ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ห้องพระ => พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร => ข้อความที่เริ่มโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 15 มกราคม 2554, 21:12:36



หัวข้อ: พระธรรมบาลสุ้ย(พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์)
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 15 มกราคม 2554, 21:12:36
(http://www.ubonpra.com/uppic/?img=311295099828.jpg)
พระธรรมบาลสุ้ย(พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์)
เกิดในสมัยรัชกาลที่2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชาคณะ สัณฐานสูง สีเนื้อขาว ลักษณะท่าทางสง่างาม ภูมิลำเนาเดิมเกิด  ที่บ้านกวางดำ (บางท่านว่าบ้านแขม) อำเภอเขื่องใน จัึงหวัดอุบลราชธานี  มีวิทยฐานทางการศึกษามูลกัจจายน์แบบดั้งเดิม ณ วัดหลวง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ไปศึกษามูลกัจจายน์แบบใหม่(บาลีไวยากรณ์) ณ สำนักวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร สอบไร่ได้เปรียญสามประโยคได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้ดำรงค์สมณศักดิ์แบบไทย เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ มาปกครองคณะสงฆ์เมืองอุบลราชธานีมีอำนาจสิทธิ์ขาดในทางปกครอง ทั้งที่เป็นที่ปรึกษาให้สิทธิ์ทางการปกครองฝ่ายบ้านเมืองด้วย  เดิมจะเป็นศิษย์ออกจากวัดมณีวนาราม หรืออย่างไรสืบไม่ได้ความ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม ชนชาวเมืองเรียกว่า "ท่านเจ้า ท่านผู้นี้รับหน้าที่ทางคันถธุระ(การศึกษาและเผยแพร่พระธรรมวินัยของพระสงฆ์) และศิลปหัถกรรม  โดยนำเอาระเบียบประเพณี ตลอดทั้งศิลปหัตถกรรมจากกรุงเพทฯ มาเผยแพร่ไว้เมืองอุบลฯ เป็นครั้งแรก ส่วนเวลากลางคืนท่านจะเจริญวิปัสสนาอยู่ริมทุ่ง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวัดทุ่งศรีเมือง พระธรรมบาลสุ้ย ท่านไม่ค่อยขวนขวายในการสร้างกุฏิใหญ่โต สร้างแต่กุฏิไม้ทรงมลิลาหลังเล็กๆ มุงด้วยหญ้าและกระเบื้องดินเผาอยู่เป็นหมู่ๆ มีทำมั่นคงและแข็งแรงก็หอไตรสำหรับเก็บหนังสือใบลาน ซึ่งปลูกอยู่กลางสระน้ำ  และโบสถ์ที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองซึ่งมีปรากฏอยู่วัดทุ่งศรีเมือง ในปัจจุบัน  ทั้งในสมัยน้ั้นทางพระราชอาณาจักรแบ่งราษฎรให้เป็นเลขวัดหรือข้าวัด  เพื่อทำการซ่อมแซมแปลงเสนาสนะที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรด้วย  จึงไม่เป็นธุระของท่านจะขวนขวายนัก  ท่านพอใจการสอนหนังสือนิสิต (ศิษย์) เป็นกิจสำคัญ  เพราะสมัยนั้นหาแบบเรียนยาก หนังสือทุกประเภทเริ่มแต่ไหว้พระสวดมนต์ขึ้นไป  ต้องเรียนจากอาจารย์ทั้งนั้น  พระเดชพระคุณท่านเห็นกาลอันยังไม่มาถึงได้ถนัด  จึงได้จัดแจงนำพันธ์ไม้สักมาปลูกไว้  เพื่อได้ใช้ซ่อมแซมกุฏิวิหาร  ต่อมาท่านรับภาระขยายหอไตรและหอพระบาทให้ที่วัดทุ่งศรีเมือง  และสร้างวัดสวนสวรรค์ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมาวัดสวนสวรรค์ (เป็นที่พักของนายอำเภอสมัยหนึ่ง) โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ทรงยุบวัดนี้ไปทรงสร้างเป็นวัดสารพัฒนึก  นอกจากนี้สืบไม่ได้ความว่าท่านได้สร้างอะไรไว้อีก  และนับถอยหลังจากท่านเจ้าลงไปก็ไม่ทราบว่าใครครองวัดมาก่อน  สมัยนั้น วัีดทุ่งศรีเมืองและวัดสวนสวรรค์ประหนึ่งว่า  เป็นวัดเดียวกันกับวัดป่าน้อย (วัดมณีวนาราม)
ท่านถึงแก่มรณภาพ ณ ห้องใหญ่กุฏิแดง เก็บศพไว้หลายปี  จึงได้นำนกหัสดิลิงค์ ประกอบหอแก้วบนหลังคานก บำเพ็ญกุศล ๑๔ ตามประเพณีเสร็จ แล้วเชิญหีบศพรูปนพสูญขึ้นประดิษฐานบนหอแก้ว แล้วชักลากไปสู่ทุ่งศรีเมืองเยื้องไปด้านพายัพ พระราชทานเพลง ณ ที่นั้น ไม่ทราบชัดว่าอายุเท่าไหร่ และครองวัดอยู่ได้กี่ปีถึงมรณภาพ