ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ห้องเวทย์วิทยาคมและสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ => ฆราวาสผู้เรืองวิทยาคม => ข้อความที่เริ่มโดย: maxna ที่ 29 ตุลาคม 2562, 13:21:40



หัวข้อ: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 29 ตุลาคม 2562, 13:21:40
ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูหลวงปู่สมเด็จลุน จังหวัดอุบลราชธานี
สายธรรมอุตฺตโมบารมี
สายธรรมอุตฺตโมบารมี ญาติธรรมที่ให้ความศรัทธาให้สมญานาม สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง

สายธรรมอุตฺตโมบารมี มีการเล่าเรียนสืบทอดกันมาเป็น 100 ปี ผู้คนส่วนมากจะคุ้นกับคำว่า วิชา แปลธาตุ วิชาที่กล่าวมานี้เป็นวิชาที่บรมครูหลวงปู่สมเด็จลุน ไปเขียนจารึกไว้ในใบลาน ที่ตกทอดมาสู่สายธรรมอุตฺตโมบารมี โดยมีหลักฐานการสืบทอดที่ชัดเจนที่สุด ในประเทศไทย

เกษา และอัฐิ #ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
จนมาถึงสายธรรมอุตฺตโมบารมี โดยมีหลักฐานพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเชื่อสายตรง ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดเวินไซ หรือศิษย์ที่ข้ามมาไทย
ท่านได้นำข้ามมายังประเทศไทย บ้างท่านได้แต่ผงอัฐิ บ้างท่านได้ เขี้ยวท่าน บ้างท่านได้ เกษา
และยิ่งมีเกิดความบังเอิญ ท่านที่ได้ครอบครอง ได้แบ่งให้บรมครูสายธรรมอุตฺตโมบารมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเสาหลักให้ศิษย์สายปรมาจารย์ได้กราบบูชาเป็นตัวแทน ...

ผู้สืบทอดพระเวทย์อาคมแห่งปรมาจารณ์หลวงปู่สมเด็จลุน พิธีกรรมครูธรรม คือ บรมครูญาถานเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี

ธรรมสายธรรมอุตตโมบารมี หัวใจหลักคือการเรียนหนุนการหนุนงานหนุนชีวิตครอบครัว อยู่ในศิล ในธรรมไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ใช้หลักเป็นธรรมกรรมฐาน 40 กองเป็นหลักการปฏิบัติ           กรรมฐาน 40 กองจัดเป็นสมถะ คือ ไม่ก่อปัญญาแต่สามารถเป็นพื้นฐานในการไปสู่ปัญญาได้ มี 36 กอง   ส่วนกรรมฐานที่จัดเป็นวิปัสสนาแท้ มีเพียง 4 กองเท่านั้น คือ สติปัฏฐาน 4 ซึ่งได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม หากแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ก็ได้แก่ กรรมฐานฝ่ายโลกียะ 36 กรรมฐานฝ่ายโลกุตตระ 4 ซึ่งแน่นอนว่ากรรมฐานฝ่ายโลกียะไม่สามารถทำให้ใครบรรลุธรรมได้ แต่ถ้าคนเข้าใจก็เป็นบันไดชั้นดีเพื่อไปสู่ธรรมขั้นสูงและยังทำให้ผู้ปฏิบัติมีที่ยึดเหนี่ยวใจให้ปฏิบัติในศิลธรรม เป็นคนดี ของสังคม รักษาศิลอย่างเคร่งครัด ตามหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา ดังนี้
1. ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
      รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
    - ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
    - ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
    - ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
    - ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)
     นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
    - เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
    - สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
    - สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง
    - วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6)
2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นคำสอนที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจากความทุกข์เพื่อสู่นิพพาน ได้แก่
    1. ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากทั้งร่างกายและจิตใจ
       1.1 สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
       1.2 ปกิณกทุกข์ หรือทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปและเกิดขึ้นเนืองๆ เช่น ความเศร้าโศก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
    2. สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา( ความอยาก)
       2.1 กามตัณหา คือ อยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนยังไม่มี
       2.2 ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
       2.3 วิภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
    3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ คือ ให้ดับที่เหตุ ซึ่งมีขั้นตอนตามลำดับในมรรค 8
    4. มรรคมีองค์ 8 หนทางแห่งการดับทุกข์
       4.1 สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสาเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์
       
4.2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ความคิดที่ปลอดโปร่ง ความคิดไม่พยาบาท ความคิดไม่เบียดเบียน
       4.3 สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
       4.4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือ ไม่ทำลายชีวิตคนอื่น ไม่ขโมยของ ไม่ผิดในกาม
      4.5 สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต
      4.6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังมิให้ความชั่วที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้น เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้ว
       4.7 สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม
       4.8 สัมมาสมาธิ การตั้งใจชอบ คือ การตั้งจิตที่แน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านเพื่อมุ่งมั่นกระทำความดี

3. ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง
    1. อนิจจตา หรือ อนิจจัง ความไม่คงที่ ไม่เที่ยง ไม่ถาวร ไม่แน่นอน
    2. ทุกข์ตา หรือ ทุกขัง สภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องแปรปรวนไป
    3. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
    ในเรื่องไตรลักษณ์ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคำสอนสูงสุด ซึ่งทุกสิ่งในสากลจักรวาลล่วนเป็นอนัตตาทั้งสิ้น
4. พรหมวิหาร 4 ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่
    1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข
    2. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์
    3. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี
    4. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ
5. สังคหวัตถุ 4 หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคน
    1. ทาน การให้
    2. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
    3. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์
    4. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง
6. ฆราวาสธรรม 4 หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่
    1. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน
    2. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น
    3. ขันติ ความอดทนและให้อภัย
    4. จาคะ การเสียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน
7. บุญกิริยาวัตถุ 10 หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี 10 ประการ
    1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
    5. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
    6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
    7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
    8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
    9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
    10. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง
8. สัปปุริสธรรม 7    หลักธรรมของคนดี หรือคุณสมบัติของคนดี
    1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
    2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
    3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
    4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
    5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา
    6. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน
    7. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี

มนุษย์เราไม่ว่าจะเกิดมาเป็นใคร เป็นลูกของใครก็ตาม ต่างก็มีทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ชีวิตนี้คือทุกข์ หมายความว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ความเศร้าโศกร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ตามหลักพระพุทธศาสนา ชีวิตอันประเสริฐสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนคือชีวิตที่เป็นไปเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งความจริงอันประเสริฐ
การศึกษาในหลักธรรมสายธรรมอุตตโมบารมี มีเป้าหมาย สำคัญเพื่อความดับแห่งทุกข์ โดยการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือสรุปย่อเป็น “ไตรสิกขา” หมายถึงการศึกษา ๓ ประการ ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา และเพิ่มพระเวทย์อาคมที่สืบทอดต่อๆกันมานำไปใช้ในทางดีถูกที่ควร
๑. ศีล  เป็นข้อปฏิบัติเพื่อฝึกอบรมกาย วาจา ใจให้เรียบร้อย ให้มีความประพฤติดีงาม
๒. สมาธิ  คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมใจ เพื่อให้จิตใจสงบตั้งมั่น พร้อมแก่การพิจารณาคือการใช้ปัญญาอย่างลึกซึ้ง
๓. ปัญญา  คือ ข้อปฏบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
4. เพิ่มพระเวทย์อาคมที่สืบทอดต่อๆกันมา
       ธรรมะแต่ละข้อในไตรสิกขานี้ ต่างก็มีความสัมพันธ์กัน คือ เมื่อปฏิบัติข้อแรก คือศีลสมบูรณ์ เรียกว่า ศีลถึงใจ ชีวิตก็จะเป็นสุข สบาย มีความโปร่งใส โล่งใจ ความโปร่งโล่งเบาสบาย นั้นจะเป็นบานทำให้ฝึกสมาธิ     ได้ง่าย เมื่อจิตนิ่งสงบ จึงย่อมจะโม้นไปหาความจริงได้ง่าย จิตที่หยั่งเห็นความจริงย่อมตระหนักว่า ไม่มีอะไรความยึดถือ ปัญญาซึ่งเป็นเครื่องช่วยให้หลุดพ้น จากทุกข์ก็จะเกิดขึ้น ไตรสิกขา จึงเป็นหลัก ปฏิบัติที่สำคัญทีจะช่วยในการดับทุกข์ในชีวิตได้อย่างแท้จริง
     ถึงแม้ว่าใครจะมีความทุกข์มากขนาดไหนเคยทำบาปทำกรรมไว้มากก็ตาม หากหยุดทำกรรมชั่วได้ ตั้งมั่นอยู่มนศีล ๕ ปฏิบัติภาวนาจนเกิดวิปัสสนาปัญญาแล้ว ก็มีโอกาส มีทางไปที่สูงขึ้น จนถึงขั้นบรรลุอริยมรรค    อริยผล นิพพานได้




หัวข้อ: Re: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 29 ตุลาคม 2562, 13:24:07
เกษา...หลวงปู่กรรมฐานแพง จันทสาโร(แพง พรหมสีใหม่) เกิดเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก บิดาชื่อชาพิจิตร(มา) พรหมสีใหม่ มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอุปฮาด(อุปราช) เมืองตระการพืชผล มารดาชื่อผิว พรหมสีใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน เป็นชาย ๖ คน หญิง ๑ คน ดังนี้
๑.สมเด็จสอน (ถึงกาลมรณะภาพขณะอยู่ในเพศบรรพชิต)
๒.หลวงปู่กรรมฐานแพง จันทสาโร
๓.อาจารย์ทอง (ถึงแก่กรรม)
๔.อาจารย์ไพ (นายไพ เทพสิทธา) ได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ?เทพสิทธา? ตามขุนกสิกรพิศาล ได้รับพระราชทาน (นายกัณหา พรหมสีใหม่ บิดาของขุนกสิกรพิศาล เป็นบิดาน้องชายนายชาพิจิตร) (ถึงแก่กรรม)
๕.อาจารย์สิงห์ (ถึงแก่กรรม)
๖.นายเพ็ง (ถึงแก่กรรม)
๗.นางนวล อินโสม

ถือว่าเป็นตระกูลที่มีใจฝักใฝ่แก่การศาสนาและเป็นนักบวชเสียส่วนมาก เรียกว่าเกือบทั้งหมดของลูกชาย นับว่าเป็นตระกูลนักปราชญ์ เป็นครูบาอาจารย์สืบทอดต่อกันมายังลูกหลาน ซึ่งได้ใช้นามสกุลใหม่ที่รับพระราชทานมา คือ ?เทพสิทธา?

ในปัจจุบันสกุล ?เทพสิทธา? ได้รับราชการเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียง และสร้างคุณงามความดีอย่างเต็มกำลังความสามารถอย่างเช่น คุณสมพร เทพสิทธา

หลวงปู่กรรมฐานแพง เป็นผู้มีศรัทธาแก่กล้าในพระพุทธศาสนามากท่านหนึ่ง โดยเฉพาะในสายวิปัสสนากรรมฐาน บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๕ ปี ณ. วัดสิงหาย บ้านสะพือ ตำบลตระการพืชผล อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นวัดบ้านเกิด เมื่ออายุ ๑๗ ปีได้ศึกษาวิชาสายวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์พระครูสีดา(ญาท่านสีดา บ้านสะพือ) พออายุครบบวชได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ออกเดินทางธุดงค์ไปศึกษาวิปัสสนาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์ศรีทัตถ์(ญาท่านศรีทัตถ์) ที่เมืองท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครหลวงพระบาง ประเทศลาวนานถึง ๖ ปี

ผ่านการศึกษาตามสายวิชาที่สนใจมาแล้ว จากนั้นก็เริ่มออกเดินธุดงค์ไปตามขุนเขาน้อยใหญ่ ทั้งป่ารกดงทึบที่มากไปด้วยภัยอันตรายต่างๆนานาทั่วทั้งไทยและลาว จากเหนือจรดใต้ ทั้งสิบสองปันนา สิบสองเจ้าไท ตลอดไปจนถึงเวียตนามและกัมพูชาหรือที่เรารู้จักและเรียกกันว่าเขมร อาศัยอยู่ตามคูหาและหลืบถ้ำในป่าดงดิบ เช่น ถ้ำพระฤษีที่ประเทศลาว

ออกจากเขมรกลับเข้าไทย ออกจากไทยต่อเข้าประเทศพม่า การไปพม่าจะไปทางเมืองมะระแหม่ง ธุดงค์ไปจนสุดแผ่นดินไม่สามารถจะไปต่อได้เพราะไม่มีแผ่นดินให้เดิน เมื่อท่านธุดงค์ไปจนสุดขอบแผ่นดินที่เบื้องหน้าเป็นเวิ้งน้ำกว้างใหญ่ของทะเล

เมื่อไปจนสุดแผ่นดินแล้วท่านจึงธุดงค์มุ่งหน้ากลับบ้านสะพือ ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมื่ออายุได้ ๓๐ ปี(หลังบวชเป็นพระภิกษุได้ ๑๐ พรรษา) ตลอดระยะเวลาที่ท่านออกธุดงค์กรรมฐานนั้น พ่อแม่ญาติศรีพี่น้องทุกคนต่างก็นึกว่าท่านมรณภาพไปแล้ว นั่นก็เพราะว่านับตั้งแต่ท่านออกจากบ้านไป ก็ไม่เคยได้ส่งข่าวกลับมาบอกใครๆที่บ้านอีกเลยว่าท่านไปทำอะไรหรือไปอยู่ที่ไหน

กรณีนี้เข้าใจว่า อาจจะเป็นเพราะท่านเฝ้าแต่เพียรปฏิบัติฝึกฝนภาวนาอยู่ตามป่าตามเขา จนไม่มีเวลาหรือโอกาสส่งข่าวบอกใครก็เป็นได้
.........................
หลังกลับมาเยี่ยมบ้านและเผยแพร่ธรรมะให้กับญาติๆได้ระยะหนึ่ง ท่านก็เริ่มออกธุดงค์อีกครั้ง คราวนี้ไปลาวใต้ มุ่งหน้านครจำปาสัก
ที่แขวงจำปาสักนี้ มีเหตุสำคัญทำให้ท่านมีอันต้องลาสิกขาจากร่มกาสาวพัตร์อยู่ที่บ้านเวินไชย อำเภอเมืองเก่า แขวงจำปาสัก ประเทศลาว ไปมีครอบครัวอย่างสามัญอยู่นานถึง ๙ ปี ช่วงเวลานี้ว่ากันว่าเป็นช่วงเวลาที่ท่านต้องการชำระกรรม ล้างสัญญาเดิมที่เหลือหมดสิ้นไปจึงได้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น

เมื่อสิ้นสัญญาเดิมหมดกรรมเก่า ท่านได้กลับมาอุปสมบทอีกเป็นครั้งที่ ๒ ณ.บานเวินไชย อำเภอเมืองเก่า แขวงนครจำปาสัก ประเทศลาว ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานตลอดจนหลักธรรมต่างๆเพิ่มเติมที่นี่กับท่านสมเด็จลุน ได้ถือโอกาสฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านสมเด็จลุน ซึ่งท่านสมเด็จลุนองค์นี้ เป็นที่เลื่องลือว่ามีกิตติคุณเป็นผู้มีธรรมวิเศษ หาตัวจับยากองค์หนึ่งในยุคสมัยนั้น ว่ากันว่าท่านสามารถบรรลุธรรมอันสูงสุดได้ ในขณะที่ยังครองสังขารอยู่ในช่วงวัยอันน่าฉงน และเป็นผู้แตกฉานในทุกด้านไม่ว่าจะด้านปริยัติหรือปฏิบัติ ทั้งยังเป็นผู้เข้าใจในปาฏิโมกข์อย่างไร้ข้อกังขาอีกด้วย กฤษดาภินิหาริย์ของท่านสมเด็จลุนขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ

ต่อมาท่านได้อุปสมบทอีกเป็นครั้งที่สอง ณ บ้านเวินไชย อำเภอเมืองเก่า แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ได้ศึกษาวิปัสสนาตลอดจนหลักธรรมต่าง ๆ เพิ่มเติม จากท่านสมเด็จลุน ณ บ้านเวินไชย (เป็นลูกศิษย์สมเด็จลุน) ท่านสมเด็จลุนองค์นี้ เป็นที่ลือชาปรากฏว่าเป็นผู้บรรลุธรรมวิเศษ สามารถเหยียบเรือกำปั่นใหญ่ของฝรั่งเศส ให้จมน้ำโขงได้

และได้จากบ้านเวินไชย มาจำพรรษาอยู่ที่บ้านด่าน อำเภอโขงเจียม จากบ้านด่าน มาจำพรรษาที่อยู่บ้านคำผ่าน และวัดทุ่งศรีทวีผล บ้านสะพือ จึงได้มาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ วัดสิงหาญ บ้านสะพือ

ต่อมาลูกหลานทางเมืองอุบล ซึ่งมีนายไพ เทพสิทธา น้องชาย พร้อมด้วยญาติและลูก ๆ หลาน ๆ เห็นว่าท่านชรามากแล้ว จึงได้พร้อมใจกันสร้างกุฏิขึ้นหลังหนึ่งที่วัดปทุมมาลัย จังหวัดอุบลราชธานี ถวายท่าน แล้วนิมนต์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมมาลัย แต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ - ๒๕๐๗

ท่านเห็นว่าท่านชรามากแล้ว จึงขอกลับไปอยู่บ้านเกิด ขอตายอยู่กับครูอาจารย์ที่มาติภูมิ ลูกหลานและศิษย์สานุศิษย์ของนิมนต์ไว้ ให้จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมต่อไป ท่านก็ไม่ยอม จึงได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสิงหาญ บ้านสะพือ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ และได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๙ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเมีย เวลา ๐๑.๒๕ น. ด้วยอาการสงบ ( ซึ่งท่านบอกเวลาไว้ล่วงหน้าว่า ตีหนึ่งวันใหม่ท่านจะจากไป ) รวมอายุได้ ๘๒ ปี


หัวข้อ: Re: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 29 ตุลาคม 2562, 13:27:30
เกษา...หลวงปู่คำมั่น คัมภีรปัญโญ ผู้เป็นปรมาจารย์ใหญ่ญาถานเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูสายธรรมอุตฺตโมบารมี
...หลวงปู่คำมั่น คัมภีรปัญโญ วัดศิลาดาษ บ้านนาน้ำซำ ตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น
หลวงปู่ท่านชอบอยู่อย่างสันโดษเรียบง่าย ฉันน้อย #ฉันมังสวิรัช #ไม่ใส่รองเท้าตามผู้วิปัสสนากัมมัฏฐานขั้นสูงจนถึงจุดปล่อยวาง
แม้เวลาเดินป่าเดินเขา ท่านคือผู้เมตตาธรรมสูง สงเคราะห์คนที่มีทุกข์ร้อนมาไม่จำกัด เป็นที่พึ่งของผู้ที่มีทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ


หัวข้อ: Re: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 29 ตุลาคม 2562, 13:28:59
อัฐิธาตุ เกษา จีวร ปฐวีธาตุ  หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมสายวัดป่า
คงมีพุทธศาสนิกชนชาวไทยน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักนามพระครูวินัยธร ภูริทัตโตหรือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เนื่องจากถือกันว่าท่านคือพระบุพพาจารย์แห่งพระวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย อันเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นศึกษาและปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจังจนบรรลุถึงธรรม
โดยท่านจะพำนักอยู่ตามป่าเขาเป็นที่มาของชื่อที่เรียกขานกันว่า พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐานหรือพระป่า


หัวข้อ: Re: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 29 ตุลาคม 2562, 13:31:32
อัฐิธาตุ เกษา จีวร ปฐวีธาตุ หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ผู้วิเศษแห่งภูตะแบง
ที่เรารู้จักกันในนามนี้ในปัจจุบันนั้น เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านในท้องถิ่นอำเภอ ขุขันธ์ และอำเภอใกล้เคียง ที่มีภูมิลำเนาอยู่แถบชายแดน ตามเชิงเขาพนมดงรัก(พนมดองแร็ก)
ซึ่งเป็นแนวเขตแดนระหว่าง กัมพูชากับประเทศไทย มักจะเห็นท่านเป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติธรรม พักอาศัยอยู่ตามกระท่อมในไร่นาของชาวบ้าน โคกและเวียน
ไปที่นั่นที่นี่บ้างนานๆ จะกลับมาเห็นในที่เดิมอีก ในสายตาและความเข้าใจของชาวบ้านในสมัยนั้นมองท่านในฐานะผู้มีคุณวิเศษ
เหนือคนทั่วไปและเรียกขานว่า “ลูกเอ็าวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบส ที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำเขาลำเนาไพร)
ในสมัยนั้นยังมีป่าพรรณไม้อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่านานาพันธุ์ ได้มีลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เดินธุดงค์ตามป่าเขาแถบชายแดนไทย และตลอดจนถึงประเทศเขมร
แต่ก็อยู่กับหลวงปู่ได้ไม่นานจำต้องกลับบ้าน เนื่องจากทนความยากลำบากไม่ไหวหลวงปู่จึงเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ตามลำพังเป็นส่วนมาก


หัวข้อ: Re: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 29 ตุลาคม 2562, 13:33:51
เกษาเทวดาน้อย ละสังขาร..หลวงปู่อาจ อชิโต บุตรบุญธรรม ผู้สืบทอดวิชา หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน

ปี 2501 หลวงปู่สรวง ท่านมาที่ ภูปะปัง ( เนินเขา )
เนินเขานี้ ใช้เป็นค่ายพยาบาลทหาร..เมื่อครั้งไทยรบกับเขมร มีทหารไทยเสียชีวิตที่ค่ายพยาบาลแห่งนี้จำนวนมาก หลวงปู่สรวง ท่านมาพักที่ กระท่อมยายโฮม ( คนที่ผมถ่ายรูปด้วยวันก่อน ) ที่ภูปะปัง..ได้เจอ
หลวงปู่อาจ ตอนนั้นอายุ 9 ขวบ หลวงปู่สรวงจับบวชเณร และ ได้พาติดตามไปอยู่ ทั้ง เขรม พม่า ลาว เป็นเวลา 20 ปี..ถึงวนกลับมาที่ ภูปะปัง ชาวบ้านคิดว่าหลวงปู่อาจตายไปแล้ว เพราะหายไปกับหลวงปู่สรวง 20 ปี ...ต่อมา..หลวงปู่สรวง อยู่ในไทย เดินทาง ไปที่วัดต่างๆ ในเขตไกล้เคียงเช่น วัดกะมอล วัดบ้านเดียง อ.กันทรลักษ์ อ.เดชอุดม อ.ขุนหาร อ.ขุขันธ์ เป็นต้น...โดยพาหลวงปู่อาจไปด้วย ประมาณปี 2528 หลวงปู่สรวง หลวงปู่สรวง ท่านได้ย้ายไปอยู่ในแถบ อ.ภูสิงห์ ที่ กระท่อมบ้านรุน กระท่อมบ้านละลม กระท่อมบ้านจบก และอีกหลายกระท่อม ฯ โดย..สั่งให้หลวงปู่อาจ อยู่ที่ภูปะปัง ไม่ต้องไปด้วย เพราะที่ภูปะปัง วิญญาณทหาร ที่เสียชีวิตในการรบ ต้องการบุญกุศล...หลวงปู่อาจ จึงได้อยู่ที่ภูปะปัง จนกระทั่งละสังขาร...เรื่องราวมากมายที่ผมได้สัมผัสปาฎิหารย์ เทวดาน้อย.. เช่น เรื่องเจาะน้ำบาดาล... ภูปะปังเป็นก้อนหินขนาดใหญ่.. การเจาะน้ำเป็นเรื่องยาก... เจาะลงไปกี่เมตรๆก็ไม่เจอน้ำ..หลวงปู่อาจ..บอกว่า เดี๋ยวคืนนี้จะถามหลวงปู่สรวง..ชาวบ้านก็งงกัน...เช้ามาหลวงปู่อาจเดินไปชี้จุดเจาะน้ำ... บอกว่าหลวงปู่สรวงให้เจาะตรงนี้...ทีมเจาะทำงาน..เจาะไปไม่นาน เจอน้ำ โอ้วว สุดๆ ครับ ได้มีน้ำใช้จนถึงทุกวันนี้ครับ.....
ส่วนปาฎิหารย์วัตถุมงคล...อันนี้คงไม่ต้องพูดถึง
คนบูชาจริงรู้ดีที่สุด ...ผมอยู่ตอนที่ท่านเสก..ผมรู้ดีเกิดอะไรขึ้น..เรื่องราวมากมายที่ได้สัมผัสคือเหตุผลที่ผมศรัทธา
หลวงปู่อาจ อชิโต เทวดาน้อย แห่ง ภูปะปัง
บุตรบุญธรรม หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน


หัวข้อ: Re: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 29 ตุลาคม 2562, 13:36:54
หลวงปู่ทา นาควัณโณ บูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน ศิษย์รุ่นสุดท้ายแห่งหลวงปู่ญาถ่านตู๋
ศิษย์ผู้สืบทอด คือ บรมครูญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี
หลวงปู่ทา นาควัณโณ เดิมชื่อ ทา เทพคุ้ม เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2475 ณ บ้านพะไล อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 12 ปี พร้อมทั้งร่ำเรียนกับพระอาจารย์ตุ๋นานถึง 3 ปี จากนั้นจึงได้ติดตามพระอาจารตุ๋ธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2492 อีกทั้งพระอาจารย์ตุ๋ยังได้พาท่านไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ เพื่อศึกษาวิชากรรมฐาน รวมถึงพระเกจิอื่นๆ อีกหลายรูปเพื่อศึกษาวิชาอาคม ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท่ามุ่งแต่ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดตามแนวทางสายสำเร็จลุ
นและญาท่านตุ๋จนเป็นที่ยอมรับและให้ความเคารพของประชาชน รวมถึงเป็นที่พึ่งทางใจจนคนโพธิ์ไทรกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ?หลวงปู่ทาคือที่พึ่งทางใจ เป็นเทพเจ้าของชาวโพธิ์ไทร? ท่านได้ใช้วิชาต่างๆ ที่ท่านร่ำเรียนมาปัดเป่าช่วยเหลือคลายทุกข์ให้กับชาวบ้านอย่างเต็มความสามารถเท่าที
่จะสงเคราะห์ได้ หากเรื่องใดที่ท่านสามารถช่วยเหลือได้ท่านก็จะช่วยเหลือทันที โดยไม่มีการรีรอและแบ่งชั้นวรรณะแต่หากเรื่องใดที่เกินความสามารถของท่าน ท่านก็จะให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำที่ดีกับผู้ที่เดือดร้อน เรียกได้ว่าไปหาท่านครั้งใดกลับออกมาย่อมมีแต่ความสบายใจคลายทุกข์ นับเป็นพระสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้อย่างแท้จริงในปัจจุบัน


