขเลยเอ่ยถามพระเฒ่าว่า “ไม่ทราบว่าท่านเป็นใคร โปรดเมตตาต่อข้ากระผมด้วยครับ”
พระเฒ่าตอบด้วยความเคารพเช่นกันว่า “กระผมคือสมเด็จลุนครับ”หลวงปู่ศุขเลยพนมมือทำความเคารพและกล่าวไปว่า “กระผมได้ยินแต่ชื่อเสียงพึ่งเห็นตัวจริงวันนี้นี่เอง เหมาะสมที่ได้ชื่อว่าสมเด็จลุนจริงๆ”
จากนี้ไปจะได้นำเสนอประวัติของสมเด็จลุน ให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ศึกษา เพื่อทำความรู้จัก ซึ่งการ เขียน ประวัติในครั้งนี้จะเป็นการพลิกประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะหลวงพ่อภรังสีได้สอบถามจาก หลวงปู่สมเด็จ ลุนโดยตรง ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจจะแตกต่างจากข้อมูลทั่ว ๆ ไป ที่พุทธศาสนิกชนเคยได้รับทราบมาก่อน หลวงปู่สมเด็จลุน ได้ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ที่บ้านหนองไฮท่า ตำบลเวินไซ เมืองโพนทอง แขวง จำปาศักดิ์ ประเทศลาว โดยเป็นบุตรของ พ่อบุญเลิศ แม่กองศรี สว่างวงศ์ และท่านมีลักษณะพิเศษ จากคนทั่วไปคือท่านอยู่ในครรภ์ของมารดาสิบเดือนเศษ และเวลาคลอดก็คลอดง่ายไม่เจ็บปวดเหมือนคลอดลูก คนทั่วไป พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ว่า“ท้าวลุน” เมื่อเป็นเด็กนั้นท้าวลุนมีอุปนิสัยเป็นคนเจ้าระเบียบ มาตั้งแต่เด็ก เป็นคน ละเอียดรอบคอบ เมื่อเจริญวัยขึ้นมาก็ได้ศึกษาเล่าเรียนและช่วยเหลือครอบครัว
พอมาอายุได้ ๑๒ ปี บิดามารดาพิจารณาเห็นว่าท้าวลุนมีอุปนิสัยน้อมไปในบรรพชา จึงได้พาไปบรรพชา เป็นสามเณรที่วัดบ้านหนองไฮท่า เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วสาม เณรลุนก็มีลักษณะต่างจากสามเณรทั่ว ๆ ไป กล่าว คือท่านมีความจำเป็นเลิศทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยอ่านหนังสือแต่ก็สามารถท่องจำบทสวดมนต์ต่าง ๆ ได้ สามเณรลุน ได้ไปร่วมงานศพของพ่อท่านนาโหล่ง ซึ่งเป็นพระที่มีอภิญญาโด่งดังมากในสมัยนั้น แล้วท่านก็ไปดูศพของพ่อ ท่านนาโหล่ง จึงมองเห็นคัมภีร์ก้อม (หนังสือใบลานผูกเล็ก ๆ) หนีบอยู่ที่รักแร้ สามเณรลุนมีความรู้สึกว่า พ่อท่าน นาโหล่งยิ้มให้แล้วบอกให้ท่านหยิบเอาหนังสือไป ท่านก็ยกมือขึ้นไหว้แล้วรีบดึงเอาหนังสือนั้นไป จากนั้นสามเณร ลุนก็หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบ ช่วงที่หายไปนั่นเองท่านได้ไปศึกษาวิชาจากฤาษีพระยาจักรสรวง จนสำเร็จวิชา แล้วจึงกลับมาที่วัดบ้านเวินไซ อีกครั้ง จากนั้นท่านก็อยู่ประจำที่นั้นตลอดมา จนอายุครบอุปสมบทจึงได้ อุปสมบทเมื่อ อายุ ๒๐ ปี ที่วัดนาคนิมิต หลวงพระบางโดยมี พ่อถ่านจันที อคฺคมโน เป็นพระอุปัชฌาย์ พ่อถ่าน หลวง ปุณฺณวงฺโส เป็นพระกรรมวาจา พ่อถ่านก้อม โสคมโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ประจำอยู่ที่วัดเวินไซ หลวงปู่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยมาก มีความรู้แตก ฉานในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี มุ่งเน้นไปในทางปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากหลวงปู่มีความแตกฉานในทุก ๆ ศาสตร์ จึงได้แต่งตำราเกี่ยวกับวิชาอาคม ตำรายาสมุนไพร และตำราอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ส่วนเรื่อง อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่นั้นมีการกล่าวถึงกันมากมาย มีตำนานเรื่องเล่าของท่านสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
หลวงปู่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่สมเด็จพระมหาญาณเถระ กตปุญฺโญ และอยู่เป็นที่พึ่งของลูกหลาน รวมสิริอายุได้ ๑๐๘ ปี จึงได้มรณภาพ ยังความเศร้าโศกเสียใจให้เกิดขึ้นแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย คณะศิษยา นุศิษย์ได้จัดสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิของหลวงปู่ไว้ ที่วัดบ้านเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ส่วน ที่ตั้งเมรุเผาศพของท่านนั้นได้เกิดเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้น ๕ ต้น ระยะหลังได้จัดตั้งวัดขึ้นอีกชื่อว่า วัดโพธิ์เวินไซ มาจนกระทั่งทุกวันนี้
◎รายนามบูรพาจารย์และศิษย์สายสำเร็จลุน◎
ขออภัยในลำดับที่เรียง อาจไม่ตรงกับอาวุโสพรรษาพระเถระครูบาอาจารย์ ด้วยศิษย์ในสายสำเร็จลุนมีมาก ซึ่งบางรูปท่านไม่ยอมให้ถ่ายภาพ ทำประวัติ หรือออกนาม บางรูปประวัติลางเลือนยากที่จะค้นเจอเป็นเพียงเรื่องเล่า หากขาดตกบกพร่องรายชื่อครูบาอาจารย์ท่านใด ข้าน้อยกราบขออภัยครูบาอาจารย์ด้วยเกล้า
๑. อาญาราชครูโพนสะเม็ก (ญาครูขี้หอม)
ปรมาจารย์ใหญ่ของสำเร็จลุนผู้บูรณะพระธาตุพระพนมในยุคแรก ผู้ประสิทธิประสาทวิชาพระเวทให้สำเร็จลุน ผู้ชำนาญในวสี ประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์
๒. ญาท่านอุตตมะ อุปัชญาย์สำเร็จลุน และมีศักดิ์เป็นหลวงอา
๓. สำเร็จลุน บูรพาจารย์พระเวทแห่งนครจำปาสัก ผู้เรืองวิทยาคมแห่งสองฝั่งแม่น้ำโขงไทย-ลาว
๔. หลวงปู่ญาท่านสีดา วัดสิงหาญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลศิษย์ร่วมสำนักสำเร็จลุน
๕. พระอาจารย์ใหญ่ญาท่านดีโลด(พระครูวิโรตน์รัตโนบล บุญรอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง
จ.อุบลราชธานี ผู้บูรณพระธาตุพนมก่อนล่ม
๖. พระครูสีทัต อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทนและพระบาทบัวบก
๗. พระครูโคล่นฟ้า (อาจารย์ของหลวงพ่อเดีย วัดบ้านด่าน)
๘. เณรคำ สปป.ลาว
๙. เณรแก้ว สปป.ลาว
๑๐. ญาท่าน(สำเร็จ) ตู๋ ธัมมสาโร วัดสุขาวาส
๑๑. ญาท่านกัมมัฎฐาน (สำเร็จ) แพง วัดสิงหาญ
๑๒. ญาท่าน(สำเร็จ)ตัน วัดสิงหาญ
๑๓. ญาท่านบัณฑิต วัดสิงหาญ
๑๔. ญาท่านห่วน วัดสร้างแก้วเหนือ
๑๕. ญาท่านบุญ วัดบ้านคำหว้า
๑๖. ญาท่านธรรมบาลโสดา
๑๗. ญาท่านหนุ่ย วัดบ้านดงแถบ
๑๘. ญาท่านแสง วัดสระบัว
๑๙. ญาท่านโทน วัดบูรพา
๒๐. ญาท่านทอง วัดหัวเรือ
๒๑. ญาท่านฤทธิ์ วัดหัวเรือ
๒๒. ญาท่านภู วัดบ้านกองโพน
๒๓. ญาท่านภู วัดบ้านคำสะหมิง
๒๔. ญาท่านดี วัดบ้านเหล่าลิง
๒๕. ญาท่านศรี วัดสิงหาญ
๒๖. ญาท่านหลักคำ วัดโพธิ์ศรี
๒๗. ญาท่านบุตร วัดสำราษราฐ
๒๘. ญาท่านลี วัดเอี่ยมวนาราม
๒๙. ญาท่านบุญโฮม วัดดอนรังกา
๓๐. ญาท่านกัมมัฎฐานเก่ง วัดบ้านดงแถบ
๓๑. ญาท่านสวน ฉนฺทากโร วัดนาอุดมอ.ตาลสุม จ.อุบลราชนี
๓๒. ญาท่านโทน วัดบ้านพลับอ.เขื่องใน จ.อุบลธาชธานี
๓๓. ญาท่านสนธ์ วัดท่าดอกแก้ว
๓๔. ญาท่านอ่อง บ้านสะพือ อ. ตระการพืชผล จ.อุบล
๓๕. ญาท่านคำบุ คุตฺตจิตฺโตวัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
๓๖. หลวงปู่พรหมา เขจาโร วัดเขานางคอยอ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี
๓๗. ญาท่านฮุ่ง วัดทุ่งแสวงสองคอน อ.โกสุม จ.มหาสารคาม
๓๘. ญาท่านป้อ ธมฺมสิริ วัดบ้านเอียด ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม
๓๙. ญาท่านซุน ติกขปัญโญ วัดบ้านเสือโก้ก ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม
๔๐. หลวงปู่คำคนิง จุลมณี วัดถ้ำคูหาสวรรค์อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
๔๑. ญาท่านทวง ธัมมโชโต วัดบ้านยาง อ.บาบือ จ.มหาสารคาม
๔๒. ญาท่านปัญญา วัดผักหนาม จ.ชลบุรี
๔๓. หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงหาร จ.อุดรธานี
๔๔. หลวงปู่จันทรหอม สุภาจาโร วัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบล
๔๕. หลวงพ่อจ่อย สุจิตโต วัดศรีมงคล ต.หนองสนม จ.สกลนคร
๔๖. ญาท่านบุญมาก ภูมะโรง ประเทศลาว
๔๗. ญาท่านมุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอ จ.ศรีษะเกษ
๔๘. หลวงปู่ท่านสุภาจ.ภูเก็ต
๔๙. ญาท่านหมุน วัดบานจาน จ.ศรีษะเกษ
๕๐. ญาท่านลุน วัดโพนแพง จ.ขอนแก่น
๕๑. ญาท่านด่อนอินทสาโรวัดถ้ำเกียอ.ปากคาดจ.หนองคาย
๕๒. หลวงปู่ทับ วัดป่าแพงศรี อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
๕๓. ญาท่านทา ( หลวงปู่ทา นาควัณโณ ) วัดศรีสว่างนาราม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลฯ
๕๔.ญาถานเบิ้ม อุตฺตโม วัดวังม่วง ต.หนองสิม อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี