ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี พุทธสถานและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน => พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และพุทธสถานที่สำคัญภาคอีสาน => ข้อความที่เริ่มโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:43:00



หัวข้อ: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:43:00
ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง


หัวข้อ: Re: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:43:23
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงองค์ศักดิ์สิทธิ์  เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง  มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๓.๑๐ เมตร  สูงประมาณ  ๕.๐๐ เมตร  ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทอง ตามหลักศิลาจารึกตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า  เมื่อจุลศักราชได้ ๑๕๔ ตัว  พ.ศ. ๒๓๓๕ ปีวอก  เจ้าพระพรหมวรราชสุริยะวงศ์  ขึ้นเสวยเมืองอุบลได้ ๑๕ ปี  จุลศักราชได้ ๑๖๗ ตัว  พ.ศ. ๒๓๔๘ ปีระกา จึงได้มาสร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสสดี  เพื่อให้เป็นที่บำเพ็ญแก่พระพุทธรูป  จุลศักราชได้ ๑๖๙ ตัว พ.ศ. ๒๓๕๐  ปีเถาะ  พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา  จึงได้พาลูกศิษย์และศิษยานุศิษย์ทั้งหลายสร้างพระพุทธรูป  ?พระอินแปลง?  และได้นำเอาดินทรายเข้าวัด  เสร็จเมื่อเดือนเมษายน  วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ  วันอาทิตย์ช่วงเวลาบ่าย ๓ โมง  ในนักขัตฤกษ์ ๑๒ ราศีกันย์  แล้วนั้นฯ   ถือว่าเป็นอุดมมงคลที่มีจิตใจเบิกบานดีในเวลาใกล้จะค่ำมืดลง  จึงแล้วเสร็จและได้รับความอุปถัมภ์จากเจ้าเมือง  ข้าทาสบริวารและประชาชนทั้งใกล้และไกลให้การสนับสนุนมาโดยตลอดทั้งกำลังกายกำลังทรัพย์ของคน  ตามกำลังศรัทธา  ได้ร่วมแรงร่วมใจตั้งจิตอธิษฐานอนุโมทนาสาธุการด้วยกันทั้งฝ่ายวัดและฝ่ายบ้านเมือง  พอถึงเพ็ญเดือน ๕  เมษายน ของทุกปีจะมีการทำบุญตักบาตรมหาชาติชาดกและสรงน้ำพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พร้อมปิดทองซึ่งถือว่าเป็นขนมธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันนี้  ประชาชนต่างก็พากันมากราบไหว้มิได้ขาดทั้งใกล้และไกลทั้งไทยและต่างประเทศ

?การแสดงธรรมตอนหนึ่งเกี่ยวกับอภินิหารของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง?

ท่านสาธุชนพุทธบริษัทผู้ใจบุญทั้งหลาย  วัดมหาวนารามที่เราเรียกเป็นทางราชการ ที่เรียกเป็นภาษาสามัญกันก็คือวัดป่าใหญ่นี้นั้น  นับว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของชาวจังหวัดอุบลราชธานีและตลอดไปทั่วทั้งประเทศ   ท่านพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงนี้ก็ยังมีอภินิหารบันดาลหาเงินให้วัดมหาวนาราม (ป่าใหญ่) นี้ได้วันหนึ่งได้วันละมากๆ ไม่ต้องทำไร่ไถนา  ไม่ต้องขายข้าวของไม่ต้องทำอะไร  พระอินทร์แปลงเนรมิตเงินมาให้  เดียวนี้ได้เท่าไรก็ไม่รู้  ถามโยมคงจะได้มากถ้าจะคิดเป็นรายได้วันละเท่าไรประมาณ ๕,๐๐๐ บาท  จะถึงหรือยังโยมๆ  หรือวันละ ๑,๐๐๐ บาท ผู้เข้าใจมีอยู่  ตามจริงนั้น  พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงนี่ มีบ่หลายได้หน่อ  มีบ่มาก อุบลฯ ของเราก็มีสิ  มีพระเจ้าหลวงพ่อพระเหลาอีกองค์แม่นบ่  (พระเหลาเทพนิมตร)  อำเภออะไรนะ  อำเภอเมืองพนาองค์หนึ่ง  หาเงินให้เก่งแท้ๆ  สมภารสู้บ่ได้  อีกองค์หนึ่งโน้นอยู่โน้น... หลวงพ่อองค์ตื้อวัดบ้านปากแซง  ไปมาแล้ว ไปเห็นแล้ว ไปกราบไหว้แล้ว นั้นก็คนนับถือมาก  ทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว  นับดูสิโยม...  วัดในจังหวัดอุบลราชธานีนี้  นับเป็นพันๆ วัด  จะมีพระเจ้าที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์หาทุนทรัพย์ให้  สาธุชนพุทธบริษัทนี้น้อยองค์เต็มที่  อย่างไรก็ตามวัดมหาวนารามก็นับเป็นวัดหนึ่ง  ที่มีอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีและอยู่ในตัวเมืองอุบล  ย่านตลาดอยู่ย่านชุมชนซึ่งก็จะหาได้ยากมาก  พระเจ้าใหญ่ที่สร้างขึ้นใหม่ๆ  ไม่มีคนนับถือมากอย่างนี้ก็นับเป็นมหากุศลเป็นพิเศษและสมกับพระนามที่ชื่อว่า ?พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง?  นักปราชญ์ตั้งแต่โบราณกาลมา  ท่านได้ตกแต่งสร้างแปลงประพุทธรูปอันเป็นพระเจ้าใหญ่ประจำวัด  ให้เป็นที่สักการบูชาเคารพของเราชาวพุทธบริษัทองค์นี้ซึ่งมีความใหญ่พอประมาณแล้วก็ประดิษฐานไว้ในพระวิหาร  เป็นที่เชิดหน้าชูตา เป็นที่เคารพสักการะของสาธุชนพุทธบริษัท  เรียกว่าทั่วประเทศก็ว่าได้  พระเจ้าใหญ่องค์นี้เราได้ถวายพระนามหรือขนาดชื่อท่านเป็นนามมหามงคลว่า  พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (แม่นบ่โยม...)  หลวงพ่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงหมายความว่าอย่างไร คำว่า ?พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง? ถ้าพูดภาษาไทยกลาง ?อินทร์แปลง? บ่แม่น ?แปง? อินทร์แปลงมีตัว ?ล? ตัวหนึ่งกล้ำ ถ้าไทยอีสาน  ?อินทร์แปง? แปง  แปลว่า ?เฮ็ด ว่าทำ? ก็หมายความว่า  พระเจ้าใหญ่องค์นี้ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญสร้าง  พระอินทร์เพิ่นเป็นผู้ประทานเฮ็ดไว้ให้เป็นมิ่งมงคล  ให้เป็นที่ตั้งแห่งบุญกุศลของพวกเราเหล่าพุทธบริษัท  และก็พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงองค์นี้เป็นที่สักการะบูชา  เคารพกราบไหว้เลื่อมใสศรัทธาของพุทธบริษัทอย่างกว้างขวางพากันมากราบไหว้อยู่มิได้ขาดจนถึงปัจจุบันนี้


หัวข้อ: Re: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:43:43
ตำนานการสร้างพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงอีกนัยหนึ่ง

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง  ได้มีตำนานการก่อสร้างบอกเล่าขานกันต่อมาหลายอย่าง  โดยอีกนัยหนึ่งว่า ขณะที่ก่อสร้างอยู่นั้น  ก็ได้มีฝนตกฟ้าร้องอยู่ตลอดเวลา  ใกล้จะแล้วเสร็จอยู่แล้วเพราะเหลือแต่การตกแต่งให้สวยงามเท่านั้น  พอถึงตอนดึกก็ได้มีแสงสว่างเต็มบริเวณวัดไปหมดและสูงขึ้นสู่อากาศ  ผู้คนต่างก็ตื่นตกใจและมาดูก็ไม่เห็นมีอะไร  ต่างก็กลับสู่บ้านเรือนของตน  พอรุ่งเช้าก็ปรากฏว่าพระพุทธรูปที่สร้างยังไม่เสร็จนั้นก็ได้สำเร็จเรียบร้อยสวยงามเป็นอย่างยิ่ง  พอเห็นเป็นอย่างนั้นชาวบ้านต่างก็พูดว่าเทวดามาสร้าง  พระอินทร์แปลงร่างลงมาสร้างแปลงร่างลงมาเป็นตาผ้าขาวมาสร้างจึงได้สวยงามอย่างนี้  ถ้าเป็ฯคนธรรมดามาสร้างจะไม่สวยงามได้เพียงนี้แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่าพระอินทร์แปลงร่างลงมาสร้างเสริม  รูปร่างหน้าตาของพระพุทธรูปองค์นี้จึงได้สวยงดงามยิ่งนัก  เหตุนั้นจึงได้ขนานนามว่า  ?พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง? และต่อมาเรียกว่าพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง  และก็ได้มีความเชื่อกันมาตลอดจนตราบเท่าทุกวันนี้


หัวข้อ: Re: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 30 สิงหาคม 2554, 22:45:10
อภินิหารประเจ้าใหญ่อินทร์แปลง

                พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง  เป็นพระพุทธรูปที่สวยงามและศักดิ์สิทธิ์มาก ยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์ใดๆ  บรรดามีในเขตแคว้นจังหวัดอุบลราชธานี  สำหรับอภินิหารของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง  ที่ปรากฏแก่ข้าพเจ้าถึง ๓ ครั้ง  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค แต่ก่อนนั้นเคยสอบตกมาตลอดไปไหว้วอนขอความศักดิ์สิทธิ์จากที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่งแต่ไม่ได้ผล จึงได้นำเครื่องสักการะไปถวายพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง  พร้อมตั้งสัตยาธิษฐานว่า  ถ้าสอบประโยค ๙ ได้จักนำผ้าไตรจีวรไปถวาย  หลังจากสอบแล้ว  ปรากฏว่าสอบได้จริงๆ  เป็นครั้งแรก

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐  ได้แต่งงาน  ในวันแต่งงานนั้นได้นำเครื่องสักการะไปถวายและได้ตั้งสัจจาธิษฐานว่า  ถ้าได้ลูกชายผู้มีบุญคนหัวปีมาเกิด  จักนำผ้าไตรจีวรมาถวาย  หลังจากแต่งงานได้ปีเศษก็ได้ลูกชายดังปณิธานที่ตั้งไว้   จึงได้นำผ้าไตรจีวรไปถวายเป็นครั้งที่ ๒

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔  การค้าขายตกต่ำ  ทั่วประเทศประสบกับความฝืดเคือง  ต้องขนสินค้าที่มีอยู่ส่งออกจำหน่าย  ได้ไปกราบไหว้เพื่อความโชคชัยสวัสดี ปรากฏว่าได้ผลสมความปรารถนา  จึงนำไตรจีวรไปถวายเป็นครั้งที่ ๓

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒  หรือสงครามเอเชียบูรพา  ประเทศไทยของเราตกลงให้ทหารญี่ปุ่นเข้าประเทศและให้เป็นทางผ่านเข้าไปสู่ประเทศพม่าและประเทศอินเดีย  จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ปลายแดนของประเทศไทยอยู่ในมณฑลอีสาน  ทหารญี่ปุ่นก็ได้นำฝูงบินมาทิ้งระเบิดลงที่เมืองอุบลราชธานี  แต่ลูกระเบิดที่ทหารญี่ปุ่นได้ทิ้งลงมามากมายหลายลูก  ปรากฏว่าได้มีส่วนหนึ่งได้ตกลงมาที่วัดมหาวนารามหลายลูกใกล้ๆ กับพระวิหารข้างหลังด้านทิศเหนือแต่ไม่มีลูกใดเกิดระเบิดเลย  บางลูกได้ระเบิดอยู่ห่างพระวิหารตั้ง ๗๐-๘๐ เมตร  ทางวัดก็ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย  นี้ก็คงจะเป็นอภินิหารของหลวงพ่อพระเจ้าใหญ่นั่นเอง


หัวข้อ: Re: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: คนโก้ ที่ 05 กันยายน 2554, 17:47:08
กราบนมัสการพระเจ้าใหญ่  017 ศูนย์รวมศรัทธาของลูกหลานชาวอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง


หัวข้อ: Re: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: บอย น้ำยืน ที่ 31 มีนาคม 2557, 00:19:37
เเหนบองค์พ่อพระเจ้าใหญ่ ปี2516
(http://upic.me/i/jy/rscn7412.jpg) (http://upic.me/show/50353821)
(http://upic.me/i/2v/rscn7415.jpg) (http://upic.me/show/50353822)


หัวข้อ: Re: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: บอย น้ำยืน ที่ 26 สิงหาคม 2557, 02:55:22
เเหวนพระเจ้าใหญ่อินทร์เเปลง กระไหล่ทองเก่าเดิมๆครับ
(http://upic.me/i/3r/rscn9608.jpg) (http://upic.me/show/52459225)
(http://upic.me/i/i2/rscn9610.jpg) (http://upic.me/show/52459231)
(http://upic.me/i/m1/rscn9612.jpg) (http://upic.me/show/52459236)
(http://upic.me/i/di/rscn9615.jpg) (http://upic.me/show/52459243)


หัวข้อ: Re: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: บอย น้ำยืน ที่ 19 ตุลาคม 2557, 01:28:05
เหรียญรุ่นเเรก พิมพ์กลม สร้างปี2512 เนื้อทองฝาบาตรครับ
(http://upic.me/i/tk/rscn0512.jpg) (http://upic.me/show/53183611)
(http://upic.me/i/fq/rscn0515.jpg) (http://upic.me/show/53183612)


หัวข้อ: Re: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: บอย น้ำยืน ที่ 14 เมษายน 2558, 15:13:27
เหรียญรุ่นเเรก พิมพ์สามเหลี่ยม
(http://upic.me/i/88/rscn4718.jpg) (http://upic.me/show/55219495)
(http://upic.me/i/2e/rscn4724.jpg) (http://upic.me/show/55219496)


หัวข้อ: Re: ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
เริ่มหัวข้อโดย: บอย น้ำยืน ที่ 26 พฤษภาคม 2558, 16:09:53
เหรียญรุ่นเเรก พิมพ์เสมา
(http://upic.me/i/gd/rscn5785.jpg) (http://upic.me/show/55656690)
(http://upic.me/i/1w/rscn5792.jpg) (http://upic.me/show/55656692)