หัวข้อ: Re: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 29 ตุลาคม 2562, 13:50:08
หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม วัดสิงหาญ จ.อุบลฯ
เกจิสายพุทธาคม"สำเร็จลุน"นครจำปาสัก
หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม (พระครูสถิตธรรมมงคล) หรือ"ญาท่านอ่อง" เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดสิงหาญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี สิริอายุ 91ปีพรรษา 71เกิดในสกุล อัจฉฤกษ์ เมื่อวันวันพุธที่ 5 ก.ย.2471 เป็นชาวบ้านสะพือโดยกำเนิด
อายุ 14 ปี บรรพชา โดยมีพระครูพิศาลสังฆกิจ (หลวงปู่โทน กันตสีโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ คอยอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่แพง จันทสาโร ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาอักขระขอมธรรมลาวและวิทยาคม รวมทั้งศึกษาวิชากัมมัฏฐาน
อายุ 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2491 เข้าพิธีอุปสมบท มีพระครูโสภิตพิริยคุณ (หลวงปู่ฤทธิ์) วัดสระกุศกร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุนทรวิริยกิจ (ชู) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิริปุญญรักษ์ (สวน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ฐิตธัมโม มีความหมายว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นในธรรม
หลังอุปสมบท ปฏิบัติกิจแห่งสงฆ์โดยครบถ้วน ใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความตั้งใจ ขณะศึกษาธรรม ท่านได้ยังมีโอกาสศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณควบคู่ไปด้วย จนมีความรู้ความชำนาญการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั่วไปด้วย
ด้วยความเป็นพระหนุ่มที่ทรงความรู้ ท่านหันมาให้ความสนใจศึกษาวิทยาคม ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาจากในตำราทั้งหมด ตั้งใจทบทวนวิทยาคมที่เรียนมาจากหลวงปู่แพง
นอกจากนี้ ท่านยังศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมเพิ่มเติมจากหลวงปู่ฤทธิ์พระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นพระมหาเถราจารย์ศิษย์พระปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่สมเด็จลุน หรือ "สำเร็จลุน" วัดเวินไซ บูรพาจารย์พระเวทแห่งนครจำปาสัก ผู้เรืองวิทยาคมแห่งสองฝั่งแม่น้ำโขงไทย-ลาว
ต่อมา ท่านกราบลาหลวงปู่แพงและหลวงปู่ฤทธิ์ ออกเดินท่องธุดงค์ ค้นหาครูบาอาจารย์เพื่อศึกษาด้านพุทธาคม อบรมตนด้วยการฝึกนั่งสมาธิ บำเพ็ญจิตตภาวนา ในวิปัสสนากรรมฐานเป็นประจำ มิได้ขาดจากความเพียร มากน้อยบ้างตามจริตนิสัยและโอกาสอำนวยฝึกฝนอบรมจิต จนรวมเอกัคตารมณ์ จิตสงบรวม สู่ฐานสมาธิ หลีกหนีจากวัฏสงสารตามแนวทาง ผู้เป็นอาจารย์ จากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ ค้นหาครูบาอาจารย์ ร่ำเรียนวิชา ศึกษาด้านพุทธาคม ได้ไปเรียนสำเร็จตัน ญาท่านตู๋ จากนั้นได้เดินธุดงค์ในแทบแม่น้ำโขงตามภูเขาน้อยใหญ่ต่างๆที่ใน ประเทศลาวและประเทศไทย ทั้งภาคเหนือภาคใต้ ผ่านภูเขาควาย เข้าภูมะโรง เพื่อฝึกฝนจิตใจ สมาธิ ให้แข็งแกรง ผ่านเข้า พรรษาที่10 เพื่อคอยดูแลรับใช้หลวงปู่หกรรมฐานแพง การเรียนสรรพวิชา เวทย์มนต์คาถาอาคมต่างๆ ในสายสำเร็จจลุน ญาท่าน กัมมัฏฐานแพง ท่านได้กล่าวว่า ผู้ที่จะเรียนวิชาในสายนี้ จะต้องถือสัจจะ คือเมื่อเรียนสำเร็จ จะต้องบวชไม่สึกจนกว่าชีวิตจะหาไม่ วิชาที่ท่านได้ร่ำเรียน ได้แก่ มูลสังกจายน์ วิชา ธาตุ 4 นะมะพะทะ ดิน น้ำ ลม ไฟ นะโมพุทธายะ นะปัตตลอด หนุนธาตุ กลับธาตุ วิชาหุงนวด หุงปรอด และสุดยอดวิชา คือวิชาหุงหิน วิชาโบราณ ที่น้อยคนจะมีวาสนาร่ำเรียนวิชานี้สำเร็จได้ โดยการณ์ใช้ไฟ บริกรรมคาถาขับธาตุ ให้เกิดเป็นแร่กายสิทธิ์ มีพุทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ครอบคุ้มเข้มขลังในตัว ตลอดจนหมดสิ้นวิชาที่เรียนได้รับตำรายันต์ ทำผง ตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ผงมหาราช ผงปถมัง ผงอธิเจ รัตนมาลา เขียนเองลบเอง ปลุกเสก ภายหลังเมื่อ จนหมดสิ้นวิชาทุกแขนง
แม้หลวงปู่อ่อง จะสืบสายพุทธาคมมาอย่างเข้มขลัง แต่ท่านไม่เคยอวดโอ่แสดงวิชาให้ใครเห็น ด้วยเคยได้รับคำแนะนำจากหลวงปู่แพงว่า "หากไม่มีเหตุจำเป็น อย่าแสดงแผลงฤทธิ์เดชใดๆ"
กระทั่งเมื่อวันที่ 26 ก.ย.2509 หลวงปู่แพง มรณภาพชาวอำเภอตระการพืชผล นิมนต์ให้ท่านรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ แต่หลวงปู่อ่องปฏิเสธและออกท่องธุดงควัตรและจำพรรษาในหลายสถานที่ อีกทั้งยังช่วยสร้างวัดต่างๆ อีกหลายแห่ง ครั้นถึงปี พ.ศ.2536 หลวงปู่อ่องได้กลับมายังวัดสิงหาญอีกครั้ง และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสิงหาญ ในปี พ.ศ.2547 ต่อมาพ.ศ.2550 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนามที่ พระครูสถิตธรรมมงคล
ปัจจุบัน ย้ายมาพำนักจำพรรษาอยู่ ในกุฏิกลางป่าทุ่งนา สถานปฏิบัติธรรมพระครูสถิตธรรมมงคล อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี สละสิ้นทิ้งลาภยศ ละทิ้งกิเลศ หลีกหนีสิ่งอำอวยความสดวก ด้วยสถานที่มีความสัปปายะหลีกเร้น จากผู้คน เหมาะสำหรับการปฏิบัติภาวนา เดินจงกลม นั้งสมาธิ
ด้านเครื่องรางหรือวัตถุมงคลที่หลวงปู่ญาท่านอ่องจัดสร้าง
ปี 2553 พิธีสมโภชน์ มหาพุทธาภิเษก วันที่ 21 พฤศจิกายน ตรงกับ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง)
รุ่นสร้างบารมี อุปคุตประทานพพร พระบูชารูปเหมือน 9นิ้ว พระปรกใบมะขาม ผ้าายันอุปคุต รอยมือรอยเท้า ถือเป็นรุ่นแรก
ปี2554พิธีมหาพุทธาภิเษกเริ่มขึ้น ตรงกับวันที่ 23 เมษายน ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำเดือน ๕ เสาร์ ๕ เจริญพรเสาร์ 5 เหรียญรูปไข่ รูปหล่อโบราณ พระขรรค์ เบี้ยแก้ ถือเป็นรุ่นแรกของท่าน
ปี2557 สร้างเหรียญหล่อร.ศ
ปี พ.ศ 2558 วันที่ 6 มิถุนายน ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน๗ ปีมะแม ณ สถานปัฎิบัติธรรม พระครูสถิตธรรมมงคล
สร้างพระขุนแผนเทพประทานพร
ปี 2558. วันที่17 ตุลาคม 2558 ขึ้น5ค่ำ เดือน11
ณวัดโพธิ์ไทรอ.พิบลูมังสาร จ.อุบลราชธานี
ได้ประกอบพิธี. มหาพุทธาเทวาภิเษก
พระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า พระสมเด็จเปียก(ชัยยะ)
วันที่ 8 มีนาคม 2559 จัดพิธีมหาพุทธาภิเษก. เหรียญพรหมยินดี88
มีประสพการณ์ อย่างกว้างขว้าง ล้วนแล้วแต่เป็นที่เสาะแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมาก มีการบรรจุในงานประกวดพระเครื่อง พระบูชาไทย ออกโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมท์ นิตยาสารพระเครื่อง ชั้นนำทั่วประเทศ
จนเป็นที่ยอมรับของชาวอุบล ขนานนามท่าน
................เทพเจ้าแห่งโชคลาภ.................


หัวข้อ: Re: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 24 กันยายน 2564, 21:24:00
ญาท่านอุตตะมะปฐมาจารย์ใหญ่ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน

พระอาจารย์อุตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง พระอาจารย์อุตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนหลวงปู่ลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว พระอาจารย์อุตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคำพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ หลวงปู่ลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสำนักของใคร เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